Key Message จาก "Thailand Digital Fast Forward อัพสปีดเศรษฐกิจดิจิทัล" งานสัมมนาเพื่อส่งต่อความรู้และแชร์แนวทางที่แต่ละฝ่ายจะร่วมสร้างอนาคตเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ จากความร่วมมือของสื่อในเครือเนชั่น ฐานเศรษฐกิจ, กรุงเทพธุรกิจ และสปริงนิวส์
เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจประเทศ แต่อนาคตของประเทศไทยจากการพัฒนา เศรษฐกิจดิจิทัล จะก้าวไปในทิศทางใด? งานสัมมนา Thailand Digital Fast Forward อัพสปีดเศรษฐกิจดิจิทัล ที่จัดขึ้นในวันที่ 18 พฤษภาคม 2565 จะทำให้คุณเข้าใจความเปลี่ยนแปลงและเห็นภาพอนาคตที่เปลี่ยนไปจากการใช้เครื่องมือดิจิทัล ผ่านการปาฐกถาพิเศษ "เศรษฐกิจดิจิทัล อนาคตประเทศไทย" โดย ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
เดือนมีนาคม 2565 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติมาตรการยกเว้นภาษี Capital Gains Tax เป็นเวลา 10 ปี ให้แก่นักลงทุนไทยและต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในสตาร์ทอัพไทย ภายใต้ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายผ่าน Venture Capital โดยต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 24 เดือน ทั้งนี้ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย เชื่อมั่นว่ามาตรการภาษี Capital Gains Tax จะสร้างเม็ดเงินลงทุนในสตาร์ทอัพไทยเพิ่มขึ้นกว่า 3.2 แสนล้านบาท มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นกว่า 4 แสนตำแหน่ง และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวม 790,000 ล้านบาท
หลังจากจบปาฐกถาก็เข้าสู่ช่วง Special Talk : Digital Global Trend โดย อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บจ.หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) ต่อด้วย Panel Discussion เกี่ยวกับการกำกับดูแลการทำงานของภาครัฐ และปิดท้ายด้วย Special Talk ที่ผู้บริหารองค์กรเอกชนเบอร์ต้นๆ ของประเทศมาแชร์ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของแบรนด์นั้นๆ
Panel Discussion : Digital Thailand Competitiveness นำโดย
ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA)
เพื่อสร้าง รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ฝั่งภาครัฐจึงจัดทำ Portal มากมายเพื่อให้บริการประชาชน, พัฒนาแพลตฟอร์มกลางและระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ทุกภาคส่วน ที่ต้องการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูล โดยมี DGA เป็นหน่วยงานกลางที่สนับสนุนการทำ Digital Transformation
กลไกขับเคลื่อน รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ จะแบ่งการพัฒนาเครื่องมือดิจิทัลให้สอดคล้องกับความพร้อมของหน่วยงานรัฐซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1) กลุ่มที่มีความพร้อมสูงในด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น กระะทรวงการคลัง, กระทรวงดิจิทัลฯ โดยเทคโนโลยีที่ต้องดูแลรับผิดชอบ เช่น Digital ID, Digital Currency และอย่างไรก็ดี ยังมีหน่วยงาน DGA ร่วมทำ Sandbox อีกทางหนึ่ง
2) กลุ่มที่มีความพร้อมในด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลระดับกลาง ข้อนี้จะโฟกัสไปที่การใช้งาน 6 ด้าน อาทิ การแพทย์ สาธารณสุข การบูรณาการและการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยทาง DGA กำลังทำ Data Integration กำหนดมาตรฐานและนำ AI เข้าไปใช้ในหน่วยงานรัฐ
3) กลุ่มที่มีความพร้อมด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในอนาคต โดยรัฐบาลจะจัดทำโครงการอีกมาก เช่น One ID, One SME โครงการที่ผู้ประกอบธุรกิจเอสเอ็มอีสามารถไปขึ้นทะะเบียนและขอรับสิทธิประโยชน์จากภาครัฐได้ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบซ้ำซ้อนอีก
พล.อ.ท. ดร. ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
และ Special Talk : Digital Transformation Empower your Business จากภาคเอกชน
ดำเนินรายการ โดย พิภู พุ่มแก้วกล้า, อาชวินท์ สุกสี
รับชมย้อนหลังได้ที่ลิงก์ facebook.com/springnewsonline