svasdssvasds

พัฒนาการที่แตะบัตรอัตโนมัติของ “ญี่ปุ่น” ที่ไทยไม่ควรมองข้าม

พัฒนาการที่แตะบัตรอัตโนมัติของ “ญี่ปุ่น” ที่ไทยไม่ควรมองข้าม

Spring ขอพาไปพบกับประตูคุณธรรมบานแรก ประตูสู่อ้อมอกอ้อมใจรถไฟใต้ดินของประเทศญี่ปุ่น ประเทศนี้เขาทำอย่างไรนะทำไมบ้านเขานั้นไม่ต้องมีที่กั้นแบบบ้านเรา ว่าแล้วไปชมกันเลย

SHORT CUT

  • ญี่ปุ่นพัฒนาอย่างต่อเนื่องและไปไกลเรื่อยๆ ตั้งแต่เทคโนโลยีแตะบัตร ที่แตะบัตรไร้ที่กั้น จนถึงการผ่านเข้าประตูโดยไม่ต้องใช้บัตร
  • ย้อนดูไทยจะพัฒนาที่กั้นไปถึงขนาดไหนถึงจะตอบโจทย์ประชาชนมากที่สุด ไม่ใช่หนีบประชาชาชนผู้ใช้งานรถไฟ
  • โจทย์เดียวกันคือลดความแออัดของผู้โดยสารในสถานีรถไฟที่ญี่ปุ่นไปถึงแต่ไทยยังไปไม่ถึง

Spring ขอพาไปพบกับประตูคุณธรรมบานแรก ประตูสู่อ้อมอกอ้อมใจรถไฟใต้ดินของประเทศญี่ปุ่น ประเทศนี้เขาทำอย่างไรนะทำไมบ้านเขานั้นไม่ต้องมีที่กั้นแบบบ้านเรา ว่าแล้วไปชมกันเลย

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ใครหลายๆ คนใฝ่ฝันอยากจะไปหรือทั้งชีวิตคิดว่าต้องได้ไปสักครั้ง เมื่อนึกถึงภาพญี่ปุ่นเรามักจะนึกถึงต้นซากุระ ปราสาทโอซาก้า การ์ตูนหรือรถไฟชิงคันเซน

แต่มีอีกหนึ่งอย่างหนึ่งที่เราอาจมองข้ามไปหรือคาดม่ถึงว่าญี่ปุ่นมีสิ่งนี้ และเมื่อย้อนกลับมามองบ้านเราในหัวมีเสียง เอ๊ะๆๆ เต็มไปหมด สิ่งนั้นก็คือทางกั้นประตูสู่รถไฟใต้ดินของญี่ปุ่นบ้านเขานั้นไม่มีที่กั้นสะอย่างนั้น แต่เมื่อมองมาที่บ้านเราเราจะพบอย่างนึงว่า ประตูกั้นมันปิดไวสะเหลือเกิน บางครั้งแตะบัตรไปกำลังจะเข้าก็ถูกหนีบจนต้องโอ้ย ออกมาดังลั่นสถานนีรถไฟ

Spring ขอพาไปพบกับประตูคุณธรรมบานแรก ประตูสู่อ้อมอกอ้อมใจรถไฟใต้ดินของประเทศญี่ปุ่น ประเทศนี้เขาทำอย่างไรนะทำไมบ้านเขานั้นไม่ต้องมีที่กั้นแบบบ้านเรา ว่าแล้วไปชมกันเลย

ภาพสถานทีรถไฟญี่ปุ่นที่มีรางมากมาย            

ประวัติรถไฟญี่ปุ่นฉบับย่อ

รถไฟใต้ดินของญี่ปุ่นนั้นถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1827 หรือประมาณ 197 ปีที่แล้วโดยสายนั้นใช้เชื่อมต่อระหว่างเมืองหลวงอย่างกรุงโตเกียวปถึงโยโกฮาม่า แน่อนว่าต้องการขยายไปทั่วประเทศนั่นแหละรัฐบาลญี่ปุ่นเองก็อยากจะทำเองแต่เงินในกระเป๋านั้นไม่มี เลยต้องให้เอกชนมาเข้ามาช่วยเหลือในการสร้างเส้นทางรถไฟ ทำให้ในปัจจุบันเราคนไทยเมื่อไปญี่ปุ่นจะแอบงงๆ ว่าเอ๊ะเราต้องขึ้นสายไหนดี และบนชานชาลาก็มีรถไฟเต็มไปหมดขึ้นไม่ถูกนั่นเอง

ภาพผู้คนรอรถไฟในญี่ปุ่น

ถ้าจะแนะนำก็ต้องแนะนำให้ซื้อตั๋วเหมารถไฟตลอดวันไปเลย เดินทางเข้าออกกี่รอบก็ได้จะได้ไม่เสียเงิน

แต่กระนั้นไอ้ปัญหาเรื่องงสายรถไฟ หรือจัดการบริหารรถไฟให้ไม่สับสนใช่ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะปล่อยไปอย่างนิ่งนอนใจ เพราะรัฐบาลญี่ปุ่นเองก็เคยมีการแก้ไขให้รถไฟไม่ว่าจะเป็นของรัฐบาลหรือเอกชนเชื่อมโยงกันได้

โดยในปี ค.ศ. 1906 มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในระบบรถไฟ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกพระราชบัญญัติ Railway Nationalization คือการแปรรูประบบรางจากเอกชนมาเป็นของรัฐ ทำให้ระบบรางผนวกรวมกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ของรัฐเพื่อให้รัฐสามารถบริหารจัดการได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น

ทำให้ระบบจัดการรางเป็นของรัฐบาลทั้งหมด แต่การเดินรถไฟนั้นเป็นของเอกชนจัดการ คราวนี้อยู่ที่ว่าใครจะขึ้นอะไรก็ต้องดูเส้นทางให้ดีว่าจะนั่งรถไฟชนิดอะไรนั่นเอง

แต่ที่น่าแปลกใจหรืออาจเรียกว่าเป็น Culture Shock  เพราะว่าญี่ปุ่นนั้นมีช่องผ่านประตูผู้โดยสารที่ไม่มีที่กั้นครับเพื่อนๆ ปัญหาเรื่องที่กั้นปิดไว ปัญหาที่เราต้องคอยรีบวิ่งผ่านไปหมดกังวลไปได้เลย

ยกตัวอย่างง่ายๆ ที่โอซาก้าเขตคันไซ ย่านที่คึกครักเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวกลับไม่มีกั้นหนีบเราให้กวนจิตกวนใจสะอย่างนั้น แล้วเขาทำอย่างไรกันนะสามารถทำที่กั้นที่ออกมาแบบนี้ได้จนคนไทยต้องร้องว้าวอยากตำมาใช้กันบ้างมาดูกันเลยครับ

 

ความเป็นมาของที่ประตูแตะบัตรโดยสารอัตโนมัติ

รถไฟญี่ปุ่นเมื่อมีคนใช้ก็ย่อมมีปัญหาตามมาปัญหานั้นคือผู้โดยสารที่มาใช้บริการเริ่มแออัดสถานีจนต้องมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วย สิ่งนั้นก็คือ AG (Aotomatic Gate) หรือที่คนไทยรู้จักกันคือที่แตะบัตรโดยสารนั่นเอง

เจ้าที่แตะบัตรโดยสารอัตโนมัติได้รับพัฒนาในปี ค.ศ.1967 เรื่อยมา ญี่ปุ่นเองก็พัฒนาเจ้าที่แตะบัตรโดยสารนี้เรื่อยมา ถึงขนาดที่เราจะเห็นได้ทั่วๆ ไปตามสถานีเราไฟใตดินของญี่ปุ่นบางประตูไม่มีที่กั้น แต่เราสามารถแตะบัตรหรือเสียบบัตรเข้าไปได้เลย

หลายคนอาจสงสัยแล้วแบบนี้ฉันเดินผ่านไปเลยได้ไหมไม่ต้องแตะบัตร ทำอย่างนั้นเครื่องจะร้องเพราะญี่ปุ่นเองได้พัฒนาระบบตรวจจับที่ทันสมัยสามารถตรวจจับการแตะเสียบเสียบบัตรได้อย่างรวดเร็วทำให้เกิดประสิทธิภาพในการตรวจจับคนเข้าออกได้อย่างรวดเร็วส่งผลให้ลดเวลาการต่อคิวเข้าออกในสถานีที่มีผู้โดยสารจำนวนมหาศาลได้

รถไฟญี่ปุ่นกำลังเข้าสู่ชานชาลา

อนาคตของประตูแตะบัตรอัตโนมัติ

แต่ใช่ว่าญี่ปุ่นจะหยุดพัฒนาเจ้าที่แตะบัตรแต่เพียงแค่นี้ เพราะในปี ค.ศ.2020 เองได้พัฒนา “ประตูตั๋วสัมผัสง่าย” มาติดตั้งให้ใช้กัน โดยใช้ควบคู่กับบัตร IC บัตรที่รองรับการใช้จ่าบแบบไร้เงินสด โดยไอ้เจ้าบัตรนี้ทำให้เราไม่ต้องพกบัตรหลายใบในการขึ้นรถไฟรวมถึงการใช้จ่าย ไม่เหมือนบ้านเราที่ต้องพกบัตรมากมายไม่ว่าจะเป็นบัตร MRT หรือ BTS

เพราะเจ้าบัตรนี้ทำให้เราสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นด้วยบัตรใบเดียวขึ้นรถไฟแถมช้อปปิ้งอย่างสบายใจได้อีก

ในปี ค.ศ.2019 ญี่ปุ่นได้นำร่องเข้าที่แตะบัตรโดยสารอัตโนมัติโดยไม่ต้องใช้บัตร แต่ใช้แอปพลิเคชั่นที่อยู่ในมือถืออวัยวะที่ 33 ของเราสามารถเข้าประตูและสแกนจ่ายได้เลย โดยเจ้าประตูอัตโนมัติจะมีเสาที่ปล่อยคลื่นแม่เหล็กคอยสแกนเก็บเงินอัตโนมัติ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาหยิบบัตรขึ้นมาแต่อย่างไร

นี่จึงเป็นเทคโนโลยีอัจฉริยะที่บ้านเราอย่างประเทศไทยน่าทดลองเอามาใช้ เพราะญี่ปุ่นเองสามารถพัฒนาเจ้าที่แตะบัตรอัตโนมัติออกมาใช้เพื่อลดปัญหาผู้ดดยสารแออัดตามสถานีรถไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำถามต่อไปจึงต้องถามว่าประเทศไทยจะใช้เมื่อไหร่ จะใช้อย่างไร ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด หากเราผลิตเองไม่ได้ก็ต้องลองนำของเขามาปรับใช้ให้เข้ากับสังคม เพราะเทคโนโลยีผลิตมาให้คนใช้ ไม่ได้ผลิตมานอนไว้เฉยๆ ให้อวดว่ามี

ที่มา

marumura / thaipbs / jreast

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related