ปลานกแก้ว ตัวชี้วัดสุขภาพของแนวปะการัง รักษาสมดุลระบบนิเทศทางทะเล กินสาหร่าย เพิ่มพื้นที่ปะการังให้เติบโต ขับถ่ายเป็นทรายให้แก่ชายฝั่ง
จากกรณี ฝรั่งจับปลานกแก้ว ชาวต่างชาติที่มาเที่ยวบริเวณ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพีพี และได้ที่แชร์คลิปลงใน TikTok จนทำให้คนไทยหลายคนแสดงความไม่พอใจที่บุคคลดังกล่าว ในมือมีพวงปลานกแก้วที่จับมาได้จำนวนหนึ่งถืออยู่ โดยในแคปชั่นได้อธิบายวิธีการจับไว้ว่า ต้องดำน้ำ 30 เมตรเพื่อจับตัวนี้ ใช้วิธีการจับปลา แบบสเปียร์ฟิชชิ่ง (spearfishing) ซึ่งเป็นวิธีการตกปลา ที่ใช้ปืนลูกซองและสลิงแบบยืดหยุ่นหรือปืนสเปียร์ที่ขับเคลื่อนด้วยแก๊สอัดเพื่อโจมตีปลา
เนื่องจากเคยได้มีการรณรงค์มาตลอดในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเรื่องการขอความร่วมมือไม่ให้รับประทาน จับ หรือจำหน่าย ปลานกแก้ว ด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นปลาที่มีความสำคัญต่อระบบนิเทศทางทะเล ช่วยฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์แก่ปะการังใต้น้ำ
โดยความคืบหน้าล่าสุด อธิบดี อส. สั่งตรวจสอบคลิปต่างชาติล่าปลานกแก้ว พบว่าอยู่ในเขตอุทยานฯ ทำการรวบรวมหลักฐานเพื่อเร่งดำเนินคดีตามกฏหมายต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เช็กที่นี่ สัตว์น้ำวัยอ่อน ต้องมีขนาดเท่าไหร่ถึงบริโภคได้นะ?
10 ข้อควรปฏิบัติเมื่อไปเที่ยวทะเล ต้องทำยังไงถึงเป็นสายรักษ์โลกได้
สำนักอุทยานแห่งชาติ - National Parks of Thailand เคยได้โพตส์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปลานกแก้ว ไว้เมื่อปี 2019 ดังนี้
ปลานกแก้ว (Parrotfish) เป็นปลาทะเลขนาดกลางชนิดหนึ่ง มีเกล็ดขนาดใหญ่ จะงอยมีปากยืดหดได้ ปากคล้ายนกแก้ว (เป็นที่มาของชื่อปลานกแก้ว) เนื่องจากปลานกแก้วมีรูปร่าง ลักษณะและสีสันสวยงาม จึงมีผู้นิยมจับมาดูเล่นและนำมาเป็นอาหาร ทำให้ประชากรปลานกแก้วลดลง ส่งผลกระทบระบบนิเวศโดยรวมของทะเลบริเวณนั้นก็จะเสียสมดุลไปอย่างมาก ปะการังตายมากขึ้น ฟื้นตัวช้า และเมื่อเกิดการฟอกสีเนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้น ก็จะฟื้นตัวยากหรือตายไปอย่างถาวร
สำนักอุทยานแห่งชาติ ขอรณรงค์ทุกท่านร่วมกัน ไม่สนับสนุน ไม่ซื้อ ไม่รับประทานปลานกแก้ว หากพบเห็นการจับปลานกแก้วในเขตอุทยานแห่งชาติให้แจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการตามกฎหมายกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีประกาศ ฉบับลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ห้ามกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวน เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือทำอันตรายกับสัตว์ต่างๆ ทุกชนิดในอุทยานแห่งชาติ หากฝ่าฝืนจะมีความผิดและต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
มาตรา 16(3) นำสัตว์ออกไปหรือทำอันตรายด้วยประการใดๆ ให้เป็นอันตรายแก่สัตว์ ประกอบกับ
มาตรา 21 ให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 16 ออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ หรือ งดเว้นการกระทำใดๆ ในเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 24
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 16(3) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ส่วน 10 ข้อควรปฏิบัติเมื่อไปเที่ยวทะเล ที่ต้องรู้ มีดังนี้