เลือกตั้ง 66 ร้อนฉ่า! พรรคก้าวไกลเสี่ยงถูกยุบพรรค เพราะ ทิม พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นไอทีวี อาจซ้ำรอย กรณียุบพรรคอนาคตใหม่
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐร้อง กตต. ตรวจสอบกรณี นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์หัวหน้าพรรคก้าวไกลและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล ถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) 42,000 หุ้น เนื่องจากรัฐธรรมนุญ มาตรา98(3) ระบุไว้ว่า “ห้ามบุคคลที่เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการ สมัครรับเลือกตั้ง เป็นส.ส.
เนื่องจาก ไปตรวจสอบข้อมูลกับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า แล้วพบว่า บ.ไอทีวี ยังเป็นนิติบุคคล ที่ยังดำเนินธุรกิจอยู่ มีการส่งงบประมาณ ปี 60 - 64
ที่สำคัญ พบว่า 7 เม.ย.66 พิธา ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นไอทีวี ลำดับ 6,121
นอกจากนั้นเมื่อย้อนกลับไปช่วงที่คุณพิธา ยื่นบัญชีทรัพย์สิน ต่อ ป.ป.ช. ตอนเข้ารับตำแหน่ง ส.ส. เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 62 ก็ไม่ได้แจ้งรายการ เรื่องถือหุ้น ไอทีวี ต่อ ป.ป.ช.ด้วย
จึงแจ้งให้ กกต. เร่งตรวจสอบว่า พิธา ขาดคุณสมบัติ ส.ส. หรือไม่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คุณพิธา ออกมาชี้แจงเรื่องนี้โดยเขาบอกว่าเขาไม่มีความกังวลเพราะ ไม่ใช่หุ้นเขาแต่เป็นของกองมรดกและเขาเป็นผู้จัดการมรดก มีการปรึกษาและแจ้งต่อ ป.ป.ช. ไปนานแล้ว
รวมถึงทีมกฏหมายของพรรคก้าวไกลก็รับเรื่อง ถ้ากกต.ส่งหนังสือให้ไปชี้แจ้งก็พร้อมที่จะชี้แจงเรื่องนี้ต่อ กกต. ส่วนตัวมองว่า เป็นเจตนาที่จะสกัดพรรคก้าวไกลที่กระแสแรงในช่วงโค้งสุดท้ายแต่ขอให้ทุกคน อย่าหวั่นไหว อย่าเสียสมาธิกับเรื่องไม่เป็นเรื่องไม่มีอะไรจะมาขัดขวางก้าวไกลเราได้อีกแล้ว
นักกฏหมายก็ออกมาแสดงความคิดเห็นเรื่องว่าถ้าหุ้นของผู้ตายยังไม่ถูกแบ่งหุ้นยังคงเป็นของผู้ตาย แต่ถ้ามีการแบ่งแล้วหุ้นจะตกเป็นของผู้สืบทอดมรดก
สอดคล้องกับเนชั่นทีวีได้ข้อมูลจากผู้พิพากษา ถ้าทายาทคนอื่นเห็นว่าผู้จัดการมรดกจัดการช้า เปลี่ยนคนได้ แต่ถ้ามีการโอนทรัพย์สินเข้าตัวเองแบบผิดกฏหมายก็จะโดนดำเนินคดีอาญา แต่ถ้าไม่มีคนยื่น คนจัดการสามารถดูแลได้เป็นสิบๆปี เข้าข่ายกรณีของ คุณพิธา ทายาทรู้อยู่แล้วว่าทรัพย์สินอันไหนเป็นของใคร แค่รอโอนเปลี่ยนชื่อ
ล่าสุดนายอนุพงษ์ ไชยฤทธิ์ รองผู้อำนวยการ ส.ส.ท ออกมาโพสเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงกรณีนี้ว่า
1.หยุดประกอบกิจการสถานีโทรทัศน์ไอทีวีตั้งแต่ 24.00 น.วันที่ 7 มีนาคม 2550 สืบเนื่องจากการบอกเลืกสัญญาร่วมงานของสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
2.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย delist ถอดหุ้นไอทีวีจากการซื้อขายตั้งแต่วันที่ 24 กค.2557
3.ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการฟ้องร้องพิพาททางกฏหมายกับสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สืบเนื่องจากกรณีที่อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดว่า
-การบอกเลิกสัญญาของ สปน. ไม่ชอบด้วยกฏหมาย
-ให้ สปน.ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 2,890 ล้านบาท
3.1 ต่อมา สปน.ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยชี้ขาดของอาุญาโตตุลาการ ซึ่งศาลปกครองมีคำสั่งยกคำร้องของ สปน.
3.2 มกราคม 2564 สปน.ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองกลาง ต่อศาลปกครองสูงสุด คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา
4. ปีบัญชี 2565 ไอทีวี มีรายได้จากการลงทุนและดอกเบี้ยรับ 20.5 ล้านบาท (ผลตอบแทนจากตราสารหนี้และตราสารทุน) กำไรสุทธิ 8.5 ล้านบาท
5. ไอทีวี มีบริษัทย่อย 1 บริษัท คือบ.อาร์ตแวร์มีเดีย ให้เช่าอุปกรณืผลืตรายการวิทยุโทรทัศน์ ผลิตรายการโทรทัศน์ ซื้อขายลิขสิทธิ์ภาพยนต์และรายการโทรทัศน์ และกิจกรรมการตลาดอื่นๆ สถานะปัจจุบันของบริษัท คือ หยุดประกอบกิจการ
6. กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ที่โดยพฤติการณ์มีอิทธิพบต่อการกำหนดนโยบายและการดำเนนิงานบ.ไอทีวีในปัจจุบัน คือบ.อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
7. การรักษาสถานะความเป็นนิติบุคคลของบ.ไอทีวี เพื่อดำเนินการฟ้องร้องกับสปน. (ความเห็นผู้เขียน)
หมายเหตุ ข้อ 7 เป็นความเห็นส่วนตัว / ส่วนข้อ 1-6 เป็นข้อมูลจากรายงานประจำปี 2565 ของ ITV”
ส่วนกรณีที่มีชื่อคุณพิธาในเอกสาร บมจ.006 โดยไม่มีคำว่า ผู้จัดการมรดกต่อท้ายในวงเล็บ ก็หมายถึงว่าหุ้นเป็นของคุณพิธาแล้ว นอกจากว่าเจ้าหน้าที่พิมพ์เอกสารผิด