โควิดอินเดีย แม้ฉีดวัคซีนกันโควิด-19 มากที่สุดในโลกเป็นลำดับ 4 และฉีดไปกว่า 7.1 % ของประเทศแล้ว แต่ก็ยังอยู่ในสถานการณ์ไว้วางใจไม่ได้ เพราะตัวเลขผู้เสียชีวิตเพิ่งแตะหลัก 3 แสนคน ภาพศพเกลื่อนริมแม่น้ำคงคาเป็นสิ่งที่ ไม่อาจ เก็บซ่อนความทุกข์ตรมประชาชนอินเดีย ได้เลย
•โควิดอินเดียคร่า 3 แสนชีวิต
ตัวเลขผู้เสียชีวิตทะลุ 300,000 คน คือหลักไมล์ที่ประเทศอินเดียไม่อยากเจอ แต่ปฏิเสธความจริงไม่ได้ เพราะ โควิดอินเดียเพิ่งคร่าชีวิตประชากรอินเดียไป และถือว่าเป็นจำนวนมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นรองแค่สหรัฐและบราซิล โดยเพียง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา อินเดียมีผู้เสียชีวิตจากโควิดถึง 5 หมื่นราย แต่สิ่งที่น่ากังวลสำหรับโควิดอินเดียก็คือ ตัวเลขผู้เสียชีวิตรายวันยังเพิ่มเป็นหลัก 4-5 พันคน ไปเรื่อยๆ โควิดอินเดียจะมีโอกาส มียอดผู้เสียชีวิตทั้งหมด 1 ล้านคนตอนเดือนสิงหาคมนี้ก็เป็นได้ หากคุมสถานการณ์ไม่ได้
ขณะที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด ถือว่าอินเดีย เริ่มเห็นแนวโน้มของการลดลงแล้ว เพราะ ล่าสุดติดเชื้อ +195,815 คน แม้จะดูมาก แต่ก็คือตัวเลขที่ต่ำที่สุด นับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนเมษายนเป็นต้นมา
อย่างไรก็ตาม คาดการณ์กันว่า ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากโควิดอินเดีย ที่แท้จริงของอินเดียมีสูงกว่านี้ โดยเฉพาะโรคนี้ได้ลุกลามระบาดไปยังพื้นที่ชนบท อาศัยอยู่และมีระบบสาธารณสุขที่ไม่ได้มาตรฐาน
•จำนวนศพคลาดเคลื่อน
สิ่งที่ผิดปกติคือ การพบศพจำนวนมากภายในระยะเวลาอันสั้น ตามบริเวณต่างๆของแม่น้ำคงคา แม่น้ำอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวอินเดีย และในหลายพื้นที่ตามริมฝั่งแม่น้ำ
โดยที่ เมืองคานปูร์ ทางตอนเหนือ มีการเปิดเผยจากการตั้งข้อสังเกต ว่า บรรดา ศพที่เห็นเหล่านี้คือหลักฐาน ความคลาดเคลื่อนครั้งใหญ่ระหว่างตัวเลขผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ของทางการอินเดียและตัวเลขที่แท้จริงในพื้นที่
ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากโควิดอินเดียในเมืองคานปูร์ของทางการระหว่างที่ 16 เมษายน ถึง 5 พฤษภาคม อยู่ที่ 196 ศพ แต่ข้อมูลจากฌาปนสถาน 7 แห่ง ระบุว่ามีการเผาศพเกือบ 8,000 ศพ ซึ่งตัวเลขแตกต่างกันมากอย่างไม่เน่าเชื่อ
•ความหลากหลายทางวัฒนธรรมกับภาพสลดใจ
ในช่วงก่อนหน้านี้ ที่ 1-2 สัปดาห์ที่แล้วที่ ในช่วงที่ โควิดอินเดีย มีผู้คนติดเชื้อทะลุวันละ 4 แสน และตายจนเผาและฝังไม่ทันวันละ 3-4 พันคนติดต่อกันหลายวันนั้น
นั่นทำให้ทั่วโลกได้เห็นภาพอันเวทนา ศพหลายร้อยศพลอยเกลื่อนตามแม่น้ำ หรือไม่ก็ฝังไว้ใต้ผืนทรายริมแบบลวก ๆ ริมฝั่งแม่น้ำ รอน้ำขึ้นหรือฝนตกพาเอาซากศพลอยลงแม่น้ำ อาทิ ในรัฐอุตตรประเทศ ทางภาคเหนือของประเทศ
อินเดียสังคมพหุวัฒนธรรม หรือมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และความแตกต่างที่หลากหลายทางสังคม เชื้อชาติ ศาสนาและวรรณะชนชั้น บางครอบครัวยากจนหาเช้ากินค่ำอยู่แล้ว ก็ต้องตกงานกลับบ้านเกิด อยู่กินกันตามวิสัย ดังนั้นภาพของศพที่อยู่ในบริเวณแม่น้ำคงคายจึงเป็นเรื่องที่ชวนสังเวชใจ
และที่น่าเป็นกังวลอีก คือ การค้นพบหลุมศพจำนวนมาก ทำให้เกิดความตื่นตระหนกในพื้นที่ คนอินเดียกลัวว่า เมื่อฝนตก หรือน้ำขึ้น ศพเหล่านี้ก็จะถูกกระแสน้ำชะลงไปลอยอยู่ในแม่น้ำอย่างไม่ต้องสงสัย
•เชื้อราดำกับโควิด
สิ่งที่โควิดอินเดียต้องเผชิญพร้อมๆกับการตายของประชาชน คือ การติดเชื้อราดำ หรือ mucormycosis ทำให้เกิดโรคอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น สมอง ปอด ลำไส้ ดวงตาและผิวหนัง
โดยปกติแล้วไม่ได้เกิดขึ้นง่ายนัก โรคนี้มีอาการรุนแรงและลุกลามรวดเร็ว จึงมักจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเป็นส่วนมาก หากติดเชื้อแล้วโอกาสเสียชีวิตสูงถึง 50%
ในช่วงที่ผ่านมา อินเดียพบผู้หายป่วยจากโควิด-19 ป่วยด้วยเชื้อราดำมากขึ้น ซึ่งแพทย์ชี้ว่า มีส่วนเชื่อมโยงของการใช้ยาสเตียรอยด์ในการักษาผู้ป่วยโควิด อีกทั้งผู้ป่วยเบาหวาน ยังมีความเสี่ยงสูง
โดยรัฐคุชราต และรัฐมหาราษฏระ พบเชื้อราดำ มากสุด คือมากกว่าครึ่งของผู้ป่วย และอีกอย่างน้อย 15 รัฐ มีกว่า 10-900 เคส โดยมี 29 รัฐ ที่ได้ประกาศว่า มีการระบาดของโรคดังกล่าว
•อีกหนึ่งทางแก้เร่งด่วน
เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาทางการอินเดีย เพิ่งอนุมัติใช้ยา 2-ดีจี หรือ 2-ดีออกซี-ดี-กลูโคส กับผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาลกรุงนิวเดลี เพื่อหวังเป็นอีกทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกวัน
โดยระบุว่ายาขนานนี้ผลิตได้ไม่ยาก และสามารถผลิตได้ทันทีทั่วประเทศ เบื้องต้นจะใช้ยากับผู้ป่วยที่มีอาการปานกลาง ไปจนถึงผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องรักษาอาการเป็นเวลานานในโรงพยาบาล
อย่างไรก็ตาม อินเดียซึ่งได้ชื่อว่าเป็นโรงงานผลิตวัคซีนให้กับโครงการโคแวกซ์ ก็จะยังไม่สามารถส่งวัคซีนให้กับโครงการนี้ไปอีกหลายเดือน เพราะโดนแรงกดดันจากประชาชนให้เอาวัคซีนมาให้กับประชาชนอินเดียก่อน
โควิดอินเดีย แม้จะมีผู้เสียชีวิตทะลุ 3 แสนราย แต่ยังพอมีสัญญาณที่ดีจากตัวเลขผู้ติดเชื้อที่เริ่มกดต่ำลง แม้จะไม่มาก ดังนั้นทางออกเดียวที่อินเดียจะเดินไป นั่นคือการทุ่มสรรพกำลังทุกอย่างในการฉีดวัคซีน ซึ่งแม้จะฉีดไปแล้ว 194 ล้านโดส มากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก แต่ประชากรอินเดียมีทั้งสิ้น 1,400 ล้านคน ดังนั้นถือว่ายังห่างไกลจาก "ภูมิคุ้มกันหมู่" และกว่าปัญหานี้จะคลี่ปม คงต้องใช้เวลาอีกแรมปี