เพราะสัตว์เลี้ยงพูดไม่ได้! "ฮีทสโตรก" โรคยอดฮิตในสัตว์เลี้ยงในช่วงหน้าร้อน จึงเป็นเรื่องที่ควรเรียนรู้ เพื่อเตรียมรับมือหากเกิดกับสัตว์เลี้ยงของเรา
อากาศร้อนในประเทศไทย เป็นตัวการที่ทำให้เกิดโรคยอดฮิตอย่าง "ฮีทสโตรก" (Heat Stroke) หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ "โรคลมแดด" โรคยอดฮิตที่คนพาสัตว์เลี้ยงมารักษากันเยอะมาก เพราะขนาดคนเรายังทนความร้อนไม่ไหว ไม่แปลกที่สัตว์เลี้ยงของเราก็ร้อนเหมือนกัน เพียงแต่น้องไม่สามารถพูดหรือบอกเราได้! ซึ่งถ้าน้องป่วยเป็นโรคนี้ ก็มีโอกาสถึงขั้นเสียชีวิตได้เหมือนกัน
"ฮีทสโตรก" (Heat Stroke) หรือ "โรคลมแดด" ในสัตว์เลี้ยง คือภาวะที่ไม่สามารถระบายความร้อนออกมาได้ อุณหภูมิในตัวสูงกว่า 41 องศาฯ ที่เป็นการสูงเกินกว่าปกติ ส่งผลเสียต่อการทำงานของอวัยวะภายใน สัตว์เลี้ยงที่พบโรคนี้บ่อย คือ น้องหมา น้องแมว เพราะปกติสุนัขและแมวจะมีต่อมเหงื่อบริเวณฝ่าเท้าและจมูกเท่านั้น การระบายความร้อนจึงต้องอาศัยการหายใจและการหอบเป็นหลัก แต่แท้จริงแล้วสัตว์อื่นก็มีอากาศ "ฮีทสโตรก" (Heat Stroke) หรือ "โรคลมแดด" ได้เช่นกัน
"ฮีทสโตรก" สามารถพบในสุนัขมากกว่าแมว โดยเฉพาะพันธุ์ที่ขนยาว, ขนหน้า และหน้าสั้น
ความร้อนหรืออากาศที่ไม่ถ่ายเท ส่งผลให้สัตว์เลี้ยงเกิดความเครียด อาจส่งผลให้เลือดที่หมุนเวียนในร่างกายลดลง หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้น้อยลง ความร้อนที่สะสมอยู่ในร่างกายจนก่อให้เกิดภาวะ "ฮีทสโตรก" ตามมา ไม่ว่าจะเป็นน้องหมา น้องแมว กระต่าย หรือสัตว์ต่าง ๆ หากอาการรุนแรงสัตว์เหล่านี้อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
สาเหตุ "ฮีทสโตรก" (Heat Stroke) หรือ "โรคลมแดด" ในสัตว์เลี้ยง
เกิดจากการที่อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นมากกว่า 40 องศาเซลเซียสอย่างรวดเร็ว และระบายความร้อนออกสู่ภายนอกไม่ทัน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้สัตว์เลี้ยงมีอาการตัวร้อน ได้แก่
สัญญาณอันตราย จาก "ฮีทสโตรก" ในสัตว์เลี้ยง
วิธีปฐมพยาบาล "ฮีทสโตรก" (Heat Stroke) เบื้องต้น
การปฐมพยาบาลอย่างถูกต้องเป็นเรื่องที่ควรรู้ สิ่งสำคัญคือการทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงแต่อย่าลดลงเร็วจนเกินไป ดังนี้
"ฮีทสโตรก" (Heat Stroke) เป็นภัยเงียบที่น่ากลัวสำหรับสัตว์เลี้ยง ประเทศไทยอากาศร้อนตลอดเวลาจึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ เจ้าของควรใส่ใจและสังเกตอาการ หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับสัตว์ที่เราเลี้ยงควรรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วพามาพบสัตว์แพทย์ทันที