svasdssvasds

ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล คือ? มาตรวัดทักษะทางไซเบอร์ฉบับแรก โดย AIS

ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล คือ? มาตรวัดทักษะทางไซเบอร์ฉบับแรก โดย AIS

ทำความรู้จัก ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล หรือ Thailand Cyber Wellness index (TCWI) โดย AIS และ มจธ. คือ มาตรวัดทักษะทางไซเบอร์ ของคนไทยฉบับแรก มีประโยชน์อย่างไรกับคนไทย เดี๋ยวโอ๋สรุปให้ฟัง

       มาทำความรู้จัก ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล หรือ Thailand Cyber Wellness index (TCWI) โดย AIS และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือ มจธ. เป็น มาตรวัดทักษะทางไซเบอร์ของคนไทยฉบับแรก มีประโยชน์อย่างไรกับคนไทย เดี๋ยวโอ๋สรุปให้ฟัง

       เพราะทุกวันนี้เราอยู่ในโลกยุคดิจิทัล เครื่องมือทุกอย่างรอบตัว คือออนไลน์ รวดเร็ว ดั่งใจ หมดทุกสิ่ง แต่มันคือดาบสองคม ที่มีประโยชน์ แต่ก็เป็นโทษได้มหาศาล  จากภัยออนไลน์ มิจฉาชีพทางการเงิน รูปแบบต่างๆ ถ้าเรารู้ไม่เท่าทัน  เราก็จะตกเป็นเหยื่อจาก ภัยไซเบอร์ได้
แล้วเราจะรู้ได้ยังไง ว่าเรามีทักษะทางไซเบอร์อยู่ในเกณฑ์ไหน? ดี  พอใช้ หรือ ต้องรีบปรับปรุงด่วน?
       AIS และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญจากนักวิชาการในด้านต่างๆ จึงจัดทำ ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index (TCWI) หรือมาตรวัดทักษะทางดิจิทัล ฉบับแรกของไทย ขึ้นมา

TCWI คือ ?

       เครื่องชี้วัดทักษะทางไซเบอร์ หรือ ความสามารถการใช้งานโลกดิจิทัล ของคนไทยทั่วประเทศ ขึ้นมา อย่างถูกต้อง แม่นยำ มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทุกภาคส่วนรับทราบข้อมูล ทักษะทางดิจิทัลของคนไทย และหาองค์ความรู้และเครื่องมือ เพื่อเข้าไปช่วยเหลือ พัฒนาความรู้ให้ประชาชนได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ลดผลกระทบ ภัยทางไซเบอร์ ที่เป็นปัญหาระดับโลก 
ตั้งแต่ เช่น cyber bully มิจฉาชีพออนไลน์ ล่อล่วง โจรกรรมข้อมูล ไปถึงระดับประเทศ เช่น การแฮกข้อมูลประชาชน หรือ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

แบ่งความสามารถ เป็น 3 ระดับ
-ระดับ Improvement  ระดับที่ต้องพัฒนา : เป็นกลุ่มที่อันตราย ถือว่าเสี่ยงเพราะ มีความรู้ ความสามารถไม่เพียงพอที่จะใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล มีความเสี่ยงบนโลกไซเบอร์

-ระดับ Basic ระดับพื้นฐาน : เป็นผู้มีความรู้และทักษะ บนโลกดิจิทัลได้อย่างถูกต้อง ถูกวิธี ปลอดภัย และ สร้างสรรค์

-ระดับ Advanced ระดับสูง : นอกจากเป็นผู้มีความรู้และทักษะ บนโลกดิจิทัลได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย สร้างสรรค์ รู้เท่าทันภัยไซเบอร์ทุกรูปแบบ และแนะนำคนรอบข้างให้ใช้งานโลกไซเบอร์ให้ปลอดภัยได้อีกด้วย

โดยจะชี้ให้เห็นทักษะดิจิทัล ที่ครอบคลุมพฤติกรรมการใช้งาน 7 ด้าน
1.ทักษะการใช้ดิจิทัล (Digital Use) :
ความรู้ ความสามารถในการใช้งานบนโลกไซเบอร์ในชีวิตประจำวัน รวมถึง การบริหารเวลา

2.ทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy) :
 เข้าถึง ค้นคว้าข้อมูล การคิดและสร้างสรรค์เนื้อหาทางดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม

3.ทักษะ ด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล (Digital Communication and Collaboration) : การมีส่วนร่วมทางสังคมผ่านบริการดิจิทัล ได้อย่างเหมาะสม เช่น การเข้าถึงแอพฯต่างๆของรัฐและเอกชน การยืนยันตัวตนทางแอพฯต่างๆเป็นต้น

 


4.ทักษะด้านสิทธิทางดิจิทัล (Digital Rights) :
รู้และเข้าใจกฎหมายสิทธิ และเสรีภาพของบุคคลบนโลกไซเบอร์  รู้สิทธิตัวเอง และ ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นบนโลกไซเบอร์

5.ทักษะด้านความมั่นคงความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security and Safety) :
ความรู้การป้องกันภัยทางไซเบอร์ ทั้งกับตัวเองและต่อองค์กร

6.ทักษะด้านการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (Cyberbullying) :
การตระหนักรู้ถึงภัยของการ Cyber bully ไม่ทำกับคนอื่น และ  รับมือได้หากเจอกับตนเองและคนใกล้ชิด

7. ทักษะด้านความสัมพันธ์ทางดิจิทัล (Digital Relationship) :
การมีปฏิสัมพันธ์ทางออนไลน์กับผู้อื่นอย่างถูกต้องและเหมาะสม

โดยผลจากการเก็บข้อมูลสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง
       ทั้งชายและหญิง ต่างอายุ ต่างสถานะและอาชีพ กว่า 21,862 คน ทั่วประเทศ โดยสัดส่วนของ กลุ่มตัวอย่าง  แบ่งเป็น อายุ 23 - 59 ปีมากที่สุด 34.65 % อาชีพ นักเรียน/นักศึกษามากสุด 47.35 % ผลพบว่า ภาพรวมของคนไทยมีสุขภาวะทางดิจิทัล อยู่ในระดับพื้นฐาน เกือบครึ่ง 44.04% อยู่ที่ระดับต้องพัฒนา  

โดยด้านที่ต้องพัฒนา คือ
ด้านเข้าใจสิทธิทางดิจิทัล
ด้านการแสดงความสัมพันธ์ทางดิจิทัล
ด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล

หากแบ่งตาม ช่วงอายุ ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีอายุ มากกว่า 60 ปีขึ้นไป
คือ กลุ่มที่มี ระดับสุขภาวะดิจิทัล ในระดับที่ต้องพัฒนา

แบ่งตาม กลุ่มอาชึพ
ผู้ว่างงาน / พนง.รัฐวิสาหกิจ / พนง.เอกชน  / ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว  / รับจ้างทั่วไปและเกษตรกร
อยู่ในระดับที่ต้องพัฒนา   

แบ่งตามภูมิภาค
ภาคเหนือ และ ภาคตะวันตก คือภาคที่ต้องได้รับการพัฒนา 

 

       ดัชนีชี้วัดสุขภาวะทางดิจิทัลของคนไทยฉบับแรกนี้ แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้ทักษะทางดิจิทัลให้กับประชาชนเพิ่มขึ้น ซึ่ง AIS และ มจธ. จะส่งมอบดัชนีนี้ ให้ภาครัฐและเอกชน นำไปใช้ เพื่อพัฒนาทักษะดิจิทัลให้กับคนไทย อย่างปลอดภัย สร้างสรรค์ และยั่งยืนต่อไป

related