ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัล ประจำปี 2564 โดย IMD (2021 IMD World Digital Competitiveness Ranking) หากดูคะแนนโดยรวม ไทยเลื่อนอันดับขึ้นจาก 39 ในปี 2563 เป็นอันดับที่ 38 ในปี 2564
แม้ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลของประเทศไทย ประจำปี 2564 โดย IMD ไทยได้อันดับที่ 38 (จากทั้งหมด 64 ประเทศ) ขยับขึ้นจากอันดับที่ 39 ในปี 2563 (จากทั้งหมด 65 ประเทศ) แต่เมื่อดูอันดับของไทยที่ได้จากการพิจารณาองค์ประกอบย่อย บางตัวก็ร่วงจนน่าวิตก!
อันดับ 38 กับความ(ไม่)พร้อมในการแข่งขันทางดิจิทัลของไทย
องค์ประกอบที่ใช้พิจารณาเพื่อจัดอันดับแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ องค์ความรู้ เทคโนโลยี และความพร้อมในอนาคต ซึ่งต่างก็มีองค์ประกอบย่อยที่ใช้พิจารณาและผลการจัดอันดับแตกต่างกันไป ดังที่ปรากฏในวงเล็บด้านล่างนี้
................................................................................................
บทความก่อนหน้าเกี่ยวกับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัล
................................................................................................
อันดับของไทยไม่ดีตรงไหน? เอาปากกามาวง
ถ้าดูภาพรวมย้อนหลัง 3 ปี (2562-2564) ประเทศ/เขตปกครองพิเศษที่ได้รับการจัดให้อยู่ใน 5 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สวีเดน เดนมาร์ก และ สิงคโปร์ โดย สหรัฐอเมริกา ยืน 1 ตลอด 3 ปี
ส่วนไทยไต่ขึ้นมาทีละอันดับ นั่นคือ จากอันดับ 40 ขึ้นมาเป็น 39 แล้วเลื่อนขึ้นเป็น 38
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า เหตุที่ไทยได้อันดับรวมดีขึ้น 1 อันดับ เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับขึ้นขององค์ประกอบที่นำมาพิจารณาในด้าน ความรู้ (Knowledge) และ ความพร้อมในอนาคต (Future Readiness) คือ จากอันดับ 43 และ 45 ในปี 2563 ขึ้นมาเป็นอันดับ 42 และ 44 ในปี 2564 ตามลำดับ
2 เรื่องที่ต้องเร่งแก้ไขเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัล
เป็นองค์ประกอบย่อยที่อยู่ภายใต้กกลุ่ม ความรู้ ซึ่งเลื่อนลง 1 อันดับ จาก 55 ในปี 2563 มาเป็นอันดับ 56 ในปี 2564 โดยตัวชี้วัดหลักที่มีผลต่อการฝึกอบรมและการศึกษา คือ ตัวชี้วัดรายจ่ายของรัฐทั้งหมดในเรื่องการศึกษา ที่ได้อันดับ 58 ขยับมาเป็น 59 และ จำนวนเฉลี่ยของนักศึกษาต่ออาจารย์ในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ที่ได้อันดับ 54 แล้วขยับลงมาเป็น 56 ส่งผลให้ประเด็นการฝึกอบรมและการศึกษาร่วงลงไปอยู่อันดับต่ำสุดในบรรดาหัวข้อย่อยทั้งหมด
เป็นองค์ประกอบย่อยที่อยู่ภายใต้ ความพร้อมในอนาคต ซึ่งไทยอยู่ในอันดับ 53 ติดกัน 2 ปี โดยตัวชี้วัดหลักที่มีผลต่อทัศนคติที่พร้อมปรับตัว คือ ตัวชี้วัดการเป็นเจ้าของแท็บเล็ต ซึ่งอยู่ในอันดับ 58 ทั้งในปี 2563 และ 2564
กล่าวโดยสรุป อันดับที่ไทยได้ยังค่อนไปในทางไม่ค่อยดี จากนี้ไปจึงต้องพัฒนาอีกหลายองค์ประกอบหรือตัวชี้วัดเพื่อพัฒนาบุคลากรให้เป็นบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัล เปิดรับการเรียนรู้และความเปลี่ยนแปลงในอนาคต แต่ใครหรือหน่วยงานใดจะก้าวขึ้นมาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ประเทศได้อย่างแท้จริง?
................................................................................................
ที่มา