svasdssvasds

ชวนรู้จัก ลานคนเมือง สถานที่จัด กรุงเทพฯ กลางแปลง ตามนโยบาย ชัชชาติ

ชวนรู้จัก ลานคนเมือง สถานที่จัด กรุงเทพฯ กลางแปลง ตามนโยบาย ชัชชาติ

ชวนย้อนดูที่มา ลานคนเมือง สถานที่เปิดตัว เทศกาล กรุงเทพฯ กลางแปลง ในเดือนกรกฎาคม พื้นที่เปิดกว้างสำหรับชาวกทม. เข้ามาใช้บริการ ทั้งลานกีฬา ลานกิจกรรมการพักผ่อนและหนึ่งในสถานที่ชุมนุมสาธารณะ เพื่อแสดงออกทางการเมือง ที่ผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติจัดเตรียมไว้ให้กับประชาชน

สร้างความตื่นเต้นให้กับชาวกรุงเทพฯ ได้อีกครั้งกับการเปิดตัวเทศกาล กรุงเทพฯ กลางแปลง ตลอดเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบาย 12 เดือน 12 เทศกาล ของผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่จะจัดฉาย เทศกาลภาพยนตร์ กลางแปลง ทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งจะจัดในสถานที่ รวม 10 สถานที่ ตลอด 4 สุดสัปดาห์ รวมฉายหนังทังหมด 25 เรื่อง

ภาพแถลงข่าวเทศกาลภาพยนตร์ กรุงเทพฯ กลางแปลง อย่างเป็นทางการร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในวงการภาพยนตร์ไทย โลโก้เทศกาล กรุงเทพฯ กลางแปลง ที่จะจัดขึ้นตลอดเดือนกรกฏาคม ในระหว่างวันที 7-31 กรกฎาคม

ด้วยความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ในวงการภาพยนตร์ทั้ง สมาคมผู้กำกับฯ หอภาพยนตร์ฯ และธุรกิจฉายหนังกลางแปลง ในครั้งนี้ได้คัดสรรภาพยนตร์ คลาสสิก ตั้งแต่ปี 2502 จนถึงปี 2565 มาให้ชาวกทมฯ และผู้ที่สนใจรับชม กันโดยไม่มีค่าใช้จ่าย 

โดยวันที่ 7 กรกฎาคม 65 จะเป็นวันแรก ที่จะเปิดเทศกาล กรุงเทพฯ กลางแปลง จัดฉายภาพยนตร์ เรื่อง 2499 อันธพาลครองเมือง (2540) สถานที่ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เขตพระนคร 

ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เขตพระนคร 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ลานคนเมือง และ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร มีบันทึกเรื่องราวและความสำคัญทางประวัติศาสตร์สืบมาตั้งแต่สมัยก่อนรัชกาลที่ 5 ในเว็บบอร์ดของ reurnthai ภายใต้ วิชาการ.คอม แหล่งรวมภาพถ่ายประวัติศาสตร์ของประเทศไทยและแลกเปลี่ยนข้อมูลวิชาการ ได้อ้างอิงถึงประวัติที่มาของ ลานคนเมือง หน้าลาน ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร โดยหยิบยกบางส่วนของ นิราศของพระอยู่ (ฉบับพิมพ์ ร.ศ. 112 ตรงกับ พ.ศ. 2436) มีช่วงที่กล่าวถึงตลาดเสาชิงช้า (ที่เป็นที่ตั้งของลานคนเมืองปัจจุบัน) ซึ่งปรากฎตอนหนึ่งไว้ว่า

ชวนรู้จัก ลานคนเมือง สถานที่จัด กรุงเทพฯ กลางแปลง ตามนโยบาย ชัชชาติ

"แล้วคิดไปถึงเดือนยี่พิธีไสย..........   มีงานใหญ่แห่ชิงช้าเมื่อหน้าหนาว
พวกหญิงชายมาดูกันกรูกราว.........   ทั้งเจ๊กลาวแขกฝรั่งทั้งญวนมอญ
เราคิดพาพวกเหล่าเมียสาวสวย........ทั้งรูปรวยเดินหลามตามสลอน
ไปดูแห่ตามระหว่างหนทางจร..........กรรมกรตามหลังออกพรั่งพรู
เราจะออกเดินหน้าวางท่าใหญ่..........มิให้ใครลดเลี้ยวเกี้ยวแม่หนู
คอยระวังดูเหล่าพวกเจ้าชู้..............   เกี้ยวเมียกูเตะให้คว่ำขะมำดิน
พาเมียหยุดดูชิงช้าหน้าตลาด...........ใครไม่อาจเข้ามาขวางกลัวคางบิ่น
แสนสบายมิได้มีที่ราคิน..................   เลิกงานลินลาศมาบ้านเบิกบานใจ"

ในรัชกาลที่ 1 เสาชิงช้าเดิมไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณปัจจุบัน โดยย้ายมาอยู่ที่บริเวณหน้าวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ในรัชกาลที่ 5 ช่วงประมาณปี  พ.ศ. 2444 

ในบันทึกของหมอบรัดเลย์กล่าวว่า นาย ร.ศ. สกอตต์ เจ้าของห้างสกอตต์แอนด์โก ได้นำไฟแกสเข้ามาใช้ในกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. 2409 โดยตั้งโรงที่ในพระบรมมหาราชวัง 

ถึงรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2417 เกิดโรงแกสระเบิด จึงมาสร้างโรงแกสที่บริเวณเสาชิงช้า มีกำแพงทึบ 4 ด้าน ด้านหน้าตรงกับวัดสุทัศน์เป็นประตูใหญ่ ข้างในขุดเป็นสระใหญ่เลี้ยงจรเข้ให้คนเข้าไปดูได้ ต่อมามีบริษัทไฟฟ้าเกิดขึ้นจึงรื้อโรงแกสลงหมด แล้วย้ายเสาชิงช้าออกมาตั้งตรงที่ตั้งอยู่ปัจจุบันนี้ ตรงโรงแกสที่รื้อสร้างเป็นตลาด แล้วย้ายตลาดเสาชิงช้าเดิมมาตั้งที่สร้างใหม่นี้ ตามจดหมายเหตุกล่าวว่าผู้สร้างตึกชื่อ มิสเตอร์ สุวาราโต และคาดว่าตลาดเสาชิงช้าเปิดขายเมื่อปี ร.ศ. 119 (พ.ศ. 2444)

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2497-2498 ทางเทศบาลนครกรุงเทพได้รื้อตึกตลาดเสาชิงช้านี้ทั้งหมดแล้วทำเป็นลานกว้างใหญ่สำหรับเล่นกีฬา สระจรเข้ที่กล่าวถึงข้างต้นนั้นก็มีอยู่กลางลานนี้

ในพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงวันที่ 25 มีนาคม ร.ศ. 119 ถึงกรมหลวงนเรศวรฤทธิ์และเจ้าพระยาเทเวศน์วงษ์วิว้ฒน์ ความตอนหนึ่งว่า "ด้วยตลาดเสาชิงช้าตอนข้างในแล้วเสร็จพอที่จะเปิดให้เข้าไปขายของในนั้น รื้อร้านที่โสโครกเสียได้สักคราวหนึ่ง ฉันได้กำหนดว่าจะเปิดในวันที่ 18 คือเดือน 6  ขึ้นค่ำหนึ่ง เพราะเหตุว่าถ้าจะเปิดในเวลาสงกรานต์ จะเป็นการชุลมุนกับเรื่องก่อพระทราย แลกระทุ้งรากที่วัดเบญจมบพิตร แต่มีเรื่องที่จะต้องพูดกับเธอ แลกรมศุขาภิบาล 2-3 เรื่อง คือ

  1. ในตลาดนั้นอยากจะให้ติดไฟฟ้า คิดประมาณดูว่าจะต้องติดกิ่งฟากโรงตลอดฟากเดียวไม่ติดตามตึกโดยรอบริมขอบถนนนี้ด้านละ 5 ดวง ด้านสกัดด้านละ 1 ดวง รวมเป็น 12 ดวง ในตลาดเพียงสัก 3 ดวงก็พอ เพราะเหตุว่าของเหล่านั้นย่อมขายในเวลากลางวัน ติดไฟไว้พอให้สว่างในการที่จะรักษาของอันเก็บไว้ในตลาด รวมเป็นไฟข้างใน 15 ดวง ไฟที่ถนนในระหว่างตึกที่จะไปเว็จแลไปบ่อน้ำ ถ้าจะมีแต่มุมละดวงก็เกือบจะพอดอกกระมัง ถ้าเช่นนั้นก็จะเป็นไฟเพียง 19 ดวง ๆ หนึ่ง 20 แรงเทียน ถ้ากรมศุขาภิบาลจะให้ได้จะเป็นที่ยินดีมาก หรือจะเกี่ยงอยู่ว่าในตลาดไม่ใช่เป็นท้องถนน จะให้เจ้าของตลาดใช้ค่าไฟฟ้า ๓ ดวงข้างในนั้นก็ได้ การที่จะติดเหล่านี้ถ้าเธอมีความสงสัยให้หารือเจ้าหมื่นเสมอใจ แต่ถ้าติดไฟให้ได้จุดทันวันกำหนดเปิดตลาดจึงจะเป็นการดี
  2. ที่เสาชิงช้าซึ่งจะยกพื้นขึ้นรอบแลจะปักเสาโคนสี่มุมนั้น ถ้าสำเร็จได้ด้วยในเวลานั้นจะเป็นการงดงามมาก
  3. เมื่อตลาดได้ย้ายไปในที่ใหม่แล้ว ตลาดเก่านั้นจะได้ให้รื้อทันที เมื่อรื้อลงแล้วขอให้กรมศุขาภิบาลได้ทำพื้นที่นั้นให้สิ้นความโสโครก ให้เป็นลานใหญ่สำหรับรถเดินไปมาได้โดยสดวกโดยเร็วด้วย"

นับแต่นั้น ลานคนเมือง ก็เปิดเป็นพื้นที่สำหรับให้ประชาชนได้เข้ามาใช้บริการ เล่นกีฬา พักผ่อนยามเย็นชมพระอาทิตย์ตกดิน คู่กับ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร นับตั้งแต่ วางศิลาฤกษ์อาคาร ศาลาเทศบาลนครกรุงเทพ (ศาลาว่ากากรุงเทพมหานครเสาชิงช้า ปัจจุบัน) เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2499 ในสมัยนายกรัฐมนตรีฯพณฯ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม

จนเทศบาลนครกรุงเทพได้รวมกับเทศบาลนครธนบุรีเป็น “เทศบาลนครหลวง” และประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 335 จัดรูปการบริหารนครหลวงเป็น “กรุงเทพมหานคร” ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2515 และกลายเป็น“ศาลาว่าการกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน” ก็ได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์บัญชาการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ประชาชนชาวกรุงเทพฯตลอดมา

ที่มา
1 2

related