svasdssvasds

ซอสศรีราชา ในอเมริกา ตราไก่ มีชื่อ ศรีราชา แต่เจ้าเป็นของเป็นคนเวียดนาม

ซอสศรีราชา ในอเมริกา ตราไก่ มีชื่อ ศรีราชา แต่เจ้าเป็นของเป็นคนเวียดนาม

ซอสศรีราชา ซอสที่โด่งดังไปทั่วโลก ซอสอร่อย ๆ จาก อำเภอหนึ่งในประเทศไทย กลายเป็นชื่อที่พูดกับฝรั่งคนไหน ก็ต้องรู้จักซอสนี้ แต่จริง ๆ แล้ว ซอสศรีราชาที่ฝรั่งกินที่บ้านของเขานั้นไม่ได้เป็นของคนไทยแต่อย่างใด

ก่อนเราจะไปดูว่า ซอสศรีราชา ที่ชื่อออกจะไทยสุด ๆ ทำไมไม่ใช่ของคนไทย ให้เราทำความเข้าใจก่อนว่า ซอสศรีราชาที่ฝรั่งรู้จัก ไม่ได้ยี่ห้อ “ศรีราชาพานิช” แต่เป็นซอสศรีราชาที่มีโลโก้เป็นไก่ และเขียนว่า Tương Ớt Sriracha (แปลว่า ซอสศรีราชา)

  • ซอสศรีราชาที่ฝรั่งรู้จักไม่ใช่ซอสศรีราชาของไทย

ซอสศรีราชา ในอเมริกา ตราไก่ มีชื่อ ศรีราชา แต่เจ้าเป็นของเป็นคนเวียดนาม

ซึ่งซอสศรีราชาที่ฝรั่งคุ้นชินเป็นของบริษัทหูยฟงฟูดส์ (Huy Fong Foods) ก่อตั้งโดยผู้อพยพชาวเวียดนามเชื้อสายจีน ชื่อ David Tran ในปี พ.ศ.2523 ซึ่งปัจจุบันโรงงานตั้งอยู่ที่รัฐแคลิฟอเนีย สหรัฐอเมริกา

David Tran อพยพจากเวียดนามเพราะสงครามเวียดนาม มาอยู่ที่สหรัฐฯ โดยในช่วงแรกซอสของเขาโด่งดังจากการบอกปากต่อปาก จนกระทั่งเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 นิตยสาร Bon Appétit คัดเลือกให้ซอสศรีราชา เป็นซอสแห่งปีสหรับปี 2553 โดยในปี 2555 บริษัทสามารถขายซอสได้ถึง 20 ล้านขวดตลอดช่วงเวลาที่ประกอบกิจการมา

อ่านเรื่องราวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

David Tran เล่าว่า เขาได้แรงบัลดาลใจมาจากซอสศรีราชาของไทย แต่เขาอยากทำซอสที่เผ็ดร้อนกว่าให้ชาวเวียดนามในสหรัฐฯ กิน เขารู้ว่าซอสศรีราชาที่เขาทำ ไม่ใช้ซอสศรีราชาแบบในไทย แต่เขาก็บอกว่า นี่แหละคือซอสศรีราชาในสไตล์ของเขา

ความนิยมที่มากขึ้น ทำให้ David Tran ต้องการจดลิขสิทธิ์ชื่อศรีราชาในสหรัฐฯ แต่เนื่องจากว่า ศรีราชา เป็นชื่อสถานที่ในชีวิตจริง เขาจึงจดลิขสิทธ์ไม่ได้ และทำให้ผู้ผลิตซอสรายใหญ่อย่าง Heinz ผลิตซอสศรีราชาออกมาได้

โดยเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา(มิ.ย. 65) บริษัทประสบปัญหาในการผลิตซอสออกมาจำหน่าย เพราะขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต เนื่องจากสภาพอากาศส่งผลต่อการผลิตพริกขี้หนูทำให้ไม่สามารถผลิตซอสสีแดงเพลิงนี้ได้ นอกจากนี้ไม่ได้ขาดแคลนเพียงแค่พริก แต่ยังขาดแคลนไปถึงกระเทียมและเครื่องปรุงแซมบาลโอเล็ก (sambal oelek-น้ำพริกอินโดนีเซีย) ด้วย

ซอสศรีราชาไทย ไม่ได้ก็อปใคร

ทีนี้ย้อนกลับมาที่ไทย ซอสศรีราชา ของเรา ก็ไม่ได้ไปขโมยสูตร หรือลอกเลียนแบบแต่อย่างใด เพราะซอสศรีราชาของเรา เกิดก่อน โดยเริ่มมีการบันทึกไว้ช่วงปี พ.ศ. 2480 โดย กิมซัว ทิมกระจ่าง คนไทยเชื้อสายจีน พยายามคิดค้นซอสที่มีรสชาติ เปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด ในขวดเดียว และเมื่อคิดค้นได้ จึงตั้งชื่อว่า “น้ำพริกศรีราชา” จนกระทั่งมีการตั้งโรงงานในซอยแหลมฟาน ศรีราชา ในปี พ.ศ.2505 ใช้ชื่อว่า “ศรีราชาพานิช” ไว้เพื่อผลิตซอสพริกโดยเฉพาะ

จากนั้นในปี พ.ศ.2527 บริษัท ไทยเทพรส ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายซอสปรุงรส ตราภูเขาทอง ได้เข้าซื้อกิจการของ “ซอสพริกศรีราชา” และกลายมาเป็นผู้จัดจำหน่ายอย่างเต็มตัว นับตั้งแต่นั้น

ขณะเดียวกันเมื่อปี พ.ศ. 2562 ซอสพริศรีราชา ตราไก่ ของบริษัทหูยฟงฟูดส์ มีการนำเข้ามาขายในประเทศจนเกิดดราม่าว่า ทำไมซอสศรีราชา ถึงจดลิขสิทธิ์ชื่อไม่ได้ ?

โดยเมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2562 ข้อความจากเฟซบุ๊กแฟนเพจ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ชี้แจงดราม่า เจ้าของซอสศรีราชา สวนไม่จดลิขสิทธิ์ บอกยื่นมา 7 ปี ซัดพาณิชย์ – รัฐบาล ระบุให้เกิดความเข้าใจตรงกันว่า "ตามที่มีคลิปเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับซอสพริกศรีราชาของไทยและที่นำเข้ามาจากต่างประเทศจนทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับการใช้ชื่อศรีราชานั้น คำว่า “ศรีราชา”เป็นชื่ออำเภอในจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ตามกฎหมายเครื่องหมายการค้าของไทยและต่างประเทศไม่สามารถรับจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าและถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียว

“แต่ผู้ประกอบการสามารถใช้คำดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าได้ เช่น มีภาพ ชื่อหรือข้อความประกอบกับคำว่าศรีราชา ซึ่งในประเทศไทยเอง มีผู้ประกอบการไทยนำคำว่า“ศรีราชา” ไปใช้กับซอสพริกที่ตนผลิตหลากหลายยี่ห้อและขายในราคาที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับในสหรัฐอเมริกาและในประเทศอื่นๆ”

ดังนั้นซอสศรีราชาของไทย กับซอสศรีราชาที่อเมริกา จึงเป็นซอสคนละตัวกัน คนละสูตร แม้ว่าจะชื่อเหมือนกันก็ตาม