svasdssvasds

วิธีเช็ก “หมอจริง-หมอปลอม” เช็กอย่างไรเมื่อตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

วิธีเช็ก “หมอจริง-หมอปลอม” เช็กอย่างไรเมื่อตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

เปิดวิธีเช็ก “หมอจริง-หมอปลอม” จะเช็กได้อย่างไรบ้าง เมื่อเราตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ และสามารถดำเนินคดีได้อย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่

จากกระแสข่าว หมอปลอม ที่เป็นเทรนด์ทวิตเตอร์นั้น คล้ายเป็นการสวมบทบาทอ้างว่าเป็นแพทย์ และมีการแชร์ข้อมูลต่อโดยที่หลายคนเชื่อถือไปแล้ว ที่การแอบอ้างดังกล่าวอาจสร้างความเสียหายในอนาคต ที่อาจเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้

 

ดังนั้นการศึกษาวิธีเช็ก “หมอจริง-หมอปลอม” จึงเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก และควรรู้ว่าเมื่อเกิดเรื่องดังกล่าวกับเรา ควรจะดำเนินด้วยวิธีการใด และสามารถร้องเรียนกับใครได้บ้าง

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

วิธีเช็ก “หมอจริง-หมอปลอม” เช็กอย่างไรเมื่อตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ ​​​​​​​

  • “หมอจริง-หมอปลอม” พิสูจน์ได้อย่างไร สามารถตรวจสอบได้หรือไม่?

ประชาชนสามารถเข้ามาตรวจสอบแพทย์จริงหรือไม่ผ่านเว็บไซต์ https://checkmd.tmc.or.th/ โดยวิธีการนี้จะทำให้ทราบว่าเป็นแพทย์จริงหรือไม่ รวมทั้งตรวจสอบได้ว่ามีความเชี่ยวชาญในสาขาใด ที่แพทยสภารับรองหรือไม่

 

  • สวมรอยเป็น “หมอปลอม” มีความผิดอย่างไร ดำเนินอะไรได้บ้าง?

การทำเอกสารปลอมเป็นแพทย์ ถือเป็นการปลอมแปลง และการแอบอ้างเป็นแพทย์มีความผิดตามมาตราในพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม 2525 ระบุว่าคนที่ปลอมเป็นแพทย์และมีการรักษาผิดในมาตรา 26 ถ้าไปใช้คำว่านายแพทย์ และแพทย์หญิง รวมทั้งมีการรักษาร่วมด้วย จะผิดมาตราที่ 27 ซึ่งความผิดทั้ง 2 มาตรา ซึ่งเป็นความผิดอาญา โดยที่ผู้เสียหายสามารถแจ้งความดำเนินคดี และเมื่อพนักงานสอบสวนตั้งข้อกล่าวหา เพื่อดำเนินคดีสามารถให้แพทสภาเป็นพยานได้

  • “หมอจบใหม่” จะมีรายชื่อในฐานข้อมูลแพทยสภาหรือไม่?

หลังจากที่หมอจบ 6 ปี จากคณะแพทย์แล้วร่วมกับการสอบของศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ศรว.) รายชื่อจะนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภา เมื่ออนุมัติแล้ว รายชื่อจะเข้าสู่ระบบ

 

ที่มา นายแพทย์ภาสกร วันชัยจิระบุญ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา/กรรมการแพทยสภา