ถอดสูตรวิธีการทำธุรกิจจากบริษัทพันล้าน ความผิดพลาด ก้าวลื่นที่ไม่มีใครกล้าเล่า จากปาก ท๊อป Bitkub-จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา
ท๊อป-จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ระบุ ภายในงาน Creative Talk Conference (CTC) 2023 กับหัวข้อ How to Build a New Generation High Performing Team in Tough Time ว่า เขาได้เรียนรู้จากความผิดพลาด ตั้งแต่การเปิดบริษัทแรกของตัวเองชื่อ Coin.in.th ที่ตั้งอยู่ในร้านขายเสื้อผ้าของคุณพ่อ-แม่ ย่านประตูน้ำ มาจนถึงบริษัทที่ 2 ของตัวเองนั่นก็ คือ Bitkub ซึ่งได้เรียนรู้จากข้อผิดพลาดของตัวเองมาตลอด โดยยอมรับว่าบริษัทเองก็ยังมีข้อผิดพลาดอยู่ไม่ได้เพอร์เฟคไร้ที่ติ 100%
ท๊อป Bitkub แบ่งช่วงเวลาของการเรียนรู้และความผิดพลาดของตัวเองออกเป็น 3 ช่วงหลัก
เช่นเดียวกันกับช่วงก่อตั้ง Bitkub ในช่วงเวลาที่เป็นเวลาก่อตั้งพนักงานที่ดีจะต้องเป็นพนักงานที่ทำตามคำสั่ง แล้วจึงค่อยพัฒนาไปสู่พนักงานที่สามารถเริ่มต่อยอดเองได้อีกทีหนึ่ง หลังจากที่บริษัทเริ่มอยู่รอดแล้ว ซึ่งในวันแรกที่ระดมทุนได้กว่า 500 ล้านบาท บริษัทพยามทำทุกวิถีทาง เพื่อให้ตนเองเติบโตตามมูลค่าที่สามารถระดมทุนได้ แต่กลับลืมไปว่าบริษัทสามารถระดมทุนในมูลค่าที่สูงเกินกว่าความจำเป็น และกำลังดำเนินการธุรกิจแบบขาดทุนอยู่ทำให้ช่องทางในการอยู่รอดและเติบโตลดลง
อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
สิ่งหนึ่งที่ ท๊อป-จิรายุส เรียนรู้ คือ หลังจากเรียนรู้ว่าบริษัทไม่ควรทำกิจการแบบขาดทุนไปเรื่อย ๆ ปีถัดมาจึงพยายามรัดเข็มขัดบริษัทตัวเองให้ได้มากที่สุดจนนำไปสู่ความผิดพลาดครั้งต่อไป คือ ตอนนั้นเขาลืมไปว่าควรจะเข้าสู่ช่วงเวลาที่ทำกำไรและเตรียมความพร้อมสำหรับสึนามิคลื่นลูกใหม่ที่กำลังจะเข้ามา และต้องตักตวงให้ได้มากที่สุด
"ซึ่ง ณ เวลานั้นผมเกิดข้อผิดพลาด คือ จมอยู่กับงานและความผิดพลาดในอดีตจนลืมตั้งสติให้ดี"
ซึ่งความยากของการดำเนินธุรกิจในแต่ละขั้นตอน คือ การทำให้ตัวเอง รู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่เราทำถูกต้องถูกเวลาและถูกยุคสมัย
การเป็นผู้นำที่ดีต้องสร้างแรงบัลดาลใจ แต่ไม่ใช่เงินทุ่มอย่างเดียว
ท๊อป-จิรายุส เล่าให้ฟังถึงการทำให้บริษัทยั่งยืน ว่า การจะทำให้ยั่งยืน ต้องเป็นผู้นำที่ดี และการเป็นผู้นำที่ดีต้องมีความสามารถในการให้แรงบันดาลใจให้กับพนักงาน ซึ่งในยุคแรกที่บริษัททำ คือ สร้างแรงบันดาลใจด้วยเงินแต่กลับกลายเป็นข้อผิดพลาด เพราะแรงบัลดาลในที่ใช้เงินนั้นไม่ยั่งยืน แต่การทำให้เกิดความเชื่อมั่นและความไว้วางใจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจกับพนักงาน จนเกิดเป็นความหมายให้กับพนักงานและผู้ถือหุ้นของบริษัท
"วันนี้การหาคนที่ "ใช่" กับองค์กรเป็นเรื่องที่ยาก ซึ่งหากเราสามารถทำให้พวกเขาเห็นถึงความหมายและสาเหตุในการทำงานของพวกเขาในแต่ละวันได้ นั่นแหละเราถึงจะได้คนที่ "ใช่" มาอยู่ในองค์กรของเรา ทำให้คนที่ "ใช่" ไม่ได้หมายถึงว่า "คนเก่ง" เพราะทุกคนถึงเป็นคนที่เก่งหมด"
บริษัทมักลืมลงทุนในการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา
การประกอบธุรกิจข้อผิดพลาดที่ผ่านมา คือ บริษัทมีการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นแต่กลับไม่มีการป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้น ถ้าเปรียบเทียบสิ่งเหล่านี้เหมือนกับวงการแพทย์ มีการรักษาโรคแล้ว ยังมีการป้องกันโรคด้วย ดังนั้นทำไมผู้บริหารองค์กรใหญ่ๆจึงจะไม่ต้องมีการป้องกันการเกิดปัญหาด้วย ท๊อป-จิรายุส เล่า
ราคาของการทำให้เกิดการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นอาจจะสูงในตอนนี้แต่เมื่อปัญหาเกิดขึ้นแล้วค่าแก้ปัญหาย่อมสูงกว่าเสมือนกับการรักษาโรคที่สามารถป้องกันได้อย่างมะเร็ง
"ในฐานะผู้ก่อตั้ง , CEO หรือคณะผู้บริหารเราควรจะโฟกัสที่จุดสูงสุด คือ กลยุทธ์ที่ถูกต้องในแต่ละยุคสมัย , บุคลากรที่ถูกต้องในแต่ละสมัย และวัฒนธรรมขององค์กรที่ถูกต้องในแต่ละยุคสมัย แล้วเดี๋ยวส่วนอื่นๆจะตามมาเองตั้งแต่กระบวนการทำงานไปจนถึงระดับพนักงาน" ท๊อป-จิรายุส อ้างอิงคำพูดของ Steve Jobs อดีต CEO ของ Apple
ผู้บริหารที่ไม่กล้าโชว์โง่ อาจนำไปสู่หายนะ
ท๊อป-จิรายุส เล่าทิ้งท้ายถึงสัญญาณของความผิดพลาดในหมู่ผู้บริหาร ว่า การไม่กล้าโชว์โง่ กลายเป็นหายนะขององค์กร เมื่อผู้บริหารไม่กล้าพูดออกมาว่าตนเองไม่รู้ หรือ ยังไม่เข้าใจเรื่องที่คุย จนนำไปสู่การไม่พูดว่าองค์กรกำลังจะมีปัญหาหรือมองเห็นข้อบกพร่องสำหรับแผนของบริษัทในอนาคต เพียงเพราะกลัวว่าจะถูกหาว่าโง่
เมื่อคนขึ้นไปสู่ระดับผู้บริหารมักกลัวการถูกกล่าวหาว่า "โง่" จนสุดท้ายนำไปสู่หายนะขององค์กร ดังนั้นหากวัฒนธรรมการบริหารของผู้บริหารเองไม่สามารถปรับตรงนี้ได้ก็ไม่สามารถที่จะพัฒนาองค์กรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพได้