SHORT CUT
เมื่อเทคโนโลยี AI ถูกผสานอยู่ในการใช้ชีวิตและการสร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจ แม้ AI จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่การนำเทคโนโลยีนี้ไปปรับใช้ให้ตอบสนองต่อการใช้งานและธุรกิจใหม่ กลายเป็นเรื่องที่ต้องเริ่มเรียนรู้
ภาพรวมอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยปี 2565-2568 เติบโต 14% มีมูลค่ารวม 2,614,109 ล้านบาท โดยอุตสาหกรรมที่ขยายตัวสูงที่สุดคือ อุตสาหกรรมบริการดิจิทัล (แพลตฟอร์มต่าง ๆ) เติบโตขึ้นจากปีก่อนถึง 21% มีมูลค่า 281,515 ล้านบาท
รองลงมาคืออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ที่เติบโต 19% มีมูลค่า 190,766 ล้านบาท อุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ เติบโต 18%มีมูลค่า 1,431,980 ล้านบาท
รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ – Executive Director สถาบันไอเอ็มซี - IMC Institute กล่าวว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ไม่ใช่เรื่องใหม่ เทคโนโลยีนี้มีมานานแล้ว ซึ่งในยุคแรกจะทำงานด้วยระบบ Rule-Based คือ การป้อนข้อมูลและชุดคำสั่งผ่านเงื่อนไขหรือกฎที่กำหนดเอาไว้
ขณะที่ Machine Learning คือ การให้แมชชีนเรียนรู้ได้ มีเหตุมีผล และปรับตัวได้ เดิมเทคโนโลยีนี้ยังมีข้อจำกัด เพราะไม่มีคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง รองรับการประมวลผลขั้นสูง
แต่การพัฒนา AI อย่างก้าวกระโดด รวมทั้งการใช้เม็ดเงินมหาศาลในการลงทุนวิจัยและพัฒนา ทั้งภาคธุรกิจและการศึกษา รวมถึงการเปิดให้ใช้งาน ChatGPT ฟรีและเสียเงินทั้งในระดับบุคคลและองค์กร นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้จำนวนผู้ใช้งานแตะระดับร้อยล้านในเวลาอันสั้น
อุตสาหกรรมบิ๊กดาต้าและปัญญาประดิษฐ์ ปี 2565 มีมูลค่า 25,471 ล้านบาท เติบโต 15%
ความสามารถอันน่าทึ่งของ AI ในปัจจุบันที่ดูจะล้ำเกินมนุษย์ เช่น การจดจำใบหน้า (Facial Recognition) การจดจำเสียงพูด (Speech Recognition) และ การเข้าใจภาษา (Language Understanding) ซึ่งได้รับการพัฒนามาจนถึงระดับ Reasoning Based AI หรือ การพูดคุยโต้ตอบอย่างมีเหตุมีผล และมีแนวโน้มจะพัฒนาความฉลาดมากเรื่อย ๆ จนถึงระดับ AGI (Artificial General Intelligence: AI ที่มีความฉลาดเทียบเท่ามนุษย์) และ ASI (Artificial Super Intelligence หรือ Super AI: AI ที่มีขีดความสามารถเหนือมนุษย์ในทุกด้าน) ตามลำดับ
ความก้าวหน้าเหล่านี้ เกิดจาก 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่
เหล่าประเทศมหาอำนาจต่างมุ่งพัฒนา AI จนแทบจะกลายเป็น “AI First” เพื่อสร้างความได้เปรียบทางเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์
ซึ่งประเทศไทยเองก็จำเป็นที่จะต้องหาวิธีการรับมือกับ AI ใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
อย่างไรก็ตาม หากไทยสามารถหาโอกาสสร้างรายได้ในกลุ่มอุตสาหกรรมบิ๊กดาต้าและปัญญาประดิษฐ์ได้ จะสามารถแย่งสัดส่วนจากธุรกิจต่างๆ ดังนี้
ตัวเลขรายได้ที่เพิ่มขึ้นนี้ สะท้อนให้เห็นโอกาสจากอุตสาหกรรมดิจิทัลและธุรกิจต่าง ๆ ว่า ทุกภาคส่วนมุ่งเน้น การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล หรือ Digital Transformation
ขณะที่เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่าง AI, IoT, Blockchain ตลอดจน Web 3.0 และ Quantum Computing จะมีส่วนกระตุ้นให้อุตสาหกรรมเติบโตยิ่งขึ้น
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม