ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศให้มีการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาและให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัล หรือ Virtual Bank อย่างเร็วที่สุดภายในปี 2567 และมีผู้ได้รับใบอนุญาตไม่เกิน 3 ราย
โดยเงื่อนไขในการรับสมัครที่ธนาคารแห่งประเทศไทย จะเปิดให้ผู้ที่สนใจสามารถหารือ และยื่นคำขออนุญาตจัดตั้ง รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องส่งมาภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ประกาศกระทรวงหลักเกณฑ์การขออนุญาตจัดตั้งเวอร์ช่วลแบงก์ มีผลบังคับใช้ จากนั้นจะมีการคัดเลือกผู้ที่เหมาะสม และให้รมว.คลังพิจารณาให้ความเห็นชอบ
ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องเริ่มจัดตั้งเวอร์ช่วลแบงก์ ให้เริ่มเปิดดำเนินการได้ภายใน 1 ปี โดย ธปท. จะเข้าไปตรวจสอบความพร้อมก่อน
ซึ่งความคาดหวังของ ธปท.คือต้องการให้ผู้ที่ยังเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน สามารถเข้าถึงได้มากขึ้น รวมทั้งรายย่อยและเอสเอ็มอี นอกจากนี้ ยังรวมถึงนวัตกรรมที่ไม่กระทบเสถียรภาพระบบการเงินเดิม
โดยผู้ที่เข้ามาขอไลเซนส์ จะเป็นธนาคารพาณิชย์หรือไม่ก็ได้ จะมารายเดียวหรือจับมือกันมาก็ได้ จะเป็นต่างชาติก็ได้ แต่ต้องมีผู้ประกอบการไทยที่จดทะเบียนจัดตั้งในไทยร่วมด้วย และเงินทุนจดทะเบียนต้องไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท
ซึ่งเวอร์ช่วลแบงก์ต้องมีความแข็งแรงและมั่นคงทางธุรกิจระดับเดียวกับแบงก์ดั้งเดิม แต่ไม่อนุญาตให้มี ATM/CDM ของตัวเอง
โดยในขณะนี้ ธุรกิจที่ดูจะมีความสนใจและพร้อมจะเข้าสู่ธุรกิจนี้ อย่างเช่น เอไอเอส - กัลฟ์ - กรุงไทย ที่เซ็น MOU กันแล้ว เพื่อเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ก็ต้องจับตาดูอีกหลายธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องด้านการเงินหรือบริการออนไลน์ที่ไม่ใช่กลุ่มการเงินที่อาจจะมีความสนใจในเรื่องฟินเทค
เรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับเวอร์ช่วลแบงก์ ว่าจะมาเปลี่ยนอนาคตโลกทางการเงินอย่างไรบ้าง
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
เวอร์ช่วลแบงก์ คืออะไร
ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ให้ความหมายของ Virtual bank หรือ Digital-only bank ไว้ว่า การเปิดโอกาสให้ธนาคารพาณิชย์ดำเนินธุรกิจบนช่องทางดิจิทัลแบบเต็มรูปแบบ มีลักษณะสำคัญ คือ
สำหรับการให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลนั้น จะต้องเริ่มตั้งแต่การทำความรู้จักลูกค้า (KYC) การรับฝากเงิน ไปจนถึงการให้บริการทางการเงินอื่นๆ เช่น การให้สินเชื่อ การโอนและชำระเงิน และการลงทุน
โดยที่ลูกค้าจะต้องสามารถเข้าใช้บริการ ติดต่อสอบถาม หรือร้องเรียนการให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลที่ Virtual Bank จัดเตรียมไว้
ตัวอย่าง Virtual Bank ในต่างประเทศ มีรูปแบบการให้บริการที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น
ผู้บริโภคต้องปรับตัวอย่างไร
สิ่งที่ผู้บริโภคเตรียมปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงนี้ ก็ไม่ได้ยาก เพราะเราแค่ปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของดิจิทัล หากคุณเป็นคนที่มีการใช้งาน Internet Banking และ Mobile Banking อย่างสม่ำเสมอในชีวิตประจำวัน
การใช้จ่ายหรือสร้าง QR Code ได้อย่างคุ้นเคยก็ถือว่าเป็นการเรียนรู้วิธีการจัดการเงินใหม่ๆ และรับรู้วิธีการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางดิจิทัลอย่างปลอดภัย เช่น ตั้งรหัสผ่านให้คาดเดาได้ยาก เปลี่ยนรหัสผ่านทุกๆ 3 เดือน ใช้การยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอนเมื่อทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ และไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวให้กับผู้อื่น เป็นต้น
นอกจากนี้ ผู้บริโภคควรที่จะศึกษาข้อมูล เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สนใจให้แน่ใจก่อนตัดสินใจ เนื่องจากในอนาคตจะสามารถเข้าถึงและมีทางเลือกมากขึ้นในการใช้บริการทางการเงิน ที่มีความหลากหลาย อาจได้รับข้อเสนอที่จูงใจ ที่ตอบโจทย์ความต้องการได้มากยิ่งขึ้น
เช่น ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากที่สูง ได้รับอนุมัติสินเชื่ออย่างรวดเร็วทันใจในอัตราดอกเบี้ยต่ำ หรือสามารถทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ โดยไม่มีค่าธรรมเนียม เป็นต้น
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย, ธนาคารกสิกรไทย, ประชาชาติธุรกิจ, อินโฟเควส