ปัจจุบันการทำธุรกรรมทางการเงินบนโลกดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการทำธุรกรรมผ่านมือหรือโมบายแบงกิ้งที่เพิ่มขึ้น จึงเป็นที่มาของเทคโนโลยีการเงินใหม่ๆ ที่มาช่วยอำนวยความสะดวก และช่วยให้เราเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
ธนา โพธิกำจร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด ผู้ให้บริการ Social Banking รายแรกในเมืองไทย"LINE BK" เปิดเผยว่า การทำธุรกรรมทางการเงินบนโลกดิจิทัลเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้โมบายแบงกิ้งที่เพิ่มขึ้นสูงมากโดยสิ้นปี 2564 มีจำนวนผู้ใช้บริการกว่า 70 ล้านบัญชี ดังนั้น เทคโนโลยีทางการเงินจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่เพียงจะทำให้การใช้ชีวิตทางการเงินง่ายขึ้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญที่เอื้อให้ผู้คนเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้นช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ และมีผลต่อการการเติบโตของเศรษฐกิจ
3 เทคโนโลยีการเงิน ที่เพิ่มความสะดวก และเข้าถึงบริการทางการเงิน
1. FINTEGRATION (Finance + Integration) การเชื่อมโยงการเงินเข้ากับเทคโนโลยี ภาคการเงินได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันที่ดุเดือดในอดีต ก้าวสู่การ Featuring หรือการร่วมมือกันมากขึ้น โดยปัจจุบันมีบริการทางการเงินจำนวนมาก เช่น การชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด และการให้บริการทางการเงินอื่น ๆ ซึ่งเบื้องหลังเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นมาจากการทำงานของสตาร์ทอัพ หรือแพลตฟอร์มร่วมกับธนาคาร มีการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วย โดย "LINE BK" ภายใต้การร่วมมือของธนาคารกสิกรไทย และแพลตฟอร์มอย่าง LINE เองนั้นก็ถือเป็นการ Featuring แบบหนึ่ง
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
วงการพลังงานเดินหน้าผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน มุ่งสู่ Carbon Neutral
No Digital, No Green สีเขียวเกี่ยวอะไรกับดิจิทัล? โดย อาเบล เติ้ง CEO หัวเว่ย
Thailand Crypto Expo 2022 อีเวนต์ที่คนสนใจคริปโตควรรู้ก่อนบุกไป
2. FINCOSYSTEMS (Finance + Ecosystems) ระบบนิเวศที่มาเชื่อมต่อกับโลกการเงิน วันนี้สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการไม่ใช่สถาบันการเงิน แต่เป็นบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์และอยู่เบื้องหลังการใช้ชีวิต ผู้ให้บริการจะเป็นฝ่ายนำบริการทางการเงินไปเสนอแก่ลูกค้า อาทิ การนำบริการทางการเงินเข้ามาให้บริการผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ หรือฟู้ดเดลิเวอรี่มากขึ้น เช่นเดียวกับ LINE BK ที่นำการเงินมาอยู่บนโลกโซเชียล ในแอปพลิเคชันแชท LINE เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้สะดวก และมีความใกล้ชิดกับไลฟ์สไตล์ลูกค้ามากขึ้น
3. FINCLUSIVITY (Finance + Inclusivity) การเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างเท่าเทียม ไม่เหลื่อมล้ำ จากสถิติการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชากรไทย พบว่ามีเพียง 18% ที่ยังไม่มีบัญชีธนาคาร แต่บริการทางการเงิน ไม่ใช่แค่การเปิดบัญชีธนาคารเท่านั้น ยังมีบริการอื่นอีกมากมาย เช่น สินเชื่อ การลงทุน และประกัน เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคที่ยังเข้าไม่ถึงบริการดังกล่าว มีอีกกว่า 45% โดยกลุ่มนี้เรียกว่ากลุ่ม Underbanked ดังนั้น เทคโนโลยีทางการเงินจะเข้ามาเป็นตัวช่วยให้คนเข้าถึงบริการทางการเงินมากขึ้น และมีความเท่าเทียมมากขึ้นได้
ยกตัวอย่างปัญหาคนไทยจำนวนมากที่เข้าถึงสินเชื่อยาก ซึ่งมาจากลักษณะการประกอบอาชีพที่ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ค้าขายออนไลน์ ไม่มีรายได้ประจำ ธนาคารไม่มีข้อมูลทางการเงิน ทำให้เข้าถึงสินเชื่อยาก เพราะถูกมองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง ซึ่งมีสัดส่วนถึง 67% ขณะที่มีเพียง 33% ของผู้บริโภค มีประวัติเครดิตบูโรช่วยให้เข้าถึงสินเชื่อหรือบริการทางการเงินได้
สำหรับคนที่เข้าไม่ถึงสินเชื่อจะหันไปพึ่งพาการกู้นอกระบบ จากสถิติพบว่าคนไทยพึ่งพาหนี้นอกระบบเกือบ 10% ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมดของไทยที่มีอยู่ในกว่า 10 ล้านล้านบาท เท่ากับว่าคนไทยมีหนี้นอกระบบมากกว่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ใหญ่มาก และที่น่ากลัวที่สุด คือ สินเชื่อนอกระบบมีการคิดอัตราดอกเบี้ยแพง อาจสูงถึง 20% ต่อเดือน ในขณะที่การกู้ในระบบจะคิดอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ราว 18-33% ต่อปี ดังนั้นหากไม่เข้าใจกลไกของหนี้นอกระบบอย่างลึกซึ้ง อาจต้องติดกับดักหนี้ไปตลอดชีวิต
อย่างไรก็ตามปัญหานี้สามารถแก้ไขด้วยเทคโนโลยี เช่น AI ที่เป็นส่วนสำคัญ ทำให้ผู้ให้บริการทางการเงินมีข้อมูลใหม่ ๆ ในการใช้พิจารณาให้สินเชื่อมากขึ้น สำหรับ LINE BK เอง ได้มีการนำข้อมูลทางเลือก บน LINE มาใช้ประกอบ เพื่อให้สามารถเข้าใจลูกค้าและเข้าใจความเสี่ยงลูกค้าได้มากขึ้น รวมทั้งนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตรงใจลูกค้ามากขึ้น