AWS ใจป๋า ลงทุนไทยต่อเนื่อง ปลายปี 66 ลงทุนกว่า 19,000 ล้านเหรียญสหรัฐทั้งภูมิภาค ส่วนไทยเดินหน้าปั้นดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์ให้เป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่ง Amazon Q พัฒนา AI เจาะ 8 ธุรกิจหลัก
ตลาดคลาวด์สาธารณะในประเทศไทย คาดว่าจะมีการเติบโตถึง 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2570 บริษัทเห็นการเติบโตนี้จึงเลือกประเทศที่เหมาะสมในการลงทุนและไทยเป็นหนึ่งในตัวเลือกนั้น
วัตสัน ถิรภัทรพงศ์, Country Manager, AWS Thailand กล่าวว่า อะเมซอน เว็บ เซอร์วิส มีการลงทุนในเรื่องของดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์ในประเทศไทยสูงมาโดยตลอด เพราะเห็นเทรนด์การปรับตัวของธุรกิจและการอยู่รอดของเทคโนโลยี
เริ่มต้นตั้งแต่การลงทุนจ้างงานในไทยปี 2553 หลายสิบล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อปูโครงสร้างพื้นฐาน ต่อมาในปี 2566 เพิ่มการลงทุนในอาเซียน เม็ดเงินกว่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 1.9 แสนล้านบาทภายในระยะเวลากว่า 15 ปี ทั้งการตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ในไทยเพื่อให้มีมาตรฐานระดับโลกและเป็นหนึ่งในระดับ Region จากทั้งหมดที่มีอยู่ 33 แห่งทั่วโลกและมีแผนทำเพิ่มอีก 4 แห่ง ไทยจะเป็นหนึ่งในแผนการลงทุนเพื่อการเติบโตนี้
นอกจากเรื่องของการลงทุนภาพรวมแล้ว ยังมีการลงทุนในเรื่องของการจ้างงานและเพิ่มทักษะต่างๆ สำหรับคนไทยด้วย
ทั้งนี้ บริษัทมีแผนจะทำตลาดใน 8 อุตสาหกรรม ได้แก่
ทั้งนี้ บริษัทได้มีการปรับโครงสร้างทีมงานในประเทศให้เฉพาะเจาะจงในการให้บริการแต่ละอุตสาหกรรมเพื่อให้ใช้งานคลาวด์และรับมือการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม
สำหรับปี 2567 และในอนาคต AWS มองว่ายังเต็มไปด้วยปีแห่งนวัตกรรมและการเข้าถึงเทคโนโลยีในด้านต่างๆ และ Generative AI ก็เป็นตัวแปรสำคัญ
Generative AI เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large language models: LLMs) ที่ถูกเทรนด้วยข้อมูลทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย จะมีความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์ของมนุษย์ และความเข้าใจทางวัฒนธรรมนี้ ทำให้ Generative AI เป็นที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้นสำหรับผู้ใช้ทั่วโลก
AI เป็นผู้ช่วยกำหนดมาตรฐานใหม่ในการพัฒนาซอฟต์แวร์
AI จะเข้ามาช่วยนักพัฒนา (Developer) มาช่วยสร้างรหัสพื้นฐานของการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดย AI จะอธิบายระบบที่ซับซ้อนด้วยภาษาง่าย ๆ แนะนำการปรับปรุงตามเป้าหมาย และทำงานซ้ำ ๆ เพื่อช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถไปเขียนระบบงานที่มีความสำคัญ
FemTech (หรือเทคโนโลยีสำหรับผู้หญิง) จะเกิดขึ้นแล้ว
เดิมการทดลองหรือทดสอบเรื่องสุขภาพ จะใช้ผู้ชายในการทดสอบ ด้วยโครงสร้างทางเพศที่ต่างกัน ทำให้การวินิจฉัยโรคได้ผลลัพธ์ที่ต่างกัน แต่ในยุคนี้การดูแลสุขภาพของผู้หญิงถึงจุดเปลี่ยน และมีการลงทุนใน FemTech เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้การดูแลเป็นแบบผสมผสานและมีข้อมูลมากมายที่ช่วยปลดล็อกการวินิจฉัยและให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นต่อผู้ป่วย เพราะการเติบโตของ FemTech ไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้หญิงเท่านั้น แต่ยังช่วยยกระดับระบบการดูแลสุขภาพทั้งหมดอีกด้วย
ยุคแห่งการเรียนรู้ในห้องเรียนอาจไม่พอ
การศึกษาระดับอุดมศึกษาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้ ดังนั้นธุรกิจต่างๆ จึงต้องสร้างโปรแกรมการฝึกอบรมตามทักษะเฉพาะของพนักงานในแต่ละอุตสาหกรรมมากขึ้น ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้ จะเหมือนกับการเรียนรู้ของผู้เชี่ยวชาญ เป็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเรียนรู้เพื่อให้มีประโยชน์ต่อทั้งบุคคลและธุรกิจ
เพราะการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ ในปี 2560 อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสมีการอบรมคนทักษะด้านคลาวด์มากกว่า 7 ล้านคนในเอเชียแปซิฟิก ในกลุ่มนี้เป็นคนไทยมากกว่า 50,000 คน
94% ของผู้ทำงานด้านเทคโนโลยีและ 62% ของผู้ที่ไม่ได้ทำงานด้านเทคโนโลยี ต้องการการฝึกอบรมทักษะดิจิทัล เพราะมองว่ามีโอกาสตกงานจากการปรับใช้เทคโนโลยีของภาคธุรกิจมากขึ้น
ขณะที่คนทำงานของไทยยังมีความรู้ด้านดิจิทัลน้อย ทำให้คนและงานไม่เหมาะกัน 94% ขององค์กรไทยพบว่าการจ้างงานผู้ที่มีทักษะด้านดิจิทัลเป็นสิ่งที่ท้าทาย การลดช่องว่างทักษะระหว่างบุคลากรจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งมือให้ทันต่อยุคสมัย
เพราะการใช้เทคโนโลยียังเป็นเรื่องยาก AWS จึงต้องพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ความสามารถของ Generative AI และจะเข้ามาเปลี่ยนอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เช่น บริษัททางการเงิน, ก่อสร้าง และค้าปลีก นำไปใช้งานและด้วยความง่ายของระบบ AI จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมทุกธุรกิจจึงควรหันมาใช้งาน
AWS ได้ประกาศเปิดตัว Amazon Q ผู้ช่วยที่ขับเคลื่อนด้วย Generative AI ถูกปรับแต่งให้เหมาะกับธุรกิจแต่ละประเภท เพื่อให้ลูกค้าได้รับคำตอบที่รวดเร็วและเกี่ยวข้องกับคำถาม ช่วยสร้างเนื้อหา และดำเนินการหาคำตอบจากคลังข้อมูล รหัส และใช้งานภายในระบบองค์กรของลูกค้า
Amazon Q ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าองค์กร ปรับแต่งการโต้ตอบกับผู้ใช้แต่ละรายตามข้อมูลประจำตัว หน้าที่รับผิดชอบ และสิทธิ์ที่สามารถใช้ได้ในองค์กร นอกจากนี้ Amazon Q ไม่เคยใช้เนื้อหาของลูกค้าในการเทรนโมเดลในพื้นฐานของ Amazon Q จึงไม่ต้องกังวลเรื่องข้อมูลรั่วไหล
อย่างไรก็ตาม Amazon Q ยังไม่ได้เปิดให้กับทั้งลูกค้าและคนทั่วๆ ไปในการเข้าใช้งาน แต่ถ้าผู้ใช้งานทั่วๆ ไปอยากเข้าไปทดลองก็สามารถเข้าใช้ Amazon Quicksight ที่เพิ่มความสามารถในการใช้ Natural Launguage เพื่อหา Data Insight, หรือแม้กระทั่ง PartyRock เครื่องมือที่เปิดให้ทุกๆคนเข้าถึงการสร้าง Genenartive AI Application ได้
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม