svasdssvasds

จาก ทิม พิธา ถือหุ้นสื่อ พาย้อนรอยคดียุบพรรคอนาคตใหม่ ไม่ใช่เพราะหุ้นสื่อ

จาก ทิม พิธา ถือหุ้นสื่อ พาย้อนรอยคดียุบพรรคอนาคตใหม่ ไม่ใช่เพราะหุ้นสื่อ

กรณีมีผู้ร้อง กกต.ให้ตรวจสอบ ทิม พิธา พรรคก้สวไกล ถือหุ้นสื่อไอทีวี อาจเข้าข่ายความผิด จนทำให้ขาดคุณสมบัติส.ส. รวมถึงการโยงไปถึงคดีของ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ที่เคยโดนปมถือหุ้นสื่อฯ แต่ 2 เคสนี้แตกต่างกัน เดี๋ยวโอ๋สรุปให้ฟัง

จากกรณี ทิม พิธา ถือหุ้นสื่อ พาย้อนรอยคดียุบพรรคอนาคตใหม่ ไม่ใช่เพราะ ธนาธร ถือหุ้นสื่อวีลัค 

       จากกรณี ทิม พิธา กำลังถูก ร้องให้ กกต.ตรวจสอบ กรณีถือหุ้นสื่อ  ไอทีวี 4 หมื่นกว่าหุ้นนั้น  จะทำให้ขาดความเป็นสมาชิกภาพ สส. หรือไม่?  เพราะตามรัฐธรรมนูญ ปี 60 ม.98 (3) กำหนดลักษณะต้องห้ามของการสมัคร ส.ส. เอาไว้ว่า ห้ามเป็นเจ้าของหรือถือหุ้นในกิจการ สื่อมวลชนใด ๆ แต่อันนี้หลายคนเอาไปโยงกับ กรณี  การยุบพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งมันไม่เหมือนกัน คนละคดีนะ  เดี๋ยวโอ๋อธิบายให้ฟัง

พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ เพราะอะไร?
       21 ก.พ. 2563  ศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่ กรณีที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ให้พรรคอนาคตใหม่ กู้ยืมเงิน 191.2 ล้านบาท โดยศาลมองว่า เงินดังกล่าวถือเป็นเงินบริจาค ซึ่งการรับบริจาคเงินเกิน 10 ล้านบาทต่อปี  จากบุคคล ถือเป็นเรื่องต้องห้าม มาตรา 66  พ.ร.ป.พรรคการเมือง ที่ระบุว่า บุคคลใดจะบริจาคเงิน แก่พรรคการเมือง มีมูลค่าเกิน 10 ล้าน/ปีมิได้
        อีกทั้งมีหลักฐานควรเชื่อได้ว่าฝ่าฝืน มาตรา 72 ของ พ.ร.ป.พรรคการเมือง ห้ามมิให้พรรคการเมืองและ ผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง รับบริจาคเงิน โดยรู้ หรือว่า ควรรู้ ว่าเป็นการได้มาโดยไม่ชอบ เป็นเหตุให้ ศาลตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่ และเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง กรรมการบริหารพรรค  10 ปี ซึ่ง ทั้ง ธนาธร พรรณิการ์ และ ปิยบุตร เป็น กรรมการบริหารพรรค เลยถูกตัดสิทธิ์ 10 ปี เพราะฉะนั้น สรุปนะ การยุบพรรค อนาคตใหม่ ไม่ใช่ ปมถือหุ้นสื่อ วีลัคของธนาธร แต่อย่างใด
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง  :

แล้วกรณีการถือหุ้นสื่อ วี ลัค ของธนาธร นำไปสู่ผลอะไร?

       20 พฤศจิกายน 62 ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 7 - 2  วินิจฉัยให้ สมาชิกภาพ ส.ส. ของ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ สิ้นสุดลง ตามความผิด รัฐธรรมนูญ ม.98(3) ที่กำหนดคุณสมบัติ ส.ส.ว่า ห้ามเป็นเจ้าของ หรือ ถือหุ้น ในกิจการสื่อใดๆ
เนื่องจากพบว่า ธนาธร ยังคงถือหุ้นใน  บ. วี-ลัค มีเดีย จำกัด ซึ่งประกอบกิจการสื่ออยู่ ในวันที่พรรคอนาคตใหม่
ยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัคร ส.ส. ให้ กกต. 6 ก.พ. 2562

       โดยศาลวินิจฉัยว่า ไม่พบว่า บ.วีลัค มีการจดแจ้งยกเลิกการพิมพ์ ดังนั้น จะอ้างว่า ปิดกิจการและเลิกจ้าง หรือ แจ้งหยุดกิจการชั่วคราวไปไม่ได้ เพราะ วีลัค มีเดีย ไม่เคยแจ้งปิด เท่ากับว่า จะกลับมาทำอีกเมื่อไหร่ก็ได้ และเท่ากับว่า วี ลัค ทำสื่อมวลชน วันที่ ธนาคต เป็นหนึ่งใน รายชื่อผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคอนาคตใหม่  วันที่ยื่นสมัคร นั่นเอง

       ก่อนที่  14 เม.ย. 2563 โดนอีก มาตราหนึ่ง กกต. ได้เผยแพร่คำวินิจฉัยว่า นายธนาธร  ทำผิด พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง มาตรา 151 ประกอบมาตรา 42(3) คือ รู้อยู่แล้วว่าตนมีลักษณะต้องห้ามใช้สิทธิสมัคร ส.ส.  แต่ยังลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ด้วย

       เพราะฉะนั้นจากการวิเคราะห์ของโอ๋ กรณีของ ทิม พิธา โอ๋มองว่า ถ้าหากถือหุ้นสื่อจริง ก็อาจทำให้ขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ส. แต่ยังสามารถเป็น แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคก้าวไกลได้ เพราะการเป็นรัฐมนตรี และ นายกฯ ไม่จำเป็นต้อง เป็น ส.ส. แต่คนละกรณี กับ การยุบพรรคอนาคตใหม่ แต่จะถึงขั้นเป็นเหตุให้ ก้าวไกล ถูกยุบพรรคได้หรือไม่? โอ๋คงฟันธงไม่ได้  แต่หากมีข้อมูล จะรีบเอามาเล่าแบบเข้าใจง่ายๆ แบบนี้ให้ฟังอีกนะคะ

related