World Giraffe Day ตรงกับวันที่ 21 มิ.ย.ของทุกปี Springnews ชวนทำความรู้จักความสำคัญของยีราฟ สัตว์คอยาวที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน พร้อมเสริม Fun Facts สนุก ๆ ให้อ่านเล่น ๆ
ยีราฟ มหัศจรรย์สัตว์บกคอยาวที่สูงที่สุดในโลก สัตว์ในดวงใจของใครหลาย ๆ คน สร้างความหลากหลายให้กับสปีชีส์บนโลก เนื่องในวันที่ 21 มิถุนายน ของทุกปีเป็น 'วันยีราฟโลก' (World Giraffe Day) Springnews จึงชวนมาส่องดูความสำคัญของเจ้ายีราฟและเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับมันกัน
ประวัติของวันยีราฟโลก
วันยีราฟโลก ตรงกับวันที่ 21 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันที่ถูกก่อตั้งโดยมูลนิธิอนุรักษ์ยีราฟ (G.C.F.) เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองให้กับสัตว์ที่สูงที่สุดในโลก อีกทั้งวันยีราฟโลกยังเกิดขึ้นระหว่างวันครีษมายันโลกในซีกโลกเหนือและเหมายันในซีกโลกใต้อีกด้วย
นอกจากวันยีราฟที่จัดขึ้นเพื่อระดมทุนเพื่อการอนุรักษ์ประชากรยีราฟป่าทั่วโลก ยังมีขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความเสี่ยงของพวกมันที่อาจเสี่ยงสูญพันธุ์จากปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่มาจากมนุษย์
ประวัติศาสตร์ยีราฟในอดีต
ประวัติศาสตร์ของยีราฟ หากย้อนไปเราค้นพบการมีอยู่ของยีราฟผ่านบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดที่มีอายุย้อนไปถึงภาพวาดในสุสานอียิปต์โบราณ ชาวอียิปต์โบราณให้คุณค่ากับขนหางยีราฟ เพื่อนำไปทอเข็มขัดและเครื่องประดับ หลายปีที่ผ่านมา
ยีราฟเริ่มปรากฏหลักฐานมากขึ้นในงานเขียนของนักเดินทางทั่วโลก ตั้งแต่กรีซไปจนถึงจีนแผ่นดินใหญ่ ยีราฟได้รับการปฏิบัติเหมือนสัตว์เลี้ยงของราชวงศ์ ซึ่งจะบ่งบอกสถานะของเจ้าของ และหลายครั้งยีราฟก็ถูกล่าหนักเช่นกัน บ่อยครั้งมันถูกล่าด้วยจุดประสงค์ด้านแฟชันหรือทางการแพทย์
Giraffe Timeline
การล่าสัตว์และการค้ายีราฟ ทำให้ประชากรยีราฟทั่วโลกลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงศตวรรษที่ 19 และศตวรรษที่ 20 ปัจจุบันมียีราฟหลายสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน สกุลก็แบ่งออกเป็นยีราฟเหนือ ยีราฟใต้ ยีราฟมาไซ และยีราฟตาข่าย การลดลงอย่างต่อเนื่องนี้ ทำให้สหภาพนานาชาติได้ประกาศขึ้นสถานะบัญชีแดงให้กับยีราฟ จาก 'กังวลน้อยสุด' ไปเป็น 'เสี่ยง' ในปี 2016
ปัจจัยที่ทำให้ยีราฟเสี่ยงสูญพันธุ์
สาเหตุหลักของการลดลงของประชากรยีราฟมีตั้งแต่การทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ ไปจนถึงการลักลอบล่าสัตว์เพื่อยาแผนโบราณ โดยนำเนื้อ ผิวหนัง และหางของมันไปอย่างผิดกฎหมาย โดยเฉพาะยีราฟเผือกที่หายาก ก็เป็นที่ยิ่งถูกจับจ้องในการล่ามากขึ้นเท่านั้น และยีราฟเผือก 2 ตัวสุดท้ายบนโลกก็จากไปด้วยการล่าเมื่อไม่ 2 ปีที่ผ่านมา
ราคาของยีราฟเป็นสัตว์ที่มีราคาแพงอย่างไม่น่าเชื่อ หากคุณซื้อยีราฟสาวที่แข็งแรง เธออาจมีราคาสูงถึง 60,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 2 ล้านกว่าบาท และอาจราคาสูงมากกว่านั้น
ทุกวันนี้ มูลนิธิอนุรักษ์ยีราฟได้ทำงานกันอย่างหนักเพื่ออนุรักษ์ประชากรยีราฟและต้องทำให้แน่ใจว่าความหลากหลายทางชีวภาพของโลกจะไม่ลดน้อยลงไปมากกว่านี้อีกแล้ว
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
วันนอนหลับโลก 17 มี.ค. ชวนส่องชีวิตสัตว์โลก พวกมันนอนกี่ชั่วโมงกันนะ?
สถานการณ์ช้างไทย ช้างเอเชียปี 2022 พี่ใหญ่แห่งพงไพร ใครเล่าจะเก๋าเท่าพี่
สำรวจสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ 10 สายพันธุ์แห่งปี 2021 ที่ต้องเร่งอนุรักษ์แล้ว!
สปีชีส์เสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ ทำไมสัตว์ใกล้สูญพันธุ์จึงมีความสำคัญ?
เกร็ดเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับยีราฟ
อย่างที่เราทราบกันดีว่ายีราฟเป็นสัตว์บกเลี้ยงลูกด้วยนมที่สูงที่สุดในโลก โดยเฉพาะคอของยีราฟเป็นคอที่ยาวที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งหมด แต่เชื่อหรือไม่ว่ากระดูกขอของยีราฟมีเพียง 7 ชิ้นเท่านั้น เช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ
ตัวผู้ส่วนใหญ่มีความสูง 408 – 5.5 เมตร และมีน้ำหนักมากถึง 900 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียมีขนาดและสูงน้อยกว่าเล็กน้อย ยีราฟสามารถตั้งท้องได้นาน 420-461 วัน และยีราฟมีอายุขัย 20-30 ปี
เนื่องจากคอที่สูงมาก จำเป็นที่จะต้องมีหัวใจขนาดใหญ่เพื่อรองรับการหมุนสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองมากกว่ามนุษย์ถึง 3 เท่า ซึ่งหัวใจกับสมองอยู่ห่างกันประมาณ 8 ฟุตเลยทีเดียว จึงทำให้หัวใจของยีราฟมีน้ำหนักมากถึง 10 กิโลกรัม
ถึงจะสูงยาวดูเหมือนจะใช้เวลานอนเยอะเพราะต้องใช้พลังงานมาก แต่ไม่เลย ยีราฟนอน เอ่อ อย่าเรียกว่านอนเลย เรียกว่างีบดีกว่า ยีราฟจะใช้เวลางีบประมาณ 30 นาที มากสุด 2 ชั่วโมงต่อวัน การนอนราบทำให้พวกมันเสี่ยงต่อผู้ล่า ดังนั้นพวกมันจึงยืนและเอาหัวลงไปบนก้นแทน
#ยีราฟ นอนยังไง
— Next Step (@samrujlok) January 31, 2020
ปกติมักเห็นยีราฟยืนอยู่ตลอดเวลา โดยยีราฟได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสัตว์ที่นอนหลับพักผ่อนน้อยที่สุด เฉลี่ยนอนเต็มที่เพียงวันละ 4.6 ชั่วโมง และส่วนใหญ่จะงีบหลับขณะที่ยืนอยู่เป็นเวลาสั้น ๆ เนื่องจากคอที่ยาวทำให้การนอนเป็นไปยาก แต่มันก็สามารถพับคอนอนบนพื้นเหมือนสัตว์อื่น pic.twitter.com/zGWKv9CDTJ
ยีราฟเป็นสัตว์กินพืช กินได้ทั้งหญ้าที่อยู่ตามพื้นราบไปจนถึงไม้พุ่มสูง หรือใบใบนต้นไม้ได้สบาย และพืชโปรดของพวกมันคือประเภทอาเคเซีย (กระถินณรงค์) มีหนามแหลม รสฝาด และมีพิษ แต่พวกมันก็กินได้ไม่มีปัญหา ลิ้นยีราฟมีความยาวถึง 45-47 เซนติเมตร และหนาสากมาก พวกมันจึงตวัดลิ้นกินพืชมีหนามและมีพิษระดับหนึ่งได้อย่างสบายอกสบายใจ
ปกติเราไปสวนสัตว์จะเห็นยีราฟเดินช้า ๆ เราจะได้เห็นมันวิ่งเร็ว ก็ต่อเมื่อมันถูกรบกวนหรือคุกคาม เมื่อยีราฟสัมผัสได้ถึงอันตราย มันสามารถวิ่งได้เร็วด้วยขายาว ๆ ของมัน โดยสามารถวิ่งได้เร็วถึง 50 กม./ชม. โดยคอของมันโยกเป็นจังหวะเพื่อดึงน้ำหนักไปข้างหน้า
สัตว์นักล่าส่วนใหญ่ของมันคือ สิงโต แต่เชื่อหรือไม่ว่า ขาหน้าของยีราฟนั้นแข็งแกร่งมาก ซึ่งบางครั้งพวกมันใช้ป้องกันตัว และการเตะเพียงครั้งเดียวของมันสามารถฆ่าสิงโตได้ทันที!
คอทีสูงของมัน ไม่ได้ทำให้กระดูกนั้นงอได้มากเหนือไดโนเสาร์คอยาวจำพวกซอโรพอด มันต้องระวังตัวจากนักล่าที่ชอบโจมตีระหว่างดื่มน้ำด้วย พวกมันจึงใช้การกางขาออกและก้มลงดื่มแทน เพราะถ้าหากพับขาไปยากต่อการลุกหนีนักล่านั่นเอง
ลูกยีราฟเกิดมาก็สูง 1.8 เมตร ซึ่งสูงกว่าคนทั่วไป พวกมันเติบโตได้วันละ 1 นิ้ว และสูงเกือบ 2 เท่าหลังจากเกิดถายใน 1 ปี และแน่นอนว่า เมื่อคลอดออกมา ยีราฟจะใช้เวลาเพียงครึ่งชั่วโมงเท่านั้นในการลุกขึ้นยืน และหลังจากนั้นจะสามารถวิ่งได้ปร๋อหลังผ่านไปเพียง 10 ชั่วโมงเท่านั้น
เขาที่อยู่บนหัวของพวกมันมีอยู่ทั้งในตัวเมียและตัวผู้ ไม่มีการผลัดเขา เขาที่มีขนปกคลุมอยู่จะบ่งบอกถึงความแตกต่างทางเพศ เขาตัวผู้ จะมีลักษณะตัดราบเรียบ มีความใหญ่และอวบกว่า ในขณะที่ตัวเมีจะมีจนสีดำปกคลุมเป็นพุ่ม ๆ ชัดเจน
แม้ว่าปัจจุบันเราจะยังสามารถพบเจอยีราฟได้ทั่วไปจากการไปเที่ยวสวนสัตว์หรือซาฟารีแบบเปิดในต่างประเทศ แต่นอกเหนือจากขอบเขตการคุ้มครองเหล่านี้ ยีราฟหลายพันตัวกำลังถูกคุกคามอย่างหนักจากการล่า เพื่อนำอวัยวะต่าง ๆ ไปขายในตลาดมืด
การจะโค่นยีราฟลงนั้นไม่ง่าย ด้วยขนาดตัวที่ใหญ่และสูง แต่แม้ว่าขนาดพวกมันจะใหญ่ ก็ไม่สามารถหลีกหนีการล่าจากมนุษย์ได้
เพื่อช่วยเหลือพวกมันคุณผู้อ่านสามารถส่งต่อข้อมูลนี้ออกไปเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของยีราฟได้ หรือจะบริจาคเงินให้กับมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือและอนุรักษ์ยีราฟโดยตรงได้ที่ >>> https://giraffeconservation.org/world-giraffe-day/ หรือจะซื้อของที่ระลึกจากองค์กรดังกล่าวก็ได้เช่นเดียวกัน
*ขอบคุณที่รักยีราฟ สุขสันต์วันยีราฟโลก!
ที่มาข้อมูล
https://giraffeconservation.org/world-giraffe-day/
https://th.wikipedia.org/wiki/
https://www.earthreminder.com/world-giraffe-day/
https://www.funkidslive.com/learn/top-10-facts/top-10-giraffe-facts/
https://wwf.panda.org/discover/knowledge_hub/endangered_species/giraffe_intro/