"ทางหนีไฟ" นวัตกรรมอายุกว่า 200 ปี ที่หลายคนลืมและไม่ให้ความสำคัญของมัน จนนำไปสู่ความสูญเสียอันใหญ่หลวงในสังคม
ก็ต้องบอกว่า ทางหนีไฟ เป็นหนึ่งในสิ่งที่เราเห็นมาตั้งแต่เกิดไม่ว่าจะเป็นห้างฯสรรพสินค้า โรงแรม และ คอนโด โดย “ทางหนีไฟนี้ ในปี พ.ศ. 2327 ขาวอังกฤษชื่อ Daniel Maseres ได้คิดค้นเครื่องช่วยหนีไฟ โดยการใช้เชือกถ่วงกับกล่องไม้แล้วโหนตัวลงมา(สมัยนั้นตึกสูงก็ไม่เกิน 20 ชั้น) มันถูกออกแบบให้ผู้อยู่อาศัยหนีออกมาทางหน้าต่างได้อย่างรวดเร็วและไม่บาดเจ็บ
สุดท้ายในอีกเกือบร้อยปีต่อมา ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20(นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1901-2000) การบังคับใช้กฎหมายเรื่องอาคารและสถานที่ก็มีการให้ความสำคัญเรื่องทางออกฉุกเฉินยามเกิดอัคคีภัยขึ้น อาคารสมัยใหม่ต้องมีการออกแบบให้ออกยามฉุกเฉินได้
อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ในภาพยนตร์เก่า ๆ เราก็จะเห็นเป็นราวบันไดเหล็กนอกอาคาร และในยุคต่อมาก็กลายเป้นบันไดหนีไฟที่อยู่ในอาคาร และในระหว่างนั้นก็มีวิวัฒนาการสิ่งต่าง ๆ ที่สนับสนุนให้ทางหนีไฟมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ไฟป้ายทางหนีไฟที่เป็นสีเขียวเพื่อให้ง่ายต่อการมองเห็น , ระบบระบายอากาศที่ดูดควันไฟได้ดีขึ้น หรือป้ายที่บังคับให้ทุกตึกสมัยใหม่ติดว่าทางหนีไฟอยู่ตรงไหน
สำหรับประเทศไทยก็มีกฎหมายระบุชัดเลยว่าอาคารแบบไหนต้องมีทางหนีไฟอย่างไร วัสดุที่ใช้ทำกำแพงเป็นอย่างไร ต้องไม่เป็นเชื้อเพลิงอย่างไร
มีมากว่า 200 ปี ทำไมยังมีปัญหา ?
ก็ต้องบอกว่าทางหนีไฟเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทุกคนลืมเพราะเห็นมันทุกวัน อยู่กับมันมาเป็น 10 ปี ไม่เคยใช้ ซ้อมหนีไฟก็ไม่ค่อยใส่ใจเท่าไหร่ สิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้ทางหนีไฟถูกลืม และอีกหนึ่งสิ่งคือกาตรวจตราที่ไม่สม่ำเสมอ หรือไม่ทั่วถึง บางอาคารถูกสร้างเป็นรูปแบบอาคารชั่วคราว ไม่มีการขออนุญาตบ้าง ไม่มีการมาตรวจบ้าง บางเจ้ายอมโดนปรับและเปิดต่อไป จากช่องโหว่ของกฎหมาย บางเจ้าก็จ่ายใต้โต๊ะจนไม่มีใครมาตรวจ
สุดท้ายแล้วถ้าหากเราหันมาให้ความสำคัญทั้งตัวเราเอง ผู้บังคับใช้กฎหมาย และผู้ประกอบการ ทำให้ ทางหนีไฟ ไม่ถูกลืม ก็จะสามารถช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้