เตรียมพร้อมรับญี่ปุ่นเปิดประเทศ ชวนหาคำตอบก่อนไป ทำไม พยากรณ์อากาศ ประเทศญี่ปุ่น ถึงแม่นยำระดับว่าถ้าบอกว่าฝนตกคือตกจริง ๆ
ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีสภาพอากาศแปรปรวนประเทศหนึ่ง ด้วยสภาพภูมิประเทศที่ล้อมรอบด้วยทะเล ทำให้ญี่ปุ่นต้องเจอกับพายุฝน ไต้ฝุ่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดและภัยธรรมชาติต่าง ๆ ใครที่เคยไปเที่ยญี่ปุ่นอยู่บ่อยครั้งแล้วต้องการตรวจสอบสภาพอากาศ พยากรณ์อากาศ ประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่พยากรณ์ได้แม่นยำที่สุดในโลก
ข้อมูล
ปัจจุบันนักพยากรณ์อากาศใช้ข้อมูลที่เก็บจากพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งทิศทางลม ความเร็ว ความชื้นและปริมาณฝนจากเซ็นเซอร์ตามจุดต่าง ๆ ของประเทศ จากกว่า 1,300 สถานี ด้วยสถานี AMeDAS ของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (Automated Meteorological Data Acquisition System)
ด้วยความที่ว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูงทำให้ประเทศญี่ปุ่นสามารถลงทุนกับระบบที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศได้ จากข้อมูลพบว่า ปี 2012 สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ได้รับงบประมาณรายปีราว 60,000 ล้านเยน หรือราว 15,000 ล้านบาท
สำหรับประเทศไทย กรมอุตุนิยมวิทยา ปี 2565 ได้รับงบประมาณ 1,761 ล้านบาท มีสถานีฝนของกรมอุตุนิยมวิทยาทั่วประเทศ มีจำนวน 1,114 สถานี (สำรวจเมื่อเดือนตุลาคม 2543)
อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
คำนวณ
สำหรับความสามารถในการพยากรณ์อากาศ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ใช้เครื่องซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ Cray XC50 ความจุ 528 TB จำนวน 2 เครื่อง ซึ่งนี่เป็นตัวแปรสำคัญตัวหนึ่งที่ทำให้ ญี่ปุ่นสามารถพยากรณ์อากาศได้แม่ยำมากขึ้น
ดาวเทียม
นอกจากสถานีภาคพื้นทั้งเซ็นเซอร์ตรวจจับและเรดาห์แล้วญี่ปุ่นยังใช้ภาพถ่ายดาวเทียมในการวิเคราะห์ด้วย โดยดาวเทียม 2 ดวง ชื่อ ฮิมาวาริ-8 และ 9 โดยทั้ง 2 ดวงจะส่งภาพอัปเดตมาทุก ๆ 2.50 นาที
ซึ่งดาวเทียมนี้ไม่ได้ใช้เฉพาะแค่ประเทศญี่ปุ่น แต่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นยังดำเนินการบริการที่เรียกว่า Himawari Request ซึ่งใช้ดาวเทียมในการสังเกตการณ์ตามคำขอของหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาในประเทศอื่น ๆ
ด้วยบริการนี้ ดาวเทียมจะสำรวจพื้นที่ที่เกี่ยวข้องภายในเวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงหลังจากได้รับคำขอ และส่งข้อมูลการสังเกตการณ์แบบเรียลไทม์ ประเทศที่ได้รับข้อมูลผ่านบริการนี้สามารถตื่นตัวและดำเนินมาตรการป้องกันภัยธรรมชาติได้ในระยะเริ่มต้น
ด้วยวิธีนี้ ดาวเทียมสภาพอากาศ ฮิมาวาริ ของญี่ปุ่นช่วยลดความเสี่ยงของอันตรายในประเทศอื่นๆ ด้วยเช่นกัน