เพจขาเกือบพลิก ร่วมชวนคนกรุงเทพฯ คิดและตั้งคำถามกับความไม่ปกติของปัญหาทางเท้าที่มีมายาวนาน เฟซบุ๊กทำให้เสียงของประชาชนส่งไปถึงหน่วยงานภาครัฐ แม้แก้ไขเฉพาะหน้าก็ยังถือเป็นการแจ้งเตือนด้วยเสียงจากเจ้าของภาษี
นับเป็นข่าวดีที่ของคน กรุงเทพฯ ที่จะได้เข้าคูหาใช้สิทธิใช้เสียงเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานครกันอีกครั้ง ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 หลังจากห่างหายไปนานกว่า 9 ปีเตรียมปากการอได้เลย โดยทั้งนี้คนพัทยาก็มีโอกาสได้ใช้สิทธิด้วยในวันเดียวกัน ทั้งนี้หลายๆ ผู้สมัครก็ได้เริ่มเปิดนโยบายกันมาแล้วบ้างโดย 1 ในข้อสำคัญและชาวกทม. รอฟังก็คือ การบริหารจัดการทางเท้า
ปัญหา ทางเท้าใน กทม. เป็นที่พูดถึง ถกเถียง กันมากขึ้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่าน โดยสาเหตุหนึ่งอาจจะมาจากเพจที่ชื่อว่า 'ขาเกือบพลิก' โดยเพจเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2020 อายุอานามไม่มาก แต่รวบรวมแฟนเพจได้แล้วถึง 1.2 แสนคน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คนเมืองถึงเวลาต้องช่วยกันเอง รวมช่องทางแจ้งเบาะแสการกระทำผิดวินัยจราจร
กทม.เอาจริงจับ จยย. ขี่บนทางเท้า ปรับ 2 ,000 ทุกเคส รอบ 3 ปีได้เงิน 44 ล้าน
ทั้งนี้ที่มาที่ไปและจุดประสงค์ของเพจนี้คืออะไร ทาง Spring News ได้มีโอกาสพูดคุยพิเศษกับผู้ก่อตั้งและแอดมินเพจ ในหัวข้อ ทางเท้าใน กทม.
>> มาจากการที่เห็นความไม่ถูกต้องที่เกิดขึ้นบน ทางเท้าในกทม . เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศที่ได้มีโอกาสเดินทางไปมา ก็ยิ่งเห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจนจึงตั้งข้อสงสัยว่าทำไมบ้านเราถึงไม่เป็นระเบียบ ทำไมถึงไม่สะอาด แล้วทำไมเราถึงทำให้ดีแบบประเทศอื่นๆ ไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น มาเลเซีย เพื่อนบ้านที่ขนาดเศรษฐกิจใกล้เคียงกันแต่ทางเท้าแตกต่างกันมากจึงสร้างเพจขึ้นมาเพื่อโพสต์บ่น ไปเรื่อยๆ จนมีคนมาติดตามมากขึ้นๆ คนเข้ามาแสดงความคิดเห็น กดไลค์และเกิดเป็น กลุ่มคนที่เห็นความไม่ปกตินี้เหมือนๆ กันมากขึ้นๆ
โดยสามารถทำให้หน่วยงานเขตต่างๆ ในกทม.ก็หันมาสนใจและได้ยินเสียงบ่นเหล่านี้ จนนำไปตามปรับแก้ไขเฉพาะหน้าตามโพสต์ต่างๆ ที่ได้บ่นไป แสดงให้เห็นว่าหน่วยงานต่างๆ ก็ติดตามเพจนี้ด้วยเช่นกัน แต่ก็ยังไม่ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมเพราะเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะจุด ไม่ใช่โครงสร้างรวมของทางเท้าที่มีทั้งหมด
>>ความตื่นตัวของประชาชน ส่งเสียงบ่นรวมๆกันทำให้ดังขึ้นจนกระตุ้นให้หน่วยงานเขตเข้ามาการแก้ปัญหา แม้จะแก้เพียงเฉพาะกิจแต่ก็ดีกว่าไม่มีการแก้ไขหรือรับรู้เสียงของประชาชนเลย เพจนี้เป็นกระบอกเสียงกลางให้คนในกทม.และหน่วยงานภาครัฐได้มาเจอกัน เห็นความไม่ปกติของการตั้งร้านค้าบนทางเท้ากินพื้นที่ ปัญหาเรื่องสุขอนามัยการกิน มอเตอร์ไซค์ขี่บนทางเท้า หาบเร่ แผงลอยต่างๆ ก็ถูกหยิบยกมาพูดคุยถึงความถูกต้องเหมาะสม
>>ทางเท้าถือเป็นการสัญจรขนส่งอย่างหนึ่ง ที่ทำให้คนไม่ต้องพึ่งพาการใช้รถเกินความจำเป็น ถ้าเรามีทางเท้าที่ดี ปลอดภัย เหมาะกับการเดิน เราก็จะสามารถเดินไปทำธุระในระยะใกล้ๆ ได้ ทางเท้าใน กทม. ทำให้รถไม่ติดและเกิดเศรษฐกิจในชุมชน เพราะสามารถเดินได้ทุกที่อย่างปลอดภัยและมีความสุข คนไม่ต้องห่วงจะหาที่จอดรถ เปิดร้านขายของให้คนได้เดินจับจ่ายใช้สอย พัฒนาการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดมีกิจกรรมให้คนเลือกทำและไปใช้เวลาพักผ่อนนอกจากการเดินศูนย์การค้าในวันหยุด
>>สาเหตุสำคัญข้อที่หนึ่งมาจากผังเมืองยอดแย่ ติดอันดับโลก ซอยเล็ก ซอยตันเยอะ ถนนไม่เพียงพอ ทางเท้าไม่มี ถ้าจะรื้อทำใหม่ก็ยากเกินไปเพราะต้องเวนคืนที่ดินจำนวนมากกระทบกับประชาชน
>>สาเหตุสำคัญข้อที่สองมาจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ในการคิดพัฒนาบ้านเมืองที่สวยงาม กำหนดทิศทางการทำงานชัดเจน การเลือกคนที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์มาทำงานให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่
>>สาเหตุสำคัญข้อที่สามมาจากปัญหาคอรัปชั่นในหน่วยงาน และการใช้อำนาจในทางที่ผิด ระบบตรวจสอบเอาผิดที่ไม่กวดขันอย่างจริงจัง
( อ้างอิงจากงานวิจัย ของศาสตราจารย์เจฟ โบอิ้ง อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางผังเมือง มหาวิทยาลัยนอร์ทอีสเทิร์น สหรัฐอเมริกา พบว่ากทม. มีซอยตันมากที่สุดถึง 37.19% เมื่อกับเมืองหลวงอื่นๆ เช่น ลอนดอน โตเกียว
สิงค์โปร์ มาดริด หรือนิวยอร์ก)
>>คาดหวังว่าจะจริงจังในการแก้ไขปัญหา และบริหารจัดการหน่วยงานเขตในกำกับดูแลให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็งตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมาก่อนผลประโยชน์ส่วนตัว รวมทั้งมีระบบตรวจสอบให้ประชาชนได้ติดตามการทำงานและจัดการผู้ฝ่าฝืนให้เด็ดขาด โดยสิ่งที่สำคัญคือการมีนโยบายที่ดี ระบบตรวจสอบ และประชาชนมีรายได้มั่นคง ที่จะเป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนแปลง
>>ความภูมิใจของคนทำเพจคือการได้เห็นชาวกทม.มีการปรับเปลี่ยนแนวความคิดเรื่องทางเท้า จุดประกายให้คนไม่เคยชินกับความไม่ปกติที่เกิดขึ้นรอบตัว เมื่อเดินออกจากบ้าน เห็นเสาไฟ ทางเท้าที่สกปรก ขรุขระ แล้วเริ่มตั้งคำถามกับเมืองทีเราอยู่มากขึ้น เมื่อคนจำนวนนี้เกิดคำถามก็ช่วยจุดประกายให้ผู้บริหารต้องรับฟัง กระตุ้นแรงๆให้หน่วยงานรัฐทำงาน แก้ไข แม้จะเริ่มต้นจากโพสต์บ่น ก็เป็นการบ่นเพื่ออยากเห็นสิ่งที่ดีขึ้นแก่บ้านของเราเอง
ซึ่งทางเพจมองว่าเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างไม่ใช่เกิดจากจิตสำนึกของประชาชน เพราะเมื่อประชาชนกินอิ่มนอนหลับ ไม่ขัดสน ก็ไม่มีใครอยากทำผิด หรือ หาประโยชน์จากช่องว่างช่องโหว่ที่มีอยู่เพื่อเอาประโยชน์ใส่ตัว ปัญหา ทางเท้าใน กทม. ไม่ใช่เพียงแค่ทางเดินเท้า แต่ยังเกี่ยวโยงไปถึงการจัดการภาพใหญ่ของประเทศ ที่เป็นเหมือนโดมิโนล้มต่อๆกันไป จนไม่รู้ว่าจะหยิบตัวไหนมาแก้ ซึ่งถ้าไม่แก้จากผู้มีอำนาจหน้าที่ ก็ยากที่จะเห็นทางเท้าและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Thai sidewalks, am I right? pic.twitter.com/f7nrxRBvFI
— Aaron (@Aaron_M_Knox) March 27, 2022
ถ้ามีผู้บริหารที่จริงจังในการแก้ปัญหาและวางทิศทางการทำให้มีประสิทธิภาพจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเป็นรูปธรรม หน้าที่ของผู้บริหารคือการให้ประเทศหลุดจากการเป็นประเทศพัฒนาให้ได้ซะที ทางเท้าใน กทม. ของเราก็จะดีตาม
ขอบคุณเพจขาเกือบพลิก