svasdssvasds

Toyota จากผลิตเครื่องจักรทอผ้า เจ้าหนูสงคราม สู่วันปรับตัวสู่สนาม EV???

Toyota จากผลิตเครื่องจักรทอผ้า เจ้าหนูสงคราม สู่วันปรับตัวสู่สนาม EV???

หลายคนรู้จัก Toyota รถยนต์เจ้าตลาดที่ครองใจคนไทยมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นรถซีดาน รถครอบครัว รถกระบะ จนถึงรถ SUV โตยาต้า มีประวัติศาสตร์อย่างยาวนานที่น่าสนใจ และเป็นส่วนหนึ่งในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สำคัญอย่างสงครามโลกและสงครามเย็นสะด้วย

SHORT CUT

  • Toyota แบรนด์รถยนต์ที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานเริ่มปรับตัวในยุค EV โดยเฉพาะการออกรถกระบะ EV เข้ามาชนกับแบรนด์อื่นๆ เอาใจคนไทย
  • แต่กระนั้น Toyota ยังมีความกังวลว่าจะไปเต็มขั้นหรือไม่ เพราะมีปัญหาเรื่องทรัพยากรในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า
  • เรียกได้ว่าถนนสาย EV ยังไม่สิ้นสุดและยังแข่งขันกันอีกไกล ทำให้แบรนด์รถยนต์เจ้าใหญ่ๆ ต้องผันตัว 

หลายคนรู้จัก Toyota รถยนต์เจ้าตลาดที่ครองใจคนไทยมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นรถซีดาน รถครอบครัว รถกระบะ จนถึงรถ SUV โตยาต้า มีประวัติศาสตร์อย่างยาวนานที่น่าสนใจ และเป็นส่วนหนึ่งในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สำคัญอย่างสงครามโลกและสงครามเย็นสะด้วย

Toyota แบรนด์รถยนต์ที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนานจนเป็นเจ้าตลาดที่เวลาเราซื้อรถต้องเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่เรานึกถึง

โตโยต้าผ่านร้อนผ่านหนาวทั้งช่วงรุ่งเรื่องจนถึงยุคตกต่ำ และเป็นที่จดจำตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และยุคสงครามเย็น ผลิตรถยนต์ให้กับทั้งกองทัพญี่ปุ่นและกองทัพสหรัฐอเมริกา

ในโลกพลเรือน Toyota ก็ผลิตรถยนต์สำหรับใช้งานในชีวิตประจำวันให้เราใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่มาถึงยุคที่ EV กำลังมาแรงตลาดรถยนต์หลายยี่ห้อต้องปรับตัวให้เข้ากับตลาดผู้บริโภค แต่กระนั้น Toyota เคยมีท่าทีแข็งกร้าวเรื่องการตกขบวนรถ EV แต่ ณ ปัจจุบันที่ประเทศไทยกลับไม่เป็นเช่นนั้นด้วยการที่ล่าสุดประกาศลั่นกลางงาน Motor Show 2024 จะเปิดตัวรถกระบะ EV ท้าชนกับเจ้าอื่นๆ

Toyota จากผลิตเครื่องจักรทอผ้า เจ้าหนูสงคราม สู่วันปรับตัวสู่สนาม EV???

Toyota เริ่มต้นจากการทอผ้า

หลายคนอาจไม่เชื่อว่า โตโยต้าที่เรารู้จักกันเริ่มต้นธุรกิจจากโรงงานทอผ้า เริ่มต้นโดยชายที่มีชื่อว่า Sakichi Toyoda ซึ่งเป็นช่างไม้จนๆ เท่านั้น แต่ด้วยความมีไหวพริบและรักในการประดิษฐ์สิ่งของเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการทอผ้า จนเปิดบริษัท Toyota Boshoku ซึ่งเป็นบริษัทเครื่องทอผ้าในปี 1918 จุดเด่นของบริษัทนี้คือเครื่องทอผ้าอัตโนมัติ ที่จะหยุดการทำงานได้ทันทีเมื่อมีจุดใดจุดหนึ่งมีการทำงานผิดพลาด ในเวลาต่อมาระบบนี้เองได้ถูกดัดแปลงมาเป็นระบบการผลิตรถยนต์ของ Toyota ในเวลาต่อมา

Toyota จากผลิตเครื่องจักรทอผ้า เจ้าหนูสงคราม สู่วันปรับตัวสู่สนาม EV???

Toyota จากนำเข้าอะไหล่ สู่ความเป็นส่วนหนึ่งวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา

ทายาทของ Sakichi ซึ่งคือ Kiichiro ได้จบการศึกษาด้านวิศวกรรมช่างกลจาก Tokyo Imperial University ในปี 1933 ธุรกิจตระกูลได้ริเริ่มก่อตั้งฝ่ายรถยนต์ขึ้นมา ณ ขณะนั้นเอวต้องบอกว่าธุรกิจรถยนต์ญี่ปุ่นเกิดขึ้นหลังยุโรปและสหรัฐฯ ประมาณ 30 ปี และอะไหล่หรือชิ้นส่วนส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจาก Ford และ General Motors

Toyota จากผลิตเครื่องจักรทอผ้า เจ้าหนูสงคราม สู่วันปรับตัวสู่สนาม EV???

ณ ขณะนั้นเองรัฐบาลญี่ปุ่นต้องการส่งเสริมความเป็นชาตินิยมและวิตกกับการที่ต้องพึ่งพิงต่างชาติมากเกินไป เพราะขณะนั้นเองรัฐบาลญี่ปุ่นกำลังมีแนวทางทางการเมืองต้องการเป็นเจ้าแห่งเอเชียบูรพา และมีนโยบายสร้างวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา ดังนั้นจึงต้องเริ่มทำอะไรบางอย่างที่พึ่งพิงชาวต่างชาติให้น้อยที่สุด เพื่อนำไปสู่การทำสงครามชิงความเป็นใหญ่บนโลกและเอเชีย

Toyota จากผลิตเครื่องจักรทอผ้า เจ้าหนูสงคราม สู่วันปรับตัวสู่สนาม EV???

การเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้โตโยต้าขยายตัวมากขึ้น เพราะกองทัพญี่ปุ่นต้องการซื้อรถบรรทุกทั้งหมด การผลิตของโตโยต้าเป็นไปเพื่อสนองความต้องการดังกล่าว ส่วนที่ไม่สำคัญของรถบรรทุก ถูกตัดลงไป เช่น ไฟหน้ารถมีดวงเดียว ระบบห้ามล้อจาก 4 ล้อเหลือล้อหลัง 2 ล้อ ณ ขณะนั้นเรียกได้ว่าโตโยต้ากำลังทะยานใหญ่สุดๆ อย่างที่ไม่มีใครเทียบ

Toyota ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น

ภายหลังที่ญี่ปุ่นถูกทิ้งระบิดอย่างหนักทั้งที่โตเกียว เมืองใหญ่ๆ รวมถึงถูกทิ้งนิวเคลียร์ลงที่จังหวัดฮิโรชิม่ากับนางาซากิ ทำให้ญี่ปุ่นต้องยอมแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตร โตโยต้าเองที่มีธุรกิจไปเกี่ยวข้องกับกองทัพญี่ปุ่นได้รับผลกระทบไปด้วย เรียกว่าใครๆ ต่างก็คิดว่ายุคนั้นจะเป็นยุคที่โตโยต้ากำลังจะสิ้นสุดอนาคตทางธุรกิจ

แต่กระนั้นด้วยความโชคดีของโตโยต้าหรือสหรัฐอเมริกาที่เข้ามาปกครองญี่ปุ่นในช่วงยุคสงครามเย็น เห็นถึงศักยภาพของโตโยต้า ประกอบกับใช้ญี่ปุ่นเป็นฐานผลิตเสบียง วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนการขนส่งไปยังเกาหลี ทำให้โตต้ากลับมาฟื้นอีกครั้งในฐานะผู้ผลิตลดบรรทุกขนส่งให้กับกองทัพสหรัฐอเมริกา

Toyota จากผลิตเครื่องจักรทอผ้า เจ้าหนูสงคราม สู่วันปรับตัวสู่สนาม EV???

กองทัพสหรัฐอเมริกาสั่งซื้อรถบรรทุกโตโยต้า 1 พันคัน และเพิ่มเป็น 5 พันคนในปี 1951 จากปี 1950-1954 ญี่ปุ่นได้สัญญาจ้างการผลิตมูลค่าเกือบ 3 พันล้านดอลลาร์จากสหรัฐอเมริกา โตโยต้าได้ส่วนแบ่งในสัญญาจ้างดังกล่าวด้วย นายกรัฐมนตรีโยชิดะที่เป็นนายกรัฐมนตรี ณ ขณะนั้น ถึงกับกล่าวว่าหลังว่า “สัญญาจ้างผลิตจากสงครามคือของขวัญจากพระเจ้า”

Toyota จากผลิตเครื่องจักรทอผ้า เจ้าหนูสงคราม สู่วันปรับตัวสู่สนาม EV???

ช่วงสงครามเย็นถือได้ว่าเป็นช่วงการเติบโตครั้งสำคัญของโตโยต้า เพราะในปี 1955-1961 การผลิตรถยนต์ของโตโยต้าเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า ในปี 1955 รถยนต์ Crown ที่พัฒนาเองของโตโยต้าได้ออกสู่ท้องตลาด ปี 1966 เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เมื่อรถยนต์ Corolla ออกสู่ตลาดครั้งแรก กลายเป็นรถยนต์ขายดีที่ขายได้ยาวนานกว่า 30 ปี

ในที่สุดในปี 1967 Eiji Toyoda ก็ก้าวขึ้นเป็นประธานบริษัท ในปี 1972 โตโยต้า สามารถผลิตรถยนต์คันที่ 10 ล้านได้สำเร็จ และคันที่ 50 ล้านก็ตามมาได้อย่างรวดเร็วในปี 1985 ปี 1989 โตโยต้า ได้เปิดตัวกับรถยนต์ยี่ห้อใหม่ Lexus โดยเป้าหมายคือการผลิตรถยนต์ที่หรูหราแข่งกับตลาดรถยนต์ Premium ขึ้นไปที่มีคุณภาพยอดเยี่ยมให้รองรับกับตลาดได้กว้างขึ้นกว่าแบรนด์ Toyota โดยรุ่นแรกที่ปล่อยออกมาคือ Lexus LS โดยเน้นการจำหน่ายตลาดใหญ่ที่สหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ

Toyota จากผลิตเครื่องจักรทอผ้า เจ้าหนูสงคราม สู่วันปรับตัวสู่สนาม EV???

ในปี 1999 เป็นปีที่โตโยต้าฉลองยอดขายกว่า 100 ล้านคัน และตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาโตโยต้าก็เติบใหญ่ด้วยรถยนต์หลายหลายรุ่น ได้รับความนิยมและการยอมรับจากคนทั่วโลก จนปัจจุบันกลายเป็นแบรนด์รถยนต์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกไปแล้ว

Toyota กับความท้าทายเรื่อง EV

ณ ปัจจุบันตลาดรถยนต์กำลังก้าวเข้าสู่ยุคแห่ง EV แต่โตโยต้ายังไม่ยอมผลิตรถยนต์ EV จึงเป็นที่สงสัยของแฟนๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศว่าทำไมโตโยต้าถึงยอมตกขบวน

Toyota จากผลิตเครื่องจักรทอผ้า เจ้าหนูสงคราม สู่วันปรับตัวสู่สนาม EV???

โดยในปี 2022 Akio Toyoda ประธานบริหาร Toyata กลับมองว่า รถไฟฟ้าไม่สามารถช่วยโลกได้จริง เพราะเมื่อผลิตรถไฟฟ้าออกมามากขึ้นเท่าใด ต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้นเท่านั้น และพลังงานที่ว่านี้ก็มาจากถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ อันเป็นตัวเร่งภาวะโลกร้อน เนื่องจากก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas) ถือเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ปล่อยสารมีเทน และคาร์บอนไดออกไซด์ทำลายบรรยากาศโลกได้ ในขณะที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่แม้จะเป็นพลังงานสะอาดแต่ก็เสี่ยงรั่วไหล หากเกิดภัยพิบัติอย่างแผ่นดินไหว และสึนามิดังที่เคยเกิดขึ้นแล้วในวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2001

และยังมองว่า ถ้าต้องวางโครงสร้างในญี่ปุ่นให้ผลิตไฟฟ้าเพียงพอสำหรับรถทุกคันที่เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า จะต้องใช้งบสูงถึง 14-37 ล้านล้านเยน (3.6 – 9.5 ล้านล้านบาท) อีกทั้งเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนที่ใช้ไฟมาก หรือเกิดภัยพิบัติต่อโรงไฟฟ้าไม่ว่าสึนามิหรือแผ่นดินไหว ก็จะกระทบต่อการจ่ายไฟโดยรวมได้ ด้วยเหตุนี้ทางโตโยต้า จึงผลิตรถแบบไฮบริดแทน เพื่อกระจายความเสี่ยงมาอยู่ที่เชื้อเพลิงเดิมด้วย

แบตเตอรี่กับแร่การเมืองโลก

การทำรถ EV สิ่งที่สำคัยคือแบตเตอรี่ และวัตถุดิบผลิตแบตเตอรี่ที่สำคัญมีอยู่ 3 อย่าง หากขาดไปจะผลิตแบตเตอรี่ไม่ได้เลย คือ 1.ลิเธียม 2.โคบอลต์ 3.นิกเกิล เป็น แร่ที่มีจำกัด และสามารถหมดไปได้

แร่ตัวที่หนึ่งอย่าง ลิเธียม เป็นโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก (Non-Ferrous Metal) หรือที่เรารู้จักกันว่า “ทองคำขาว” โดยสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) คาดว่าจะเกิดความขาดแคลนลิเธียมภายในปี 2025

Toyota จากผลิตเครื่องจักรทอผ้า เจ้าหนูสงคราม สู่วันปรับตัวสู่สนาม EV???

แร่ตัวที่สอง โคบอลต์ โดยมากกว่า 70% ถูกผลิตในประเทศคองโก และสำนักงาน IEA ก็คาดว่ามีโอกาสจะขาดแคลนภายในปี 2030 อย่างเร็วคือในปี 2025

แร่ตัวที่สาม นิกเกิล ถูกผลิตมากที่สุดในอินโดนีเซีย (นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมอินโดนีเซียถึงเนื้อหอมจน Tesla เข้ามาตั้งฐานผลิต EV และแบตเตอรี่ EV ในอินโดนีเซีย) โดยคาดกันว่า โลกจะขาดแคลนแร่นิกเกิล ภายในปี 2040

ดังนั้นแม้ว่าอนาคต ความต้องการรถ EV จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่จะประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบผลิตซึ่งโตโยต้าไม่ต้องการเจอความเสี่ยงนี้ในระยะยาว อีกทั้งยิ่งมีผู้เล่น EV ในตลาดมาก การแย่งชิงทรัพยากรก็สูงขึ้นตามไปด้วย

Toyota จากผลิตเครื่องจักรทอผ้า เจ้าหนูสงคราม สู่วันปรับตัวสู่สนาม EV???

ที่สำคัญไปกว่านี้คือหากญี่ปุ่นต้องเข้าสู่สนาม EV จริงๆ จะทำอย่างไรในเมื่อแร่ที่ผลิตแบตเตอรี่กลับมีไม่เพียงพอในประเทศของตนเอง และหากเกิดสภาวะการเมืองโลกผันผวนหรือภัยพิบัติ ก็ไม่สามารถการันตีได้ว่าจะมีวัตถุดิบเหล่านี้ป้อนเข้าสู่ระบบผลิตของโตโยต้า

ดังนั้นโตโยต้าจึงมุ่งสู่การพัฒนาการใช้พลังงานไฮโดรเจนที่สามารถผลิตจากน้ำมากกว่าที่จะใช้แบตเตอรี่

แต่ไม่ใช่ที่ Toyota ประเทศไทย

เพราะล่าสุดในปี 2024 ที่งาน Motor Show โนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ชี้แจงว่า โตโยต้าเตรียมผลิต Toyota Hilux BEV ในไทยปลายปี 2025 แต่ตามแผนงานของบริษัทยังมีอีกหลายทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นไฮบริด ไฮโดรเจน ส่วนจะขายได้หรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

นายโนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า โตโยต้าเตรียมผลิต Toyota Hilux BEV ในไทยปลายปี 2025 แต่ตามแผนงานของบริษัทยังมีอีกหลายทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นไฮบริด ไฮโดรเจน ส่วนจะขายได้หรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

Toyota จากผลิตเครื่องจักรทอผ้า เจ้าหนูสงคราม สู่วันปรับตัวสู่สนาม EV???

อย่างไรก็ตาม โตโยต้าน้อมรับนโยบายของไทย ในการผลักดัน EV (เป้าหมายผลิต EV ในสัดส่วน 30% จากกำลังการผลิตทั้งหมดภายในปี 2030) ซึ่งโตโยต้าจะขยายเทคโนโลยีไปแบบทีละขั้น

สะท้อนถึงตลาดรถยนต์ EV ที่ร้อนแรงในตลาดประเทศไทย ณ ขณะนี้ทำให้โตโยต้าจึงต้องกระโจนเข้าสู่สนามอย่างไม่คาดคิด

จึงน่าจับจากันต่อไปว่าตลาดรถ EV ไทยจะเดือดแค่นั้นเพราะ ณ ขณะนี้เรียกได้ว่ามีผู้เล่นจากหลายๆ ชาติทั้งญี่ปุ่น จีน ยุโรปกำลังกระโจนเข้าสู่สนามแข่งนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

อ้างอิง

กรุงเทพธุรกิจ / AutoDeft / ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related