กสทช. ดันการสร้างแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง หวังผนึกรวมข้อมูลทั้งเนื้อหารายการ โฆษณา และข้อมูลผู้บริโภคเอาไว้ บนแพลตฟอร์มกลาง ให้ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ มีส่วนแบ่งรายได้ที่เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น หวังนำรายได้มาพัฒนาเนื้อหาให้มีคุณภาพ
นางสาวพิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (บอร์ดกสทช.) ด้านกิจการโทรทัศน์ เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมสื่อและโทรคมนาคมในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
ซึ่งจะส่งผลต่อทั้งระบบ รวมถึงผู้ประกอบการและผู้บริโภคด้วย กสทช.จึงได้วางนโยบายด้านกิจการโทรทัศน์ ประกอบด้วย
ทั้งนี้ เบื้องต้นได้มีการหารือกับทางผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล และสมาคมโฆษณาแล้ว ต่างเห็นด้วย ซึ่งแพลตฟอร์มดังกล่าวจะมีการรวมคอนเทนต์ต่างๆ ให้ง่ายต่อการดูแล รวมทั้งจะมีข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภค เพื่อใช้วางแผนในการซื้อโฆษณาได้ ที่สำคัญเม็ดเงินโฆษณาที่อยู่ในระบบจะไหลเวียนอยู่ในประเทศ แทนที่จะออกไปนอกประเทศเหมือนกับแพลตฟอร์มของต่างชาติ
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขการสร้างแพลตฟอร์มกลางสำหรับให้บริการทีวีดิจิทัลนั้น ยังมีเรื่องของการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล PDPA
นางสาวพิรงรอง กล่าวว่า ในส่วนของการส่งเสริมทีวีดิจิทัลก่อนใบอนุญาตหมดอายุในปี 2572 นั้น ขณะนี้ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่าการประมูลใบอนุญาตน่าจะเกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากฉากทัศน์ของอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการแข่งขันจากสื่อทีวียุคใหม่ที่เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ (OTT) จากต่างประเทศ
นอกจากนี้ ในส่วนของการส่งเสริมอุตสาหกรรมโทรทัศน์ในช่วงเปลี่ยนผ่านนั้น จากที่ กสทช.ได้มีการหารือร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล สมาคมโฆษณา ผู้ผลิตสมาร์ททีวี ขณะนี้กำลังศึกษาแนวทางการจัดทำต้นแบบแพลตฟอร์มสตรีมมิงแห่งชาติ (National Streaming Platform)
ขณะเดียวกัน เพื่อให้เป็น "แพลตฟอร์มสตรีมมิงสำหรับผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล" ซึ่งการวางระบบแพลตฟอร์มกลางดังกล่าว จะช่วยให้คอนเทนต์สตรีมมิงของผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล รวบรวมไว้ในแพลตฟอร์มเดียว สะดวกและมีการวัดผลเป็นมาตรฐานเดียวกัน สำหรับผู้ซื้อโฆษณาด้วย
“ข้อดีของแนวทางนี้ คือ การผนึกรวมข้อมูลทั้งเนื้อหารายการ โฆษณา และข้อมูลผู้บริโภคเอาไว้ด้วยกันบนแพลตฟอร์มกลาง โอกาสในเรื่องของการไหลเวียนของเงินโฆษณา จะอยู่ภายในประเทศ แทนที่จะไหลออกไปที่โกลบอล ดิจิทัล แพลตฟอร์ม (global digital platform) และผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ จะได้มีส่วนแบ่งรายได้ที่เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น จะได้นำรายได้มาพัฒนาเนื้อหาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น”
ทั้งนี้ ทาง กสทช. ได้ออกแบบแนวทางเบื้องต้นไว้แล้ว และกำลังหารือกับสมาคมทีวีดิจิทัล สมาคมโฆษณาธุรกิจ และจะมีการพูดคุยขอความร่วมมือจากผู้ผลิตทีวีรายใหญ่อย่างแอนดรอยด์ ทีวี, แอลจี, ซัมซุง ในการติดตั้งแอพพ์ของแพลตฟอร์มกลางนี้ จากโรงงานให้ปรากฏบนรีโมตหรือแผงหน้าเครื่องรับโทรทัศน์เลย ซึ่งในวันที่ 5 กันยายนนี้ จะมีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอีกรอบหนึ่งด้วย
ขณะเดียวกัน ส่วนเรื่องการกำกับเนื้อหาและส่งเสริมรายการคุณภาพนั้น กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ยังมีโครงการส่งเสริมการกำกับเนื้อหาโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) และการมอนิเตอร์เนื้อหาผ่านระบบการสะสมโซเชียลเครดิต (social credit) เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการที่ทำเนื้อหาที่ดี หรือไม่มีการละเมิดกฎหมายหรือเงื่อนไขใบอนุญาต และเป็นประโยชน์กับสังคมให้สามารถสะสมคะแนนได้อย่างเป็นระบบ และในแต่ละปีจะมีการประเมินเพื่อให้รางวัล ซึ่งอาจเป็นการลดค่าธรรมเนียมหรือรางวัลในรูปแบบอื่นๆ เพื่อเป็นแรงจูงใจในการผลิตเนื้อหาที่ดี ไม่ใช่เน้นแค่ยอดผู้ชม
นอกจานี้ กสทช. ยังมีแนวทางการกำกับดูแลแพลตฟอร์มทีวีออนไลน์ (OTT) ว่าภายใต้ พ.ร.ฎ.ควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2566 กสทช. มีขอบเขตอำนาจในการกำกับดูแลแพลตฟอร์มทีวีออนไลน์ โดยมีแนวทางกำกับดูแลครอบคลุมการปกป้องเด็กและผู้บริโภค, ปิดกั้นภาพโป๊ เปลือย อนาจาร, อาหารและยาที่ต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) และคุ้มครองข้อมูลของผู้บริโภคภายใต้หลักการของ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)