SHORT CUT
แคสเปอร์สกี้ เผยไทยติดอันดับท็อปในการโดนโจมตีสูงสุด หลังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เดินหน้าปรับตัวเป็นเศรษฐกิจดิจิทัล พบการโจมตีบนไซเบอร์ 35,400 ครั้งต่อวัน
นายเชียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ บริษัท ผู้นำด้านความปลอดภัย ไซเบอร์ระดับโลก เปิดเผยว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจดิจิทัลที่ใหญ่เป็นอันดับสองของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีตัวเลขสูงถึง 100-165 พันล้านเหรียญสหรัฐ ระหว่างปี 2566-2573 และคาดว่าในปี 2573 จะเพิ่มขึ้นจาก 49 พันล้านเหรียญสหรัฐ
จากโอกาสทางการเติบโตนี้ทำให้ แคสเปอร์สกี้ คาดการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ ทำให้ภัยคุกคามทางไซเบอร์เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งรูปแบบของฟิชชิง การหลอกลวง การละเมิดข้อมูล และการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีแรงจูงใจทางภูมิศาสตรืทางการเมือง เน้นไปที่องค์กรและบุคคลทั่วไปในภูมิภาคนั้น
ทั้งนี้ ในปี 2566 ที่ผ่านมา แคสเปอร์สกี้ สามารถบล็อกภัยคุกคามทางเว็บได้มากกว่า 12.92 ล้านรายการ หรือ 35,400 ครั้งต่อวัน และบล็อกการติดมัลแวร์จากอุปกรณ์ออฟไลน์ได้ 22.26 ล้านรายการ หรือ 61,000 ครั้งต่อวัน ที่มุ่งเป้าโจมตีผู้ใช้งานในประเทศไทย
สำหรับในปี 2567 นี้ แคสเปอร์สกี้ มองว่า สถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในไทยยังคงมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้น และซับซ้อนมากขึ้นเช่นกัน ขณะเดียวกันสถานการณ์ทั่วโลกในปีที่ผ่านมา ทางแคสเปอร์สกี้ ได้ค้นพบมัลแวร์ตัวใหม่มากถึง 4 แสนรายการต่อวัน เพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับปี 2565 ส่วนในปี 67 ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน
คุณเบญจมาศ จูฑาพิพัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ผู้ก่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ จะใช้กลยุทธ์หลากหลายมากขึ้น ในการกำหนดเป้าหมายที่ซับซ้อน โดยเฉพาะมัลแวร์ที่ยังเป็นภัยที่ต้องระวังสำหรับองค์กร
ขณะที่ภัยประชาชนต้องระวัง ก็คือ เรื่องภัยไซเบอร์อย่างโรแมนซ์สแกม หรือ หลอกให้รัก หลอกให้ลงทุนคริปโต และการฟอกเงิน
โดย แคสเปอร์สกี้ได้เปิดโซลูชั่น คูมา (KUMA) สำหรับการจัดการข้อมูลและเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย สำหรับการจัดการข้อมูลความปลอดภัยและเหตุการณ์คุกคามทางไซเบอร์ โดยจะช่วยให้บริษัทสามารถแข่งขันและเป็นผู้นำในตลาดไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในไทยได้
โดยโซลูชันตัวใหม่นี้จะมีรูปแบบการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ด้วยการเก็บข้อมูลจากทุกช่องทางและมาประมวลผลเพื่อตรวจสอบการโจมตีที่อาจเจอการคุกคามแบบไม่ตั้งใจซึ่งเป็นการทำงานแบบออโตเมชัน
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม