ประชาชนออสเตรเลีย ออกมาประท้วง ทำงานของนายกรัฐมนตรี สก็อตต์ มอริสัน กับประเด็นการล็อกดาวน์ที่ยาวนานและบ่อยเกินไป จนส่งผลให้เศรษฐกิจพัง โดยมาตการที่เข้มงวดจนเกินไป ทั้งที่ ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในรอบ 7 วันที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยวันละไม่ถึง 4 คน
โควิดออสเตรเลียกำลังอยู่ในภาวะที่มีความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชน จากจุดเริ่มต้นของปัญหาโควิด-19 เป็นเหตุ หากพิจารณาจากตัวเลข ผู้ป่วยโควิด-19 และผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 อาจดูไม่สอดคล้องกันกับมาตรการล็อกดาวน์ มาตรการเคอร์ฟิว ที่ดูราวจะเป็น การ "ขังคนไว้กับล็อกดาวน์" และนำมาสู่ความไม่พอใจของประชาชนจนต้องออกมาประท้วง
.
ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในรอบ 7 วันหลังสุด ออสเตรเลียมีตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่ม 4,061 คน เสียชีวิต 26 คน เฉลี่ยแล้ว วันละ 3.7 คน กล่าวคือไม่ถึงวันละ 4 คน แต่ประชาชนนับล้านคนต้องเจอกับผลกระทบกับมาตรการของรัฐ
.
วันที่ 21 สิงหาคม 2021 ออสเตรเลียมีรายงาน ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 886 ราย ในรัฐนิวเซาท์เวลส์และรัฐวิกตอเรีย โดยพบผู้ติดเชื้อมากที่สุดในซิดนีย์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลตาที่ติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
.
ส่วนรัฐอื่น ๆ ยังไม่มีรายงานตัวเลขรายวัน แต่ยอดผู้ติดเชื้อใน 2 รัฐ ก็มากเกินกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันที่สูงสุดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 754 ราย นครซิดนีย์ ซึ่งมีประชากรมากกว่า 5 ล้านคน อยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวดมาแล้วหลายสัปดาห์ แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาดโควิด-19
.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โควิดออสเตรเลีย คะแนนนิยมนายกร่วง เพราะล็อกดาวน์ใช้อำนาจเกินขอบเขต?
ดราม่าโฆษณาออสเตรเลีย เชียร์ให้ฉีดวัคซีนโควิดแต่ไม่มีของ แถมทำให้คนกลัว
ซิดนีย์ สั่งขยายเวลาล็อกดาวน์เพิ่มขึ้นอีก 1 สัปดาห์ หลังโควิดเดลต้าระบาด
ประชาชนบางส่วนในออสเตรเลีย ตั้งคำถาม กับการทำงานของรัฐบาลภายใต้นายก สก็อตต์ มอร์ริสัน ว่าใช้อำนาจเกินขอบเขตหรือไม่ กับนโยบายที่ออกมา ? และผลสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนออสเตรเลียครั้งล่าสุด ออกมาว่า นายกรัฐมนตรีมีคะแนนความนิยมลดลง จากมาตรการต่างๆที่ใช้
.
มาตรการของรัฐที่ออกมา เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้คนไม่พอใจ อาทิ ประชาชนที่ฝ่าฝืนมาตรการล็อกดาวน์ เช่น การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งการอยู่บ้าน (stay-at-home orders) หรือให้ข้อมูลเท็จกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับสถานที่ที่ไปมา อาจเจอค่าปรับสูงสุดถึง 5,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือประมาณ 123,000 บาท ขณะที่เมืองซิดนีย์ ขังผู้คนอยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์มา 9 สัปดาห์แล้ว และไม่มีทีท่าจะยกเลิกคำสั่งง่ายๆ
.
ตำรวจมากกว่า 1,500 นาย ถูกส่งไปทำหน้าที่ตามถนนในนครซิดนีย์ รถไฟโดยสารได้รับคำสั่งให้งดจอดที่สถานนีหลัก ๆ ในเมืองและบริการรถยนต์ผ่านทางแอปพลิเคชั่นก็ถูกส่งห้ามในบริเวณใจกลางเมืองของนครซิดนีย์ ในขณะที่ตำรวจพยายามป้องกันมิให้มีการประท้วงต่อต้านการล็อกดาวน์. แต่เรื่องนี้ ก็ดูจะห้ามไม่ได้ เพราะมันคือสิทธิขั้นพื้นฐาน และประชาชนจำนวนมากถูกกระทำด้วยความรุนแรง และมีการปะทะกันในหลายๆจุดประท้วง
.
ด้าน นางกลาดีส์ เบเรจิกเลียน มุขมนตรีรัฐนิวเซาท์เวลส์ เพิ่งประกาศเมื่อวันศุกร์ 20 สิงหาคม ที่ผ่านมา ว่าจะขยายระยะเวลาล็อกดาวน์เมืองซิดนีย์ และอีก 3 เขตใกล้เคียง ได้แก่ เซ็นทรัล โคสต์ บลู เมาเทนส์ และโวลลองกอง ต่อไปจนถึงวันที่ 30 ก.ย.นี้ "เป็นอย่างน้อย" หลังคำสั่งฉบับปัจจุบันจะครบกำหนดในวันที่ 28 ส.ค.นี้ นั่นหมายความว่า ประชนชนซิดนี่ย์จะอยู่ในกฏล็อกดาวน์ไปอย่างน้อยอีก 1 เดือน
โดยพื้นที่ดังกล่าวอยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์ ตั้งแต่วันที่ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา พร้อมทั้งออกคำสั่งบังคับสวมหน้ากากอนามัยครอบคลุมทั้งรัฐนิวเซาท์เวลส์ และ 12 เขตในเมืองซิดนีย์ซึ่งมีผู้ป่วยโรคโควิด-19 สะสม "ในระดับสูงสุด" ต้องอยู่ภายใต้เคอร์ฟิว ระหว่างเวลา 21.00-05.00 น. นับตั้งแต่วันจันทร์ที่ 23 ส.ค.นี้เป็นต้นไป "จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง"
.
สิ่งที่ภาครัฐออสเตรเลีย ทำทั้งหมดก็เพื่อยื้อเวลา ให้ประชาชนฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้มากขึ้น โดยตอนนี้ พวกเขาฉีดไปแล้ว 16.5 ล้านโดส แต่มีประชากรที่ได้รับวัคซีนโควิดครบโดสแล้วราวๆ 22.6 เปอร์เซนต์
...ขณะที่ ประชาชนที่ออกมาประท้วง ตั้งคำถามว่า เมื่อไรจะเลิกล็อกดาวน์ เลิกเคอร์ฟิว แบบครอบจักรวาล ?