ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th
หลังจากที่ทางมูลนิธิฉลาดซื้อ มีการสุ่มตรวจตัวอย่างอกไก่และตับสด จาก ตลาดสด ห้างสรรพสินค้า และ ซุปเปอร์มาเก็ตในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑณ เพื่อตรวจหาการปนเปื้อนจากยาปฏิชีวนะ 3 กลุ่ม นำมาวิเคราะห์การตกค้างยาปฏิชีวนะ 3ชนิด คือ
1 กลุ่มฟลูออโรควิโนโลน ชนิด เอนโรฟลอคซาซิน ผลปรากฏว่าพบการปนเปื้อน จำนวน 5 ตัวอย่าง
2.กลุ่มเตตราไซคลิน ชนิด ด็อกซีไซคลิน ผลปรากฏว่าพบการปนเปื้อน จำนวน 21 ตัวอย่าง
3 เบต้า-แลคแทม ชนิด อะม็อกซีซิลลิน ไม่พบการปนเปื้อน
ผลปรากฏว่าพบการปนเปื้อนจากยาทั้งหมด 26 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 62 ตัวอย่าง ซึ่งถ้ารับประทานในปริมาณที่มากอาจะทำให้เกิดการดื้อยาหรือแพ้ยาได้
การตกค้างยาปฏิชีวนะ 3 ชนิด นี้หากเข้าแล้วในปริมาณที่มากจะเกิดอะไรขึ้น ?
การตกค้างของ เอนโรฟลอคซาซิน ในอาหารในประเทศไทยมีการนํายาเอนโรฟลอคซาชิน มาใช้ในการควบคุมโรคติดเชื้อ ระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัดเรื้อรังในไก่ และโรคติดเชื้อ อีโคไล ดังนั้นอาหารที่อาจพบการตกค้างของสารเอนโรฟลอคซาชิน ส่วนใหญ่เป็นอาหาร จําพวกเนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อโค เนื้อหมู เนื้อไก่
อันตราย! ของ "เอนโรฟลอคซาซิน"
ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในสัตว์ มีอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ คือ การดื้อยา แพ้ยา และอาการไม่พึ่งประสงค์ อาการที่อาจจะเกิดขึ้น เมื่อได้รับ เอนโรฟลอคซาซินปริมาณมาก
-ระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร
-มีอาการคลื่นไส้-อาเจียน
-มีอาการเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น ปวดศรีษะ กระวนกระวาย วิงเวียนกระตุก
-มีผลต่อการมองเห็น มีความไวต่อแสงผิดปกติ บางรายอาจจะทำให้เกิดต้อกระจกได้
อันตราย! ของ "ด็อกซีไซคลิน"
ใช้ในการป้องกัน และรักษาการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ และการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร เช่น อี.โคไล วัลโมเนลล่า อหิวาต์ไก่-เป็ด อาการที่อาจจะเกิดขึ้น
-จะทำให้ฟันมีสีคล้ำ สามารถพบเห็นในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่
-มีอาการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร
-มีผื่นคันบริเวณผิวหนัง
อันตราย! ของ "อะม็อกซีซิลลิน"
-อาการคลื่นไส้และอาเจียน
-ปวดท้อง ท้องร่วง ท้องเดิน
-ปวดหัว
-มีผื่นคัน ลมพิษ
-หอบหืด
นอกจากนี้ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเสนอว่า ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาต้องปรับปรุงมาตรฐานการตกค้างให้ยอมรับได้น้อยที่สุด และต้องเข้มงวดและติดตามการใช้ยาปฏิชีวนะไม่ให้ตกค้างเกินกำหนดเพราะ ส่วนมากตอนนี่ยังมีฟาร์มเลี้ยงไก่ใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อเร่งการเจริญเติบโต และ รักษาโรคของไก่ในปริมาณที่มาก ส่วนที่นำไปประกอบอาหารแล้วจะส่งผลต่อผู้บริโภคหรือไม่ ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ
ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 303) พ.ศ. 2550 เรื่อง อาหารที่มียาสัตว์ตกค้าง เพื่อใช้ควบคุมปริมาณการตกค้างของสารใดๆ ที่ถูกใช้กับสัตว์ที่ถูกเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารสำหรับมนุษย์ ตามบัญชีแนบท้ายของประกาศฉบับนี้ ได้กำหนดให้พบปริมาณการตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Limit, MRL) ของยาในกลุ่ม Tetracycline (เตตราไซคลีน) ในสัตว์ปีก เช่น นก ไก่ ไก่งวง เป็ด ห่าน ไก่ต๊อก ในส่วนของกล้ามเนื้อ ไม่เกิน 200 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม และ ในส่วนของตับไม่เกิน 600 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม