svasdssvasds

นักดับเพลิง อาชีพที่ใช้ร่างกายเสี่ยงอันตราย รักษาชีวิต-ทรัพย์สิน ปชช.

นักดับเพลิง อาชีพที่ใช้ร่างกายเสี่ยงอันตราย รักษาชีวิต-ทรัพย์สิน ปชช.

นักดับเพลิง อาชีพที่พุ่งชนกับอันตราย จากไฟไหม้ ควันไฟ ฝุ่นและสารเคมี ช่วยเหลือผู้เดือดร้อน แต่กลับกัดกร่อนสุภาพร่างกายและจิตใจ หากไม่เตรียมความพร้อมด้านร่างกายและสิ่งสนับสนุนที่ส่งเสริมในการปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาชีวิตปชช.-ตัวเองให้ปลอดภัย

จากเหตุการณ์ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2565 เวลาประมาณ 11.30 น. ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ห้างร้าน บ้านเรือนประชาชน "ย่านสำเพ็ง" ใกล้เคียงท่าน้ำราชวงศ์ ถนนราชวงศ์ แขวงจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธ์วงศ์ กรุงเทพฯ ภายหลังเหตุ ไฟไหม้ เพลิงไหม้สงบเจ้าหน้าที่กู้ภัย เจ้าหน้าที่ นักดับเพลิง พร้อมอาสาสมัคร เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ เพลิงไหม้ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และได้รับบาดเจ็บ 9 ราย โดย 6 รายเป็นเจ้าหน้าที่กู้ภัย ของมูลนิธิฮั่วเคี้ยวปอเต็กเซี่ยงตึ๊ง (ปอเต็กตึ๊ง)

โดยตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบที่มาและสาเหตุของ ไฟไหม้ เพลิงไหม้ ดังกล่าว เบื้องต้นคาดว่าอาจมาจากหม้อแปลงระเบิดจึงเร่งให้ การไฟฟ้านครหลวง เข้ามาตรวจพิสูจน์ 

แต่อย่างไรก็ตาม จะเป็นได้ว่า อาชีพ นักดับเพลิง หรือ อาสาเจ้าหน้าที่กู้ภัย ที่เป็นกำลังด่านหน้าในการเข้าปะทะกับเปลวไฟ ที่นอกจากสามารถแผดเผาร่างกาย ยังส่งผลต่อระบบต่างๆ ภายในร่างกาย ที่มีอันตรายทั้งเฉียบพลันและเรื้อรังระยะยาวตลอดชีวิต 

จาก วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 ในหัวข้อเรื่อง บทบาทของพยาบาลสาธารณสุขในการป้องกันปัญหาสุขภาพ จากการสัมผัสสิ่งคุกคามทางสุขภาพด้านเคมีของพนักงานดับเพลิง เปิดเผยข้อมูลที่ทุกภาคส่วน ทั้งผู้ประกอบอาชีพนักดับเพลิง นายจ้างและ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เองต้องทำงานร่วมกัน เพื่อยืนระยะสุขภาพและปกป้องให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ นักดับเพลิง มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ทั้งกายและใจ เพื่อทำงานรับใช้สังคมได้อย่างปกติสุขและสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ปลอดภัย 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


นักดับเพลิง ได้ชื่อว่าเป็น 1 ใน 10 อาชีพที่เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพมากที่สุด ในปี 2016 จากข้อมูลของ CareerCast.com เพราะต้องเผชิญกับไฟ มลพิษสารเคมี รวมถึงผลกระทบด้านจิตสังคม 

ข้อมูลจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (Intercational Labour Organization) ระบุว่า นักดับเพลิง กว่าร้อยละ 80 เคยได้รับบาดเจ็บจากผลกระทบของสารเคมี และมากกว่าร้อยละ 50 ที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่เพราะสูดดมควันและสารเคมี ในปริมาณที่มากจนเป็นอันตรายต่อชีวิต 

 

โดยสารเคมีที่นักดับเพลิงต้องพบเจอในการทำงานที่สำคัญและเป็นอันตราย ประกอบด้วย 
ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซต์ 

  • ในระยะเฉียบพลัน ทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง ดวงตา และทางเดินหายใจ ถ้าได้รับในปริมาณมาก ทำให้หายใจบาก หัวใจเต้นผิดจังหวะ ระบบหายใจล้มเหลว หน้ามือ หมดสติ และเสียชีวิตได้ 
  • ในระยะยาวเรื้อรัง ระบบทางเดินหายใจเสื่อมสภาพ

ไฮโดรเจนไซยาไนต์

  • เกิดจากการไหม้ของวัสดุที่มีไนโตรเจน หรือเส้นใยธรรมชาติ เช่น ขนสัตว์ ผ้าไหม เส้นใยสังเคราะห์ ในระยะเฉียบพลัน ทำให้เกิดผืน คลื่นไส้ อาเจียน หน้าแดง ปวดหัว หากได้รับในปริมาณมากจะขัดขวางไม่ให้ร่างกายใช้ออกซิเจน หมดสติและเสียชีวิตได้ในเวลาไม่กี่วินาที
  • ในระยะยาวเรื้อรัง ทำให้แขนขาอ่อนแรง ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ

ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ อยู่ในควันไฟ 

  • ในระยะเฉียบพลัน เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ ถ้าได้รับในปริมาณมาก เกิดภาวะน้ำท่วมปอด ขาดออกซิเจนและเสียชีวิต 
  • ในระยะยาวส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน 

ก๊าซซัลเฟอร์ไอออกไซต์

  • มีอยู่ในเหตุที่มีเชื้อเพลิงกำมะถัน เช่น น้ำมันเตา ถ่านหิน ในระยะเฉียบพลัน ระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง ดวงตา ถ้าสัมผัสในปริมาณเข้มข้น ทำให้ผิวหนังกร่อนได้ 
  • ในระยะยาวเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ โรคหอบหืด 

ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ 

  • ในระยะเฉียบพลัน มีแผลไหม้ในหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร เกิดแผลไหม้ที่ผิวหนัง ต้อในตา ไอ 
  • ในระยะยาวเรื้อรัง ส่งผลต่อการทำงานของปอดและกัดกร่อนฟัน

ฝุ่นละอองและเขม่าควัน

  • เมื่อมีเหตุการเพลิงไหม้จะเกิดการเผาเป็นฝุ่นขนาดเล็ก ขนาดประมาณ 2.5-10 ไมครอน (PM 2.5-10) เข้าสู่หลอดลมย่อยและถุงลมปอด รวมถึงกระแสเลือด ทำให้เกิดโรคเรื้อรังตามมาได้อีกมาก 

ทั้งนี้จึงเป็นหน้าที่ของ 3 ภาคส่วน ทั้งนักดับเพลิง นายจ้าง และสาธารณสุข ที่ควรช่วยกันดูแลและสนับสนุนสุภาพให้แก่พนักงานดับเพลิง ซึ่งสิ่งที่ต้องเน้นย้ำและปฏิบัติอยู่สม่ำเสมอ มีอยู่ด้วยกันดังนี้

สำหรับนักดับเพลิงและนายจ้าง

  • อบรมหลักสูตรการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขั้นพื้นฐานทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ และต้องให้ความสำคัญกับข้อมูลผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากการทำงาน ให้ตระหนักรู้ร่วมกัน 
  • การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนตัวที่เหมาะกับสถานการณ์ 
  • การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง พร้อมปฏิบัติหน้าที่เมื่อเกิดเหตุ ไฟไหม้
  • การบันทึกข้อมูลหน้างาน สิ่งแวดล้อม สารเคมีที่อยู่ในที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ (ซึ่งต้องมีเจ้าหน้าที่เฉพาะทางที่ไทยยังไม่มีประจำสถานี)
  • การเก็บรวบรวมข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคล ตรวจสุขภาพประจำปี การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ เพื่อประเมินความพร้อมอย่างสม่ำเสมอ

สำหรับพยาบาลสาธารณสุข

  • การให้ความรู้ด้านสุขภาพและการป้องกันอันตรายจากสารเคมีแก่นักดับเพลิง
  • การให้คำปรึกษาด้านร่างกายและจิตใจ
  • การให้ความสำคัญของการใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งปอดของเจ้าหน้าที่ที่ใส่อุปกรณ์สม่ำเสมอได้รับอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจน้อยกว่า

โดยอุปกรณ์ที่ต้องใช้สำหรับการดับเพลิงในอาคาร ประกอบด้วย 

  1. เสื้อคลุมดับเพลิง (ผ้าหนา 3 ชั้น น้ำหนักเบา ป้องกันสูง) 
  2. กางเกงดับเพลิง (ผ้าหนา 3 ชั้น ที่หัวเข่าเพิ่มความแข็งแรง )
  3. หมวกดับเพลิง (ทนไฟ น้ำหนักไม่เกิน 1.5 กก. ด้านในมีโฟมกันกระแทก)
  4. ผ้าคลุมศรีษะ (ทำด้วยเส้นใย NOMEX 100% ทนความร้อน น้ำหนักเบา)
  5. ถุงมือดับเพลิง (แยก 5 นิ้ว ทนไฟ น้ำร้อน สารเคมี ไม่อมน้ำเวลาแห้งไม่แข็งตัว ทนต่อการบาด)
  6. รองเท้าดับเพลิง (กันน้ำ ระบายอากาศดี กันไฟฟ้าสถิต หัวเหล็กป้องกันของกระแทก พื้นโลหะ)

ตัวอย่างชุดที่นักดับเพลิงใช้ปฏิบัติหน้าที่ ภาพจาก freepik

โดยทั้งหมดต้องได้รับหนึ่งในมาตรฐานจาก FM, NFPA, CE, EN
สามารตรวจสอบรายละเอียดชุดสำหรับนักดับเพลิงใช้ปฏิบัติหน้าที่เพิ่มเติมได้ ที่นี่

การดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจของ นักดับเพลิง นอกจากทำให้การปฏิบัติหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพ แล้วยังเป็นการให้ความสำคัญกับอาชีพที่ทำประโยชน์เพื่อประชาชน โดยการเอาร่างกายเข้าเสี่ยงอันตราย เพื่อช่วยเหลือเป็นประโยชน์สาธารณะ ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ ที่มาพร้อมกับความรับผิดชอบต่อตัวเอง และความรับผิดชอบที่รัฐต้องให้ความสำคัญ จัดหา เตรียมพร้อม รวมถึงจริงจังในการสร้างบุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรม ซึ่งมีผู้ให้คำแนะนำว่าควรผลักดันให้เกิดเป็นวิชาชีพ ที่ต้องมีการสอบใบประกาศนียบัตร รับรองก่อนปฏิบัติหน้าที่จริง เพื่อสร้างมาตรฐานและความมั่นใจให้กับคนในสังคม รวมถึงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบอาชีพนักดับเพลิงกันเอง 

ที่มา
1 2

related