UCEP Plus คือ ระบบที่รองรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้าข่ายตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ทุกแห่ง ตามสิทธิ UCEP Plus ได้ สำหรับผู้ป่วยโควิดที่เข้าเกณฑ์ UCEP Plus ต้องมีผลตรวจ ATK หรือ RT-PCR เป็นบวก ร่วมกับมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ UCEP Plus
มีสิ่งอุดกั้นทางเดินหายใจ หายใจลำบากเฉียบพลัน มีภาวะช็อก มีภาวะโคม่า ซึมลง (เมื่อเทียบกับระดับความรู้สึกเดิม) หรือกำลังชักเมื่อแรกรับที่จุดคัดแยก
มากกว่า 24 ชั่วโมง หรือหายใจเร็วมากกว่า 25 ครั้งต่อนาทีในผู้ใหญ่ หรือออกซิเจนในเลือดเมื่อแรกรับน้อยกว่า 94% หรือมีระดับออกซิเจนลดต่ำลงกว่าภาวะปกติ 3% เมื่อออกแรง หรือโรคประจำตัวเปลี่ยนแปลงรุนแรง หรือจำเป็นต้องรับการติดตามใกล้ชิดตามดุลยพินิจของแพทย์ หรือในเด็กมีอาการหายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนมหรือกินอาหารน้อยลง หรือผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงตามดุลยพินิจของแพทย์
ได้แก่ เหนื่อยหอบ หายใจเร็ว มีปัจจัยเสี่ยงอาการรุนแรงหรือโรคร่วม เช่น อายุมากกว่า 60 ปี โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ ไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่คุมไม่ได้ ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม หญิงตั้งครรภ์ ตับแข็ง ภูมิคุ้มกันต่ำ และเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 1,000 เซลล์ต่อไมโครลิตร หรืออื่น ๆ ตามดุลยพินิจของผู้คัดแยก
โดยการใช้สิทธิ สามารถโทรแจ้ง 1669 โรงพยาบาลจะประเมินอาการและรักษาเบื้องต้น และกรอกรายละเอียดอาการผ่านโปรแกรม PA ของ สพฉ. หากเข้าเกณฑ์ UCEP Plus จะสามารถใช้สิทธิได้ทันที
ทั้งนี้ สพฉ.ได้เตรียมศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต หมายเลข 02-872-1669 เพื่อให้คำปรึกษากรณีมีข้อสงสัยหรือมีปัญหาในการใช้สิทธิ รวมถึงสถานพยาบาลเอกชนกว่า 300 แห่ง ก็ใช้ในการประสานงานกรณีมีข้อติดขัดการลงข้อมูลผ่านระบบเช่นกัน
การใช้สิทธิ UCEP Plus ผู้ติดเชื้อสิทธิบัตรทอง
เข้ารับการรักษาโรงพยาบาลใดก็ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ยกเว้นค่าห้องพิเศษหรืออาหารพิเศษนอกเหนือสิทธิประโยชน์
ไปรับบริการสถานพยาบาลปฐมภูมิในระบบบัตรทองได้ทุกที่โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และหากอาการเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือแดง สามารถส่งต่อไปโรงพยาบาลเอกชนเพื่อรับการรักษาจนหายได้โดยไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเช่นกัน
สำหรับปัญหาสายด่วน 1330 ได้ขยายคู่สายเพิ่มเป็น 3,200 คู่สาย มีสายโทรเข้าลดลงเหลือ 44,447 สาย สายหลุดหรือไม่ได้รับสาย ลดลงจาก 37% เหลือ 13% ทั้งนี้ สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ สปสช. หรือไลน์ @nhso จะจับคู่กับหน่วยบริการที่ให้บริการได้รวดเร็วขึ้น
สำหรับผู้ประกันตนที่ติดเชื้อโควิดกลุ่มสีเขียว สามารถเข้าโรงพยาบาลคู่สัญญาของประกันสังคมได้ทุกแห่ง ไม่จำเป็นต้องเป็นโรงพยาบาลที่ลงทะเบียนไว้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนสิ้นสุดการรักษา ส่วนกรณีกลุ่มสีเหลืองหรือสีแดง สามารถเข้าโรงพยาบาลได้ทั้งรัฐและเอกชน โดยประกันสังคมจะเข้าไปร่วมจ่ายทั้งหมด หากมีข้อสงสัยสามารถโทรสายด่วน 1506 กด 1
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข,ไทยรู้สู้โควิด