ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เผย ตรวจพบโควิดเดลต้า สายพันธุ์ย่อย เพิ่ม 4 ชนิดในไทย 8 จังหวัด จากนี้จับตาเฝ้า ว่าสายพันธุ์เหล่านี้จะมีผลต่อการควบคุมโรคหรือไม่?
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลง พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ย่อย ของเดลตาในไทย โดยระบุว่า ปัจจุบัน หลายประเทศมีการถอดรหัสพันธุ์กรรมของโควิดอย่างต่อเนื่องและจะอัปโหลดขึ้นไว้บน ระบบฐานข้อมูลจีโนมโควิดโลก “GISAID” ซึ่งจะรายงานว่า พบเชื้ออะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร เท่าไหร่ เพื่อติดตามการกลายพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันของไทย พบว่า
B.1.1.7 (อัลฟา) 11%
B.1.351 (เบตา) 14%
B.1.617.2 (เดลตา) 71%
สายพันธุ์หลักในไทย ยังคงเป็น เดลต้า
สัปดาห์ที่ผ่านมามีการสุ่มตรวจ พบว่า เดลต้า ยังเป็นสายพันธุ์หลัก รหัสพันธุกรรมจะเป็น "B.1.617.2" แต่ตอนนี้กลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ย่อย อีก 27 สายพันธุ์
พบสายพันธุ์ย่อย เดลตา ในไทย อีก 4 ตัว
- AY.4 หรือ B.1.617.2. 4 พบเดือน มิ.ย.-ส.ค.
ในพื้นที่ ปทุมธานี 4 ราย บุรีรัมย์ 1 ราย กำแพงเพชร 1 ราย เชียงใหม่ 1 ราย สมุทรปราการ 1 ราย ชลบุรี 1 ราย
- AY.6 หรือ B.1.617.2. 6 พบเดือน ก.ค. ใน กทม. 1 ราย
- AY.10 หรือ B.1.617.2. 10 พบเดือน ก.ค. ใน กทม.1 ราย
- AY.12 หรือ B.1.617.2. 15 พบเดือน ก.ค.-ส.ค.
ในพื้นที่ กทม. (พญาไท) 1 ราย และ สุราษฎร์ธานี 2 ราย
ยันไม่ใช่สายพันธุ์ไทย
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบายว่าสำหรับสายพันธุ์ย่อยนี้ ไม่ได้มีเฉพาะประเทศไทย พบทั้ง อังกฤษ สเปน เดนมาร์ก อย่าไปสรุปว่าเป็นสายพันธุ์ของไทย แต่ต้องจับตา ว่าสายพันธุ์นี้จะมีผลต่อการควบคุมโรคหรือไม่?
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
สายพันธุ์ย่อย เก่งแค่ไหน?
- ทุกตัวยังคงคุณสมบัติ แพร่กระจายเร็ว อาการรุนแรง
- ยังไม่พบข้อมูลเรื่องความแตกต่างจากสายพันธุ์เดิม อยู่ระหว่างระวังว่าหลบเลี่ยงภูมิต้านทานจากวัคซีนได้หรือไม่
- ส่วนสายพันธุ์เดลตาพลัส ที่พบในประเทศอินเดีย ยังไม่พบในประเทศไทย
- อยู่ระหว่างสังเกตอาการ และเฝ้าระวังจำนวนผู้ติดเชื้อ เพื่อปรับการควบคุมโรคให้เหมาะสม
สรุปตบท้าย ยืนยันว่า เดลต้าสายพันธุ์ย่อย ที่พบขณะนี้ยังไม่ใช่สายพันธุ์ไทย เป็นการกลายพันธุ์ จาก เดลต้าหลัก B 1617.2 ยังไม่พบข้อมูลว่า ดื้อต่อวัคซีน หรือ อาการรุนแรงกว่าเดิม อยู่ระหว่างเฝ้าระวังและสังเกตต่อเนื่อง