svasdssvasds

ไทยเนื้อหอม แฮกเกอร์ยังเจาะข้อมูลองค์กรฉ่ำ Kaspersky แนะรู้ทันภัยไซเบอร์

ไทยเนื้อหอม แฮกเกอร์ยังเจาะข้อมูลองค์กรฉ่ำ Kaspersky แนะรู้ทันภัยไซเบอร์

แคสเปอร์สกี้ เผยไทยกำลังเผชิญปัญหาการโจมตีในกลุ่มธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ปี 2566 เจอการโจมตีทางการเงินกว่า 25,000 รายการ และไทยยังครองการโจมตีแบบแรนซัมแวร์เป็นเบอร์หนึ่งในภูมิภาค

SHORT CUT

  • Kaspersky เตือนองค์กรไทยยังเจอการเรียกค่าไถ่ (แรนซัมแวร์) สูง
  • เร่งให้พนักงานตระหนักรู้และเข้าใจเรื่องภัยไซเบอร์
  • ส่ง Kaspersky Next ป้องกันได้ตั้งแต่ระบบ AI

แคสเปอร์สกี้ เผยไทยกำลังเผชิญปัญหาการโจมตีในกลุ่มธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ปี 2566 เจอการโจมตีทางการเงินกว่า 25,000 รายการ และไทยยังครองการโจมตีแบบแรนซัมแวร์เป็นเบอร์หนึ่งในภูมิภาค

แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เผยผลการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรธุรกิจในประเทศไทยกำลังเผชิญกับวิกฤติการโจมตีทางไซเบอร์

ในปี 2566 โซลูชัน B2B ของแคสเปอร์สกี้บล็อกความพยายามโจมตีด้วยฟิชชิงทางการเงินได้จำนวน 25,227 รายการ และยังมีจำนวนเหตุการณ์ภัยคุกคามมากเป็นอันดับสามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ภัยคุกคามออฟไลน์ จำนวน 4,700,000 รายการ และการโจมตี RDP จำนวน 10,205,819 รายการ 

นอกจากนี้ แรนซัมแวร์เป็นภัยคุกคามที่เป็นปรากฏเป็นข่าวใหญ่บ่อยครั้ง โดยประเทศไทยมีเหตุการณ์โจมตีด้วยแรนซัมแวร์สูงสุดเป็นอันดับหนึ่งในภูมิภาคถึง 109,315 รายการ

ไทยเนื้อหอม แฮกเกอร์ยังเจาะข้อมูลองค์กรฉ่ำ Kaspersky แนะรู้ทันภัยไซเบอร์

ไทยกลายเป็นเป้าหมายหลัก

หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมไทยถึงเป็นเป้าหมายหลักในการโจรกรรมข้อมูลและเจาะเข้าบัญชีธนาคารเพื่อดูดเงิน รวมทั้งการเรียกค่าไถ่ข้อมูลขององค์กร

นางสาวเบญจมาศ จูฑาพิพัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ประเทศไทยกลายเป็นเป้าหมายหลักสำหรับผู้ก่อภัยคุกคาม ซึ่งมีการใช้กลยุทธ์หลากหลายเพื่อสร้างการโจมตีองค์กรธุรกิจอย่างช่ำชอง การรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลปรากฏเป็นข่าวหลายครั้ง แพลตฟอร์มบริการเชิงพาณิชย์และภาครัฐถูกโจมตี

ตัวอย่างข้อมูลที่รั่วไหลจะถูกโพสต์ในตลาดมืด ตามด้วยการขู่กรรโชกขั้นสองและขั้นสามเพื่อเรียกค่าไถ่ ภัยคุกคามที่พบได้ทั่วไปในประเทศยังรวมถึงการหลอกลวงแบบฟิชชิงและสมิชชิงเพื่อให้ดาวน์โหลดและติดตั้งมัลแวร์บนอุปกรณ์ส่วนตัวและอุปกรณ์ขององค์กร

นางสาวเบญจมาศ จูฑาพิพัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย แคสเปอร์สกี้

นอกจากนี้ ไทยยังเป็นประเทศที่มีการเติบโตในการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างรวดเร็ว แต่ความใส่ใจในการป้องกันข้อมูลกลับมีน้อยกว่าที่คิด ทำให้เป็นเรื่องที่แฮกเกอร์ชื่นชอบ รวมทั้งหากเจอปัญหาแรนซัมแวร์ผู้เสียหายก็ยินยอมที่จะจ่ายเงินเรียกค่าไถ่มากกว่าประเทศอื่นๆ

เดินหน้าปกป้องข้อมูลด้วย Kaspersky Next

ไม่ใช่แค่การป้องกันระบบความปลอดภัยสำหรับการทำงานภายในองค์กรเท่านั้น แต่รวมถึงการป้องกันภัยไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นเพราะ AI เนื่องจากเป็นเทรนด์ที่กำลังนิยมในกลุ่มธุรกิจองค์กรเพื่อเข้ามาช่วยลดภาระแรงงานคน 

ดังนั้น การป้องกันความปลอดภัยในแง่ของระบบหลังบ้านบน AI จะต้องใส่ใจตั้งแต่การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อให้ลูกค้าดาวน์โหลดหรือใช้งานภายในองค์กร ก็ต้องมีระบบการป้องกันที่ดีเช่นกัน

แคสเปอร์สกี้ จึงได้เปิดตัว 'Kaspersky Next’ ผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์กลุ่มใหม่ที่มีการป้องกันเอ็นด์พ้อยต์ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยความสามารถของ AI และก้าวไปไกลกว่า EPP แบบดั้งเดิม (Endpoint Protection Platform)

โดยนำ EDR และ XDR มารวมกัน เพื่อลูกค้าองค์กรทุก ขนาดและทุกประเภทอุตสาหกรรม ช่วยให้บริษัท ต้านทานการโจมตี ที่คอยหลบเลี่ยงการตรวจจับ และซับซ้อนมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ได้มองเห็น ควบคุม ตอบสนองอย่างรวดเร็ว และตามล่าภัยคุกคามในเชิงรุก

ที่มา : https://www.kaspersky.co.in/blog/kaspersky-home-products-2022/25305/

ซึ่งองค์กรสามารถจัดการผ่านคอนโซลที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อดำเนินงานหลักด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้อย่างรวดเร็ว หรือผ่านคอนโซลระดับเอ็นเทอร์ไพรซ์ที่มีการควบคุมที่ละเอียดยิ่งขึ้นและการตรวจสอบขั้นสูง

ทั้งนี้ ยังช่วยให้องค์กรธุรกิจต่างๆ สามารถสร้างฟังก์ชันการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่สำคัญ เพื่อให้มีการป้องกันที่แข็งแกร่งต่อภัยคุกคามหลากหลายประเภทที่ธุรกิจเผชิญมากที่สุด เช่น แรนซัมแวร์ มัลแวร์ การละเมิดข้อมูล และยังช่วยหลีกเลี่ยงการเจาะโครงสร้างพื้นฐานผ่าน Business Email Compromise การโจมตีซัพพลายเชน การหาผลประโยชน์จากจุดอ่อนและช่องโหว่อื่น ๆ

 

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

related