svasdssvasds

เรียนรู้ ประวัติเซอร์เอลตัน จอห์น ผ่าน Rocketman และบทเพลง Candle in the Wind

เรียนรู้ ประวัติเซอร์เอลตัน จอห์น ผ่าน Rocketman และบทเพลง Candle in the Wind

25 มีนาคม คือวันครบรอบวันเกิด เซอร์เอลตัน จอห์น โดย ณ ปีนี้ ปี 2022 เซอร์เอลตัน จอห์น มีอายุครบ 75 ปีแล้ว มาเรียนรู้ ประวัติ เซอร์ เอลตัน จอห์น ผ่านหนัง Rocketman และบทเพลง Candle in the Wind ในปี 1997 ซึ่งมันได้กลายเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของโลก ที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงอยู่บ่อยๆ

25 มีนาคม คือวันครบรอบวันเกิดของเซอร์เอลตัน จอห์น โดย ณ ปี ค.ศ นี้ ปี 2022 เซอร์เอลตัน จอห์น มีอายุครบ 75 ปีแล้ว (ตอนปี 2017 เซอร์เอลตัน จอห์น ยังรับเชิญมาเล่นหนัง Kingsman: The Golden Circle อยู่ เด็กๆเจนใหม่คงจะคุ้นหน้าเขาอยู่บ้าง ) สำหรับประวัติ ของเซอร์เอลตัน จอห์น นั้นมีความสนใจอย่างมากมาย ความจริงข้อหนึ่งที่โลกปฏิเสธไม่ได้ก็คือ เซอร์เอลตัน จอห์น คือบุคคลสำคัญของโลกในแง่ของการสร้างงานศิลปะในเชิงบทเพลง มาเป็นเวลาหลายทศวรรษ 

ประวัติ เซอร์เอลตัน จอห์น นั้นถือว่ามีความน่าสนใจมาก และบางแง่มุมในชีวิตการเป็นศิลปิน นักแต่งเพลงของเซอร์เอลตัน จอห์น ก็ได้ถูกพลิกมุม ถูกนำเป็นเล่าในรูปแบบของภาพยนตร์ ซึ่งมันจะทำให้ ผู้คนทั่วโลก ซึมลึกเข้าถึง ชีวิตที่โลดโผนของเซอร์เอลตัน จอห์นได้ง่ายขึ้น และที่สำคัญ เซอร์เอลตัน จอห์นก็คือผู้ทรงอิทธิพลของโลก ที่เปิดเผยอย่างชัดเจนว่าเป็น LGBTQ และนับเป็นความกล้าหาญที่เขาเป็นผู้ "กล้าหาญ" ในการเปิดตัว และเป็นผู้ยืนหนึ่ง ในคอนเซปต์ ผู้มาก่อนกาล 
เรียนรู้ ประวัติ เซอร์ เอลตัน จอห์น ผ่าน Rocketman และบทเพลง Candle in the Wind  Credit ภาพจาก  IG Eltonjohn

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• รู้จักชีวิตเซอร์เอลตัน จอห์น ผ่านภาพยนตร์ Rocketman 

ชีวิตที่โลดโผนในเชิงดนตรีของเซอร์เอลตัน จอห์นนั้น เคยถูกเล่าเรื่องราวผ่านภาพยนตร์ Rocketman ที่ออกฉายในปี 2019 มาแล้ว โดยผลงานภพยนตร์เรื่องนี้เป็นการเล่าภาพอดีตอันมีรสขมขื่นของเซอร์เอลตัน จอห์น ในช่วงที่ก่อร่างสร้างชื่อเสียงให้ตนเองโดยฝีมือการกำกับของแด็กเตอร์ เฟล็ทเชอร์  

แต่ในอีกมุมหนึ่ง ภาพยนตร์ Rocket Man จึงมีความแซ่บ ซาบซ่าน ในแบบฉบับความฉูดฉาด สีสันจัดจ้านของตัวเซอร์ เอลตัน จอห์น เอง ซึ่งเขาที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูงเช่นกัน...เพราะการ เป็นตัวของตัวเองนั้น มันช่างมีความหมาย กว่าการกลายเป็นคนอื่น

หนัง Rocket Man เป็น "หนังกึ่งชีวประวัติ" ของเอลตัน จอห์น ที่ถ่ายทอดเรื่องราวออกมาเป็นแนวทาง "หนังเพลง" หรือ “Musical Movie” ที่ตัวละครในเรื่องร้องเพลงเองทั้งหมด ไม่ได้ใช้การลิปซิงค์เพลงเอลตัน จอห์น ดังนั้นผู้ชมจึงได้ยินเนื้อเสียงเต็มๆ ของ “ทารอน อีเกอร์ตัน” นักแสดงนำ ผู้สวมวิญญาณร่างทรง เป็นเอลตัน จอห์น ในภาพยนตร์

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

A post shared by Elton John (@eltonjohn)


บางช่วงเวลาของเหตุการณ์ในหนัง Rocket Man ที่เล่าถึงชีวิตของเซอร์เอลตัน จอห์นนั้น เป็นการปรับบทให้มีสีสันมากขึ้น อาทิ ที่มาของชื่อ “เอลตัน จอห์น” ที่ “จอห์น” ไม่ได้มาจาก “จอห์น เลนนอน” อย่างที่ในหนังนำเสนอ แต่แท้จริงมาจาก “Long John Baldry” ศิลปินเพลงบลูส์ที่เป็นเกย์ LGBTQ เช่นกัน ส่วนชื่อ “เอลตัน” มาจากชื่อนักแซกโซโฟน “Elton Dean” เป็นต้น
.
ภาพของเอลตัน จอห์น ในภาพยนตร์ Rocket Man เปรียบเสมือนว่า เอลตัน จอห์นเป็นผู้ปลุกพลังชีวิตกับบทเพลงที่เขาร้อง แต่จริงๆ แล้วเบื้องหลัง เขาก็ต้องแบกรับภาระความกดดัน และปมปัญหาชีวิตต่างๆไว้บนบ่าทั้งสองข้าง ที่ก็ไม่ต่างอะไรกับนักร้องที่เราเชิดชูและ Idolize ในสมัยนี้ ซึ่งก็โชคดีแค่ไหนที่อยู่รอดมาได้จนมาถึงวินาทีนี้ ที่โลกยอมรับความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งมันทำให้ผู้คนได้เรียนรู้ว่า กว่าจะมายืนจุดนี้ได้มันแสนจะยากเย็น
.
แท้จริงแล้ว ภาพยนตร์  Rocket Man  จะฉายภาพ เรื่องราวตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก การหลงรักดนตรีอย่างลุ่มหลง และการก้าวมาเป็นหนึ่งในศิลปินที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในประวัติศาสตร์ดนตรี แต่ เอลตัน จอห์น ก็ต้องเจอมรสุมชีวิตมามากมาย ทั้งเรื่องยาเสพติด เงินทอง และเรื่องเพศ กว่าที่จะมายืนเป็น บุคคลสำคัญของโลก ในแง่มุมของดนตรี อย่างเช่นทุกวันนี้ 
เรียนรู้ ประวัติ เซอร์ เอลตัน จอห์น ผ่าน Rocketman และบทเพลง Candle in the Wind
• สบตาผ่านเอลตัน จอห์น เพลง Candle in the Wind บทเพลงในพิธีพระศพเจ้าหญิงไดอานา
.
อีกหนึ่งสิ่งที่คนทั่วโลก รู้จักเซอร์เอลตัน จอห์น และถือเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญของโลก นั่นคือ เหตุการณ์ การจากไปอย่างไม่มีวันกลับของ เจ้าหญิงไดอาน่า ซึ่งเหตุการณ์นั้นมันสร้างรอยน้ำตาให้กับผู้คนทั้งโลก พิธีศพของเจ้าหญิงไดอาน่าจัดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 กันยายน 1997 (พ.ศ. 2540) ที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน พร้อมกับบทเพลงจากพระสหายอย่างเซอร์เอลตัน จอห์น ที่วันนั้นเขา บรรเลงเพลง "Candle in the Wind 1997" หรือ อีกชื่อหนึ่งก็คือ Goodbye England's Rose" 

บทเพลงนี้ เป็นบทเพลง ที่เซอร์ เอลตัน จอห์นประพันธ์ดนตรีขึ้น และประพันธ์เนื้อเพลงโดย เบอร์นีย์ ทอพีน เมื่อปีค.ศ. 1973 เพื่อเป็นการไว้อาลัยให้แก่มาริลิน มอนโร นักแสดงชั้นนำของโลก ที่จากโลกนี้ไปในปี 2516 ก่อนที่จะมาใช้กล่าวแทนคำอำลา เจ้าหญิงไดอาน่าอีกครั้ง  โดย ในงานพระราชพิธีพระศพนั้นไม่ใช่แต่เพียงเซอร์เอลตัน จอห์นเท่านั้นที่รู้สึกเศร้าโศก หากแต่คนรอบข้างและทั้งโลกที่เสียดายต่อการจากไปของเจ้าหญิงไดอาน่าด้วย

โดยเพลง Candle in the Wind ในเวอร์ชั่นปี 1997 นั้น เซอร์เอลตัน จอห์นได้เปลี่ยนเนื้อเพลงท่อนแรกเสียใหม่จาก "Goodbye Norma Jean" เป็น "Goodbye England's Rose"  แม้ว่าทั้งคู่จะมีชีวิตที่แตกต่างกันมาก แต่ก็เหมือนกันในข้อที่ต้องทุกข์ทรมาน เพื่อ คนอื่นเช่นกัน

บทเพลง ท่อนหนึ่งของเนื้อเพลงที่กินใจ ผู้ชมมากที่สุดคือท่อนที่ว่า  "Your candle's burned out long before...your legend ever will...."

เทียนของเธอดับสิ้นนานไป แต่ตำนานของเธอจะไม่เสื่อมคลาย...แด่ เจ้าหญิงไดอาน่า เจ้าหญิงอันเป็นที่กล่าวขานของคนทั้งโลก

.
และบทเพลงนี้ได้กลายเป็น "ภาพจำ" ของคนทั้งโลก ต่อเหตุการณ์ความสัมพันธ์ของเซอร์เอลตัน จอห์น ที่เป็นพระสหายกับเจ้าหญิงไดอาน่า  ซึ่งในภายหลังมีการเปิดเผยว่า  มีหนังสือราชการที่เปิดเผยออกมาเมื่อช่วงปลายเดือนธันวาคม 2021  ระบุว่า พระราชวังบักกิงแฮม ได้รับการร้องขอเป็นส่วนตัวจาก เวสลีย์ คาร์ ซึ่งดำรงตำแหน่ง ดีน ออฟ เวสต์มินสเตอร์ (Dean of Westminster )ในตอนนั้นอนุญาตให้ เอลตัน จอห์น ได้ร้องเพลงในพิธีพระศพเจ้าหญิงไดอานา 

โดยสาเหตุที่เลือกเพลง Candle in the Wind  ของ เอลตัน จอห์นที่แต่งอาลัยให้ มาริลีน มอนโรว์ นางเอกระดับตำนานของอเมริกา เหมาะสมที่สุด เพราะว่า ด้วยเป็นเพลงที่ผู้คนรู้จักกันทั่ว และร้องกันได้...และซีนนี้ ทำให้เซอร์เอลตัน จอห์น ถือเป็นหนึ่งในศิลปินที่อยู่ในฉากเหตุการณ์สำคัญของโลก และทำให้ผู้คนทั้งโลกจดจำเขา...ในฐานะสุดยอดศิลปินของโลก
 credit Youtube Philip Anness 

related