ฤดูฝน กับ หนังกลางแปลง ดูเหมือนขั้วตรงข้ามที่ไม่น่าเกิดขึ้นด้วยกันได้ ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่อุปสรรคสำหรับคนฉายภาพยนตร์ เพียงเครื่องฉายยังแห้ง ถ้าผู้ชมไม่กลัวเปียก ภาพยนตร์ก็ยังคงฉายให้ความบันเทิงต่อเนื่องจนจบ
ฤดูฝน อาจไม่เป็นมิตรกับการฉาย หนังกลางแปลง สักเท่าไหร่ แต่ไม่ใช่เพราะไม่สามารถฉายหนังให้คนดูได้หรอกนะ แต่คนดูต่างหากที่อาจจะหวั่นใจกับการออกมานอกบ้านปูเสื่อท่ามกลางสายฝนโปรยปราย เปียกชุ่มกันมากกว่า ทีมงานฉายหนัง แล้วเพราะอะไร หนังกลางแปลง ถึงยังกางจอ ท้าฟ้าฝนได้โดยไม่เกรงใจฤดูกาล
หลังจากหนึ่งกิจกรรมที่อยู่ในนโยบาย 12 เดือน 12 เทศกาล ของ ผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เทศกาล หนังกลางแปลง สัปดาห์แรกผ่านไป แม้วันเปิดตัวที่ลานคนเมืองจะปลอดโปร่ง โล่งสายฝน แต่วันหลังจากนั้นผู้ชมอาจต้องดูหนังเคล้าน้ำฝนกันบ้าง แต่หนังก็ไม่หยุดฉาย นั่นก็เพราะ ทางเพจ Better Bangkok มีคำตอบมาฝาก
"จอหนังกลางแปลงเป็นผ้าใบ สามารถฉายด้วยฟิล์มหรือดิจิทัลท่ามกลางฝนตกก็ได้ ตราบใดถ้าเครื่องไม่เปียก จึงไม่มีปัญหาหากฝนตก..."
โดยทางทีมงานได้จัดเตรียมเต้นท์ไว้รองรับสำหรับทุกสถานที่ที่มีการจัดฉายภาพยนตร์ ในกรณีที่มีฝนตกลงมาสามารถเข้ามาหลบฝนด้วยกัน ทั้งยังได้มีการประชาสัมพันธ์ให้เตรียมเสื้อกันฝน ร่ม และยาทากันยุง สำหรับใช้ส่วนตัว เรื่องฟ้าฝนจึงไม่เป็นปัญหาสำหรับคนฉายหนังแต่อาจจะทำให้ผู้ชมกังวลใจและมีผลกับการตัดสินใจมากกว่าแต่ก็เป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ ยิ่งถ้าใครจูงมือแฟนมานอนดูหนังด้วยกัน ก็โรแมนติกทีเดียวล่ะ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อ๊อด บัณฑิต ยัน กทม. ไม่เสียเงินสักบาท ปมดราม่าค่าจัด กรุงเทพกลางแปลง แพง
ภาพยนตร์ เวลาในขวดแก้ว หนังไทยคลาสสิก หมุดหมายสำคัญของยุคสมัยหนึ่ง
ซึ่งทางผู้จัดงานได้มีการเตรียมเสื่อปูรองนั่ง (ป้ายไวนิลหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่า) ไว้ให้จำนวนหนึ่งสามารถยืมไปใช้ตลอดการชมภาพยนตร์ แต่มีจำนวนจำกัดมาก่อนได้ก่อน
แถมประวัติโดยย่อของหนังกลางแปลง จากข้อมูลของเว็บไซต์ Silpa-Mag ไว้คร่าวๆ ดังนี้
โดยในอดีตรูปแบบที่ต้องมีเหมือนๆ กัน ของ หนังกลางแปลง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญประกอบด้วย
ทั้งนี้การฉายหนังในเทศกาล หนังกลางแปลง ใจกลางกทม. หวังว่าจะเป็นการปลุกกระแสให้กับ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ในประเทศไทย โดยเฉพาะธุรกิจหนังกลางแปลงที่ซบเซาไปในช่วงโควิด-19 ให้กลับมาคึกคักอีกครั้งผ่านภาพคนกรุงเทพฯ ที่เตรียมตัว เตรียมใจกันออกจากบ้านมาตากฝนรับชมภาพยนตร์ที่คัดสรรมาแล้วจากทางหอภาพยนตร์และสมาคมผู้กำกับฯ ซึ่งต้องการทำให้กรุงเทพฯ เปิดประตูรับกองถ่ายทำภาพยนตร์จากต่างประเทศอีกครั้ง โดยปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ที่ซ้ำซ้อนและเอื้อต่อทีมงานให้ยกกองมาใช้พื้นที่ในกทม.และประเทศไทยกันมากขึ้น