คณะนักวิจัยของจีนใช้โดรนบันทึกภาพเคลื่อนไหวของแอนทีโลปทิเบตโดยไม่ก่อให้เกิดการรบกวนในช่วงกลางคืน บริเวณภูมิภาคเข่อเข่อซีหลี่ ที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตของจีน
การบันทึกภาพดังกล่าวดำเนินการร่วมกันโดยทีมวิจัยจากสถาบันชีววิทยาที่ราบสูงตะวันตกเฉียงเหนือ (NWIPB) สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน และกลุ่มวิศวกรจากดีเจไอ (DJI) ผู้ผลิตโดรนที่มีฐานอยู่ในนครเซินเจิ้น มณฑลกว่างตงทางตอนใต้ของจีน
นักวิจัยบันทึกภาพพฤติกรรมยามค่ำคืนของแอนทีโลปทิเบตบนที่ราบสูงเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการอพยพ โดยใช้เลนส์ซูเปอร์ซูมและเลนส์มุมกว้าง การถ่ายภาพความร้อนด้วยอินฟราเรด ตลอดจนการวัดระยะทางและค้นหาตำแหน่งด้วยเลเซอร์
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
เยอรมนีผุดตั๋ว 9 ยูโรใช้รถไฟ-บัส ไม่จำกัดเที่ยว 3 เดือนลดคาร์บอน 1.8 ล้านตัน
เปิดตัว 'Grow Green Stay' บ้านดินรักษ์โลก ตอบโจทย์การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
หลายๆ เมืองในฝรั่งเศสผุดเขตพิเศษ แบนรถก่อมลพิษสูง ห้ามเข้ามาวิ่ง!
เหลียนซินหมิง นักวิจัยจากสถาบันฯ ระบุว่าการบันทึกภาพครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ทีมวิจัยใช้โดรนติดตามและบันทึกภาพฝูงแอนทีโลปทิเบตเป็นเวลานานในช่วงกลางคืน โดยการใช้โดรนมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการวิเคราะห์ถิ่นที่อยู่ยามค่ำคืนของแอนทีโลปทิเบต และยังเป็นวิธีการวิจัยสัตว์ป่าช่วงกลางคืนแบบใหม่
ด้านหลี่หงโป๋ วิศวกรจากดีเจไอ อธิบายว่าโดรนสามารถติดตามและบันทึกภาพสัตว์ป่าโดยไม่มีข้อจำกัดด้านภูมิประเทศและขอบเขตการมองเห็น พร้อมเสริมว่าการบันทึกภาพแบบไม่สัมผัสช่วยลดการรบกวนสัตว์ป่า เพราะโดรนสามารถบินได้สูงถึง 500 เมตร
การติดตามและบันทึกภาพสัตว์ป่าด้วยโดรนมีบทบาทในการอนุรักษ์สัตว์ป่าของจีนในช่วงไม่กี่ปีมานี้ และยังถูกนำมาใช้ศึกษาเส้นทางการอพยพของช้างในมณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และการอพยพของทาคินป่าในเทือกเขาฉินหลิงอีกด้วย
Cr. www.xinhuathai.com