ชุดตรวจ ATK สามารถตรวจพบ โควิด-19 ได้ 100% จริงหรือไม่ อันนี้เป็นประเด็นมากตั้งแต่เริ่มมีชุดตรวจชนิดนี้ออกมาใหม่ ๆ
ข้อจำกัดของชุดตรวจโควิดแบบ ATK
ถ้าตรวจได้แบบผลเป็นลบ (negative) หรือไม่พบเชื้อ โอกาสที่จะไม่เป็นจริงประมาณ 20-30% แต่ก็สูงเพียงพอ ที่คนกลุ่มหนึ่งมีผลเป็นผลเป็นลบ (negative)แล้ว ก็มาตรวจพบทีหลังว่าเป็น ก็เลยทำให้เกิดปัญหามาก จะพบข่าวแบบนี้อยู่เรื่อย ๆ ว่าเคยตรวจแล้วผลเป็นลบ (negative) ผ่านไปอีกสักพักก็เป็นทำให้เกิดปัญหา เพราะฉะนั้นเมื่อตรวจเจอว่าผลเป็นลบ (negative) พึ่งชะล่าใจให้ระมัดระวังว่าอาจจะยังเป็นได้อยู่ เพราะชุดตรวจ ATK ไม่สามารถที่จะตรวจจับได้หมด
สำหรับคำแนะนำถ้าผ่านไป 2-3 วัน ให้ลองตรวจอีกครั้ง เพื่อดูว่ายังไม่ขึ้นหรือเปล่าจะเป็นตัวเพิ่มความสามารถในการตรวจจับ หรือถ้ารู้สึกกังวลว่าจะเป็นหรือเปล่าให้ตรวจด้วยวิธีมาตรฐาน คือ PCR จะสามารถตรวจได้แม่นยำกว่า
เบื้องต้นถ้าผลตรวจโควิดจากชุดตรวจ ATK เป็นลบอาจต้องเตรียมใจว่าเป็นผลลบลวง เราอาจจะมีเชื้อแต่บังเอิญว่าผลอาจจะไม่ขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าเป็นกลุ่มเสี่ยงมาก ๆ ก็พยายามที่จะไม่ไปพบปะผู้คน รวมถึงต้องมีการตรวจซ้ำ
จริง ๆ แล้วชุดตรวจ ATK มีหลายรูปแบบมาก บางรุ่นใช้น้ำลาย ดูง่าย เพียงแค่เอามาสุมไว้ที่ปาก ก็สามารถซึมออกมาจากน้ำลายได้เอง บางรุ่นอาจจะต้องมีการแหย่ลึก แหย่ตื้น วิธีการเหล่านี้จะมีผลต่อการอ่านค่า หรือบอกได้ว่าติดโควิดหรือไม่ติดโควิด
วิธีหรือแหล่งที่เก็บเชื้อก็เป็นประเด็นอีกมาก ว่าเราควรจะเก็บจากตรงไหนบ้าง จริง ๆ วิธีมาตรฐานที่สุดของที่ตรวจในโรงพยาบาล คือ การเก็บเชื้อที่โพรงหลังจมูก คือ ด้านหลังของจมูกที่ติดกับคอหอย ซึ่งเป็นจุดที่เชื้อชอบอยู่ตรงนั้นมากที่สุด แต่ในจมูกคนเรามีน้ำมูกมากประมาณหนึ่ง เชื้ออาจจะถูกพัดอยู่ในจมูก เลยจิ้มเฉพาะด้านหน้าของจมูกก็ได้ ซึ่งง่ายกว่าและไม่ได้ลึกมาก และคนจะกล้าตรวจกันมากกว่าในช่องคอ
ทั้งนี้ในช่องคออาจมีส่วนของเชื้อโรคที่อยู่บริเวณนั้น ก็สามารถเอาเชื้อไปตรวจได้ แต่ทั้งหมดเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นในจมูก ช่องคอ หรือน้ำลายก็แล้วแต่ ก็จะไม่ชัดเจนเท่าในโพรงจมูกที่เป็นมาตรฐาน เพราะฉะนั้นถ้าต้องการความชัวร์ ให้เอาเชื้อจากด้านหลังของโพรงจมูก
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับว่าอุปกรณ์ในชุดตรวจ ATK ถูกออกแบบมาเพื่อตรวจแบบไหน เก็บตัวอย่างจากตรงไหนลองอ่านในคู่มือที่มาคู่กัน
ขอบคุณข้อมูลจาก ผศ.ดร.นพ.ปวิน นำธวัช อาจารย์ประจำภาควิชาระบาดวิทยาคลินิกและชีวสถิติ จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี