ผู้ว่าฯ "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ที่ได้รับคะแนนเสียงอย่างล้นหลามจากกทม. คอนเซ็ปต์ไอเดียทั้งหมดภายใต้ธีมสีเขียวของชัชชาติที่น่าสนใจ ผ่านกระบวนการคิดและสร้างสรรค์ได้ออกมาแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็น ป้ายหาเสียง,และสื่อต่างๆที่ดูใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ
ยกตัวอย่างเช่น ทีมงานและชัชชาติได้มีแนวคิด “หาเสียงแบบรักเมือง” แบ่งออกเป็น 4 แนวทาง
1.ลดขนาดและจำนวนป้ายหาเสียง (Reduce) ซึ่งจะลดขนาดและลดจำนวนของป้ายหาเสียง ซึ่งป้ายหาเสียงยังมีความจำเป็นต่อผู้คนที่ไม่ได้เล่นโซเชียลมีเดีย แต่ได้มีความพยายามที่จะใช้ให้น้อยที่สุด
การลดขนาด ป้ายหาเสียงส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่ ทางทีมงานชัชชาติได้กำหนดป้ายหาเสียงไว้ให้ขนาดเล็ก ไม่กีดขวางทางเดินเท้า และมีขนาดปกติซึ่งจะใช้แค่ในช่วงแรกของการหาเสียงและเก็บกลับไป
การลดจำนวน ทีมงานชัชชาติได้ใช้ป้ายให้น้อยที่สุด โดยวางแผนว่าจะใช้ป้ายให้น้อยกว่า 50% ของกฎหมายอนุญาตให้ผู้สมัครทำได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
2.การหมุนเวียน (Recycle) เห็นได้ชัดจากป้ายไวนิลหาเสียง ที่ทางทีมงานชัชชาติไม่อยากให้ป้ายหาเสียงกลายเป็นขยะ จึงได้ทำแพทเทิร์นไว้พร้อมที่จะตัดและเย็บกระเป๋าและผ้ากันเปื้อนไว้ใช้ต่อในทีม ซึ่งแนวคิดนี้ได้มาจาก กลุ่ม ใครกาX Kraikax ได้ทำไว้เมื่อปี 2562
3.การนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) ซึ่งเป็นคอนเซปต์ที่น่าสนใจมากสำหรับการออกแบบแผ่นพับในรูปแบบหนังสือพิมพ์ เพราะเมื่อคนอ่านหนังสือพิมพ์ดังกล่าวจบแล้ว ทางทีมงานได้เขียนวิธีนำไปใช้ต่อ เช่น เช็ดกระจก เช็ดซับความมันของเตาทำอาหาร ขจัดความชื้นในตู้เสื้อผ้า และดับกลิ่นอับในรองเท้า ก่อนที่จะนำไปทิ้ง
4.การลดก๊าซเรือนกระจก และลด PM2.5 ผ่านรถหาเสียงพลังงานไฟฟ้า EV
ซึ่งถือว่าแตกต่างกับหลายผู้สมัคร เพราะชัชชาติได้ใช้รถที่วิ่งโดยพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดจำนวน 23 คัน ทั้งรถเม์ไฟฟ้า รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า และมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า รถกระบะไฟฟ้า และรถยนต์ไฟฟ้าอื่นๆอีกหลายคัน ซึ่งการวิ่งหาเสียงครั้งนี้ถือว่าช่วยลดมลพิษในการหาเสียงได้มากพอสมควร และยังเสนอตัวตนของทีมชัชชาติได้ตรงคอนเซปต์สีเขียวรักษ์โลกอีกด้วย
ภายใต้นโยบายมากกว่า 200 รายการที่ต้องการให้กรุงเทพเป็นเมืองที่น่าอยู่ สิ่งแวดล้อมดี ซึ่งเป็นนโยบายที่ใครหลายคนต้องการ เนื่องจากมลภาวะและมลพิษในกรุงเทพฯนั้นมีมากพอให้เกิดโรคต่างๆได้ในระยะยาว
ยกตัวอย่างปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ตามมาหลังจากการเลือกตั้งในประเทศเกาหลี ซึ่งมีนักสิ่งแวดล้อมกำลังมองหาการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายเพื่อป้องกันการใช้แบนเนอร์และป้ายที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้
เนื่องจากการเลือกหลายครั้งก่อให้เกิดปัญหาขยะ การหาเสียงจึงได้เปลี่ยนไปโปรโมทที่ช่องทางออนไลน์ การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้สามารถช่วยให้ประเทศเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและสามารถทำให้แคมเปญมีความเป็นธรรมมากขึ้นสำหรับผู้สมัครที่ไม่สามารถจ่ายได้
กลุ่มนักเคลื่อนไหวท้องถิ่น Korea Zero Waste Movement Network คำนวณว่าประเทศนี้จะมีป้ายแบนเนอร์มากกว่า 16,000 ป้ายเหลือทิ้ง และไม่สามารถนำไปใช้ต่อได้ ในปูซานและกรุงโซล ผู้สมัครจะมีการติดตั้งแบนเนอร์รวม 12,720 ป้ายทั่วเมือง ในปูซาน จำนวนมากถึง 3,492 ป้าย
ยังมีตัวอย่างการหาเสียงในต่างประเทศที่ให้ความใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่น
ประเทศฟิลิปปินส์ เลโอดี เด กุซมัน ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันอังคาร กล่าวว่า เขาจะใช้สื่อรณรงค์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และกระตุ้นให้ฝ่ายตรงข้ามทำเช่นเดียวกัน
เลโอดี เด กุซมัน กล่าวว่าสื่อรณรงค์ทั้งหมดของเขาจะย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ในขณะที่เขาเรียกร้องให้ผู้สนับสนุนของเขาตระหนักถึงมลพิษที่เลวร้ายลง
ประเทศอินเดีย คำสั่งศาลสีเขียวแห่งชาติ (NGT) ในอินเดีย ได้ตัดสินใจสั่งห้ามใช้วัสดุที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในการรณรงค์หาเสียง
และมีการทยอยออกมาขององค์กรยักษ์ใหญ่ที่ต้องแสดงตัวเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น
เอมิเรตส์รีไซเคิลโปสเตอร์บิลบอร์ดเป็นถุงช้อปปิ้ง เมื่อเร็วๆ นี้บริษัทได้นำโปสเตอร์พีวีซีขนาด 208 ตร.มจากป้ายโฆษณาที่สนามบินซูริคมาทำเป็นป้ายโฆษณาที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้มากกว่า 300 ใบ
Southwest Airlines ได้เปิดตัว "LUV Seat" ซึ่งเห็นหนังจากเก้าอี้ที่ไม่ใช้แล้ว 43 ตัว นำไปทำเป็น รองเท้าหรือลูกฟุตบอล
และในปี 2013 Air France-KLM ได้เปลี่ยนเครื่องแบบพนักงานเก่าให้กลายเป็นฉนวนในรถยนต์
จะเห็นได้ว่าหลากหลายบริษัทได้มีการ Reuse,Recycle มากมายเกิดขึ้น เนื่องจากปัจจุบันเทรนด์ Eco-Friendly ได้ตกเป็นที่น่าสนใจของกลุ่มลูกค้าหลากหลายอายุ การที่แบรนด์ใดสามารถเริ่มทำก่อนได้ ก็จะสามารถครอบครองตลาดได้มากกว่าสินค้าทั่วไปที่ยังไม่ออกแสดงตัวเกี่ยวกับการรักษ์โลกดูแลสิ่งแวดล้อมในอนาคตให้ยังดีต่อไป