SHORT CUT
‘ออปเพนไฮเมอร์’ ภาพยนตร์ (กึ่ง) ชีวประวัติ บิดาแห่งระเบิดปรมาณู ฉายในญี่ปุ่นครั้งแรก ชาวฮิโรชิม่า – นางาซากิ ทำใจดูได้หรือไม่?
10 มี.ค. 2023 ที่ผ่านมาเวทีออสการ์ ได้มอบรางวัลให้ ภาพยนตร์ ‘ออปเพนไฮเมอร์ (Oppenheimer)’ ของ ‘คริสโตเฟอร์ โนแลน’ รวม 13 รางวัล ซึ่งเป็นสิ่งพิสูจน์ว่า ภาพยนตร์ (กึ่ง) ชีวประวัติ ของบิดาแห่งระเบิดปรมาณูผู้นี้ เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ และควรค่าต่อการชมในโรงภาพยนตร์อย่างไม่ต้องสงสัย
แต่คำถามคือ ภาพยนตร์เรื่องนี้ควรฉายให้ชาวญี่ปุ่นดูหรือไม่ เพราะญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวบนโลก ที่ได้รับผลกระทบจากการทิ้งระเบิดปรมาณูของสหรัฐในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และผลกระทบทางจิตใจนั้นก็ยังมีอยู่จนถึงวันนี้
นั่นจึงทำให้ปี 2023 ออปเพนไฮเมอร์เข้าฉายในหลายประเทศทั่วโลก แต่ไม่ได้เข้าฉายในญี่ปุ่น เพราะเกรงว่าเนื้อหาจะไม่เหมาะสม และมีความอ่อนไหวมากเกินไปสำหรับผู้ชมในดินแดนอาทิตย์อุทัย แม้ตลอดทั้งเรื่องจะไม่มีการนำเสนอภาพเหตุรุนแรงตอนทิ้งระเบิดปรมาณูก็ตาม นอกจากนั้นวิธีการโปรโมทของภาพยนตร์เรื่องนี้ยังมีการโฆษณาและตัดต่อภาพยนตร์บาร์บี้ที่เข้าฉายไล่เลี่ยกันเข้าไป จนเกิดเป็นคำใหม่อย่าง 'Barbenheimer' หรือ 'Oppenbarbie' ที่ดูขบขัน แต่กลับทำให้ชาวญี่ปุ่นไม่พอใจอย่างมาก จนพากันติด #NoBarbenheimer กันอย่างพร้อมเรียงในช่วงที่ภาพยนตร์ออกฉายอีกด้วย
แต่ในที่สุด หลังจากหลายฝ่ายพิจารณามาอย่างยาวนาน สุดท้าย ภาพยนตร์ ‘ออปเพนไฮเมอร์’ ก็ได้เข้าฉายในญี่ปุ่นจนได้ โดย เลือกวันที่ 29 มี.ค. 2024 เป็นวันฉายแรก ทำให้ชาวญี่ปุ่นได้ดูภาพยนตร์เรื่องนี้ ช้ากว่าชาวโลกไปกว่า 9 เดือน
แต่คำถามคือ ชาวญี่ปุ่น โดยเฉพาะ ฮิโรชิม่า และ นางาซากิ ชาวเมือง อยากดู ออปเพนไฮเมอร์ หรือไม่?
“เคียวโกะ เฮยะ (Heya Kyoko)” ประธานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ วัย 69 ปี และเป็นชาวฮิโรชิม่า ให้สัมภาษณ์กลับ The Japan Times ว่า “นี่เป็นภาพยนตร์ที่คนในฮิโรชิม่าสามารถทนดูได้จริงหรือ เพราะเล่าจากมุมมองของอเมริกาโดยเฉพาะ” และในตอนแรกเธอก็ “กลัว” ที่ Oppenheimer จะเข้าฉายในฮิโรชิมา ซึ่งปัจจุบันเป็นมหานครที่เจริญรุ่งเรืองและมีประชากร 1.2 ล้านคน
แต่ในที่สุดเธอก็เลิกตั้งคำถามกับมัน และอยากให้คนจำนวนมาก ภาพยนตร์เรื่องนี้ เพราะดีใจที่ ได้เห็นฮิโรชิม่า นางาซากิ และอาวุธปรมาณูกลายเป็นประเด็นถกเถียง ซึ่งต้องขอบคุณภาพยนตร์เรื่องนี้
ขณะที่ “ยู ซาโตะ” นักศึกษาหญิงชาวฮิโรชิม่าวัย 22 ปี อีกคนหนึ่งเล่าว่า เธอรู้สึกกลัวเล็กน้อยว่าผู้รอดชีวิตจากเหตุระเบิด และครอบครัวที่เหลือของพวกเขาจะมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลออสการ์นี้
“พูดตามตรงคือ ฉันมีความรู้สึกผสมปนเปกัน” ซาโตะ ผู้ซึ่งเคยทำงานร่วมกับผู้รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณู กล่าว “ออปเพนไฮเมสร้างระเบิดปรมาณู ซึ่งหมายความว่าเขาทำให้โลกนี้เป็นสถานที่น่ากลัวมาก และถึงแม้ว่าเขาไม่ได้ตั้งใจจะฆ่าคนจำนวนมาก แต่เขาไม่อาจถูกมองว่าไม่ต้องรับผิดชอบ” ซาโตะ กล่าว
นอกจากนี้ “มาซาโอะ โทโมนากะ (Masao Tomonaga)” ศาสตราจารย์ด้านการแพทย์ที่เกษียณแล้วจากสถาบันโรคระเบิดปรมาณูที่มหาวิทยาลัยนางาซากิ (Atomic Bomb Disease Institute, Nagasaki University) หรือ ABDI และผู้รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณู แสดงความคิดเห็นหลังดู Oppenheimer จบว่า ตอนที่นางาซากิถูกโจมตี เขาอายุเพียงแค่ 2 ขวบเท่านั้น และบ้านของเขาก็ถูกทำลาย ซึ่งการที่โนแลน ตัดสินใจไม่ฉายผลพวงอันเลวร้ายนั้น อาจเป็น “จุดอ่อน” ของภาพยนตร์เรื่อง
สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูลงเมืองฮิโรชิมา ในวันที่ 6 สิงหาคม 1945 ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 140,000 คน หลังจากนั้นเลือกทิ้ง ระเบิดปรมาณูลงในนางาซากิเป็นเมืองที่สอง ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 80,000 คน และทำให้สงครามโลกสิ้นสุดลง
แต่ผลกระทบหลังจากนั้น เลวร้ายไม่แพ้กัน เพราะรังสีที่ตกค้าง ทำให้เกิดโรคมะเร็งหลากหลายชนิดในกลุ่มผู้รอดชีวิต และทำให้มีผู้เสียชีวิตหลังจากนั้นอีกเป็นหมื่นคน
ปัจจุบันนี้ ในสวนสาธารณะของฮิโรชิม่า ยังมีซากปรักหักพังของอาคารทรงโดม หรือที่รู้จักกันในชื่อ “อนุสรณ์สันติภาพ (โดมระเบิดปรมาณู) ” ตั้งตระหง่านอยู่ ซึ่งเป็นเครื่องเตือนใจถึงความน่าสะพรึงกลัวของระเบิดปรมาณูครั้งแรกของโลก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง