สรุปประเด็นจากการเสวนา VIRTUAL FORUM: BCG Economy Drive for Thailand Sustainability เศรษฐกิจ BCG ขับเคลื่อนประเทศไทย สู่ความยั่งยืน เพื่อเสนอแนวทางขับเคลื่อนธุรกิจไทย
BCG Economy Model คืออะไร?
หลายท่านคงเคยได้ยินคำว่า BCG Economy Model กันมาบ้าง แต่อาจจะยังนึกไม่ออกว่า BCG Economy Model จะช่วยเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ยั่งยืนได้อย่างไร ซึ่งในขณะนี้ภาครัฐก็มีนโยบาย เอกชนก็นำแนวคิดมาเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจ น่าสนใจขนาดไหน เดี๋ยวโอ๋สรุปให้ฟัง
จากงานเสวนา VIRTUAL FORUM: BCG Economy Drive for Thailand Sustainability เศรษฐกิจ BCG ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความยั่งยืน ที่จัดขึ้นโดย สวทช. สปริงนิวส์ ไทยนิวส์ และเครือเนชั่น
เพื่อเสนอแนวทางขับเคลื่อนธุรกิจไทย ผ่านโมเดลเศรษฐกิจ BCG ต้องบอกว่า ระบบเศรษฐกิจของโลก ความมั่งคั่งของหลายประเทศทุกวันนี้ มาจากการขูดรีดทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองมากจนทำให้ ผืนดินเสื่อมโทรม , สูญเสียพื้นที่ป่าไม้, สัตว์กว่า 1 ล้านสปีชีส์เสี่ยงสูญพันธุ์ , เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทำให้หลายประเทศทั่วโลก หันมาเปลี่ยนแปลงแนวทางการพัฒนาประเทศตามเป้าหมายของ
องค์การสหประชาชาติ ว่าด้วยเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)
ซึ่งประเทศไทย เป็นผู้นำในการพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจ BCG ใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานตามเป้าหมายดังกล่าว ก่อให้ให้เกิดความสมดุลเพื่อความยั่งยืน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
BCG Economy Model คืออะไร?
B = (Bioeconomy) เศรษฐกิจชีวภาพ
การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคการเกษตรและผลผลิต ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยีและองค์ความรู้จากท้องถิ่น เพื่อให้สร้างรายได้ ตลอดห่วงโซ่ของการผลิต
C = (Circular economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน
แก้ไขความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด ใช้วัสดุทางเลือก เน้น ‘การจัดการขยะ ด้วยการลดปริมาณของเสีย หรือ เท่ากับศูนย์
G = (Green economy) เศรษฐกิจสีเขียว
เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อม ปกป้อง-อนุรักษ์-ฟื้นฟูแหล่งธรรมชาติ ให้สมดุล ส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืน โดยที่มี ‘ความเป็นอยู่ที่ดี’ ของคนเป็นเป้าหมาย
โดยประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG แต่ละสาขา ได้เสนอทิศทางการขับเคลื่อน "BCG Economy Model สร้างเศรษฐกิจไทย"
เช่น
สาขาการเกษตร
ตั้งเป้า 3 สูง คือ ประสิทธิภาพสูง มาตรฐานสูง และรายได้สูง โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการเข้าไปแก้ไขปัญหา ตั้งคณะกรรมการในแต่ละจังหวัดนำร่อง 5 จังหวัด ราชบุรี ลำปาง ขอนแก่น จันทบุรีและพัทลุง
สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน
BCG ลดการใช้ทรัพยากร ลดปัญหามลพิษ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สร้างมูลค่ากลับมาให้เกิดเศรษฐกิจใหม่ เป้าหมายลดใช้ทรัพยากรลง 1ใน 4 ส่วน ลดการใช้ก๊าซเรือนกระจก 1 ล้านตันและเพิ่มจีดีพี 1%
สาขาพัฒนาคนและบุคลากร
สิ่งที่เราขาดคือคนที่มีความรู้ใหม่ เช่น การนำทรัพยากรกลับมาใช้ซ้ำ หรือ หมุนเวียน เป็นเรื่องที่คนไทยต้องร่วมมือกัน
สาขาการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ใช้ Happy model สร้างการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ ในอดีตเน้นปริมาณ เน้นเมืองน่าเที่ยว ปัจจุบันต้องเปลี่ยนเป็นเมืองน่าอยู่ คนก็อยากอยู่ ผู้ประกอบการก็อยากอยู่ นักท่องเที่ยวก็อยากอยู่
ช่วงสุดท้ายในหัวข้อ "BCG พลิกโอกาสธุรกิจยั่งยืน"
เชิญเหล่าผู้ประกอบที่ลงมือทำโมเดลธุรกิจตามหลัก BCG ไปแล้ว
มาแบ่งปันประสบการณ์ เป็นแนวทางรอดให้กับภาคธุรกิจไทย เช่น
บริษัท นิว อาไรวา จำกัด
เจ้าของแบรนด์ Qualy ที่ผลิตของใช้และผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล น่ารัก น่าใช้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามหลัก Circular Economy โดยเฉพาะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
บริษัท ไบโอฟอร์ม (ประเทศไทย) จำกัด
ออกแบบภาชนะที่ทำจากวัสดุ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้เร็วกว่าพลาสติก ได้รับการรองรับจากนานาชาติแล้ว แก้ปัญหาเรื่องการใช้งานพลาสติกในระยะเวลาสั้น
บริษัท อุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ จำกัด
เจ้าของโรงงานเฟอร์นิเจอร์จากไม้สัก ที่ใช้ไม้สักได้อย่างคุ้มค่า เพื่อประโยชน์สูงสุด โดยการคิดก่อนตัดว่า ไม้ที่เหลือต่อ จะเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง เริ่มต้นจากความเสียดาย เศษไม้สักที่โรงงานนำมาตัดใช้ แล้วเหลือทิ้ง จึงนำเศษไม้มาผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหม่และเพิ่มการดีไซน์เพื่อให้เกิดคุณค่า
Founder & CEO บริษัท วาสุ45 จำกัด
ต่อยอดมาจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การนำของเหลือมาเพิ่มมูลค่า หรือเอาเศษของเหลือใช้กลับมาฝังดินก็ได้ มันก็จะกลายเป็นดิน ใน 6-12 เดือน สร้าง Zero Waste หรือไม่มีขยะเหลือจากงานนี้ด้วย