เทรนด์หรือการรณรงค์รักษ์โลกก็มีมายาวนาน แต่ในปีนี้มีการขยับตัวของเทรนด์กลุ่มลูกค้าที่เรียกว่ากลุ่ม Eco-Actives ที่ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมและสินค้ารักษ์โลกเป็นพิเศษ
Kantar บริษัทที่ปรึกษาด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและแบรนด์ ได้พูดถึงกลุ่มผู้บริโภค Eco-Actives เพิ่มขึ้นปัจจุบันกลุ่มนี้มีถึง 22% ครอบครองมูลค่าตลาดราว 446 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในอุตสาหกรรมอุปโภคบริโภค หรือที่เรียกว่า FMCG (Fast Moving Consumer Goods)
FMCG (Fast Moving Consumer Goods) คือ สินค้าที่ซื้อง่ายขายคล่อง และใช้ในชีวิตประจำวันของทุกวันและมักจะใช้แล้วหมดไป ใช้ได้ทุกเพศทุกวัย ยกตัวอย่างสินค้าในห้างสรรพสินค้าต่างๆ เช่น ยา สบู่ เครื่องดื่ม ยาสระผม หรืออื่นๆมากมาย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในผู้บริโภคที่ 'เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม' ยุโรปตะวันออก (67%) และยุโรปตะวันตก (64%) รองลงมาคือละตินอเมริกา (53%); สหรัฐอเมริกา (52%) อยู่ในอันดับที่สาม และสุดท้ายคือเอเชีย (42%) อ้างอิงจาก repetco.com
ดังนั้น ผู้บริโภคจึงค่อยๆ ซึมซับและซึมซับพฤติกรรมบางอย่าง เช่น วัสดุรีไซเคิล การซื้อบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล ฯลฯ จนกว่าพวกเขาจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตโดยธรรมชาติ
Kantar ได้แบ่ง Eco-Segmentation ออกมาเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน
1. Eco-Actives ลูกค้าที่มีการกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นพิเศษ และลงมือปฏิบัติ
2. Eco-Considerers ลูกค้าที่มีการกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่แทบไม่ได้ลงมือปฏิบัติ
3.Eco-Dismissers ลูกค้าที่มีความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมน้อยหรือแทบจะไม่มีเลย และไม่ได้ลงมือปฏิบัติ
เทรนด์ลูกค้าประเภท Eco-Actives ได้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพิ่มขึ้น 1% จากปี 2020 และ 6% หากเทียบกับปี 2019 ในขณะที่กลุ่มลูกค้าที่ไม่มีความกังวลหรือ Eco-Dismissers มีจำนวนลดลง โดยครึ่งหนึ่งของประชากรโลกจะกลายเป็นกลุ่ม Eco-Actives ก่อนปี 2030
แม้ว่ากลุ่ม Eco-Actives จะได้เติบโตขึ้นมาก แต่ในทั้งประเทศไทยและต่างประเทศ สินค้าประเภทนี้ยังคงราคาสูงอยู่ แต่จากสถิติมีความเป็นไปได้อย่างแน่นอนที่อนาคตสินค้า FMCG หรือสินค้าทั่วไปจะกลายเป็นสินค้ารักษ์โลก
ดังนั้นทั้งแบรนด์ยักษ์ใหญ่และธุรกิจ SME ทั่วไปจนถึงธุรกิจรายย่อย ควรศึกษากลุ่มลูกค้า Eco-Actives หรือลูกค้าที่กังวลเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นพิเศษไว้ให้ดี เพราะนี่คือเทรนด์ที่กำลังจะมาช่วยให้สินค้าต่างๆถูกเลือกซื้อในตลาดทั่วไปในอนาคต