รัฐบาลแอฟริกาใต้ออกใบอนุญาตล่าสัตว์และส่งออกสัตว์ป่าประจำปี 2022 ซึ่งรวมไปถึงแรดดำที่่ใกล้สูญพันธุ์ เสือดาวและช้าง ทำไมแอฟริกาถึงมีการล่าแบบนี้ ถูกกฎหมายจริงไหม?
การล่าสัตว์ป่า แน่นอนว่าคนรักสัตว์หรือนักอนุรักษ์หลายคน เมื่อได้ยินคำนี้คงจะเป็นอะไรที่ไม่ชอบเอามากๆ เพราะการล่าสัตว์นั้นหมายถึงการพรากชีวิตของสัตว์ป่าโดยใช้เหตุ ยิ่งเฉพาะในศตวรรษที่ 21 ด้วยแล้ว การล่าสัตว์ป่านั้นแทบจะไม่จำเป็นเลย หากเทียบกับสมัยก่อนที่มนุษย์จะล่าสัตว์เพื่อการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์
แอฟริกาหรือทุ่งหญ้าสะวันนา ถือเป็นอีกพื้นที่แห่งหนึ่งของโลกที่มีพื้นที่และอาณาเขตกว้างไกล เปรียบเสมือนบ้านหลังใหญ่ของสัตว์ป่า และมีความเข้มงวดในด้านของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อยู่บ่อยครั้ง แม้ว่าการประกาศออกมาแบบนี้อาจไม่ถูกใจใครหลายคน ลองไปดูกันก่อนไหมว่าเขามีเหตุผลอย่างไร ทำไมถึงอนุญาตให้มีการล่าสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ได้
นางบาร์บารา ครีซี (Barbara Creecy) รัฐมนตรีกระทรวงงป่าไม้ ประมงและสิ่งแวดล้อม ได้ประกาศยืนยันจัดกิจกรรมสำหรับนักล่า ในการอนุญาตให้ล่าแรดดำ เสือดาว และช้างในแอฟริกาใต้ประจำปี 2022
โควตาการล่าเป็นอย่างไร?
โควตาสำหรับปี 2022 ในการล่าสัตว์และส่งออกสัตว์ 3 สายพันธุ์ ได้รับการทบจำนวนมาจากปี 2021 ที่ไม่ได้จัดกิจกรรม ซึ่งมันจะถูกกำหนดขึ้นหลังจากสิ้นสุดฤดูกาลล่าสัตว์ หรือก็คือโควตาในปีนี้จะถูกรวมร่วมกับการโควตาปีที่แล้ว และในปี 2022 จะมีการปรึกษาหารือสำหรับโควตาปี 2023 โดยจะเกิดขึ้นในระหว่างปีนี้
การล่าจะถูกกำกับและควบคุมดูแลโดยรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การล่าจะถูกจำกัดหรืออนุญาตให้ล่าได้ในพื้นที่ที่รัฐบาลเป็นคนกำหนด เพราะเห็นสมควรแล้วพื้นที่แห่งนั้น มีการขยายตัวของประชากรสัตว์คงที่หรือเพิ่มขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สำรวจสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ 10 สายพันธุ์แห่งปี 2021 ที่ต้องเร่งอนุรักษ์แล้ว!
สัตว์สูญพันธุ์จำนวนมากในรอบ 100 ปี และจะเพิ่มขึ้นอีกด้วยน้ำมือมนุษย์
รายละเอียดของโควตาสำหรับปี 2022 มีดังนี้
10 เสือดาวจะถูกจัดสรรดังนี้
หน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ได้แนะนำให้เสือดาวที่จะล่าต้องมีอายุ 7 ปีขึ้นไป เพื่อให้แน่ใจถึงความยั่งยืนทางนิเวศวิทยา
บรรทัดฐานและมาตรฐานสำหรับการล่าเสือดาวในแอฟริกาใต้อยู่ในขั้นสุดท้ายของการดำเนินการ และคาดว่าจะไดรับการเผยแพร่เร็วๆนี้
ช้าง 150 ตัว
ตามโควตาการส่งออกช้างแอฟริกาประจำปีของ CITES จำนวน 300 งา จากช้าง 150 ตัวในแอฟริกาใต้
10 แรดดำ
โควตานี้อิงตามโควตาที่ระมัดระวัง/อนุรักษ์นิยมที่ CITES นำมาใช้ในปี 2018 โดยมีเป้าหมายเพื่อ
ทำไมถึงอนุญาตให้ล่า?
ทางรัฐบาลแอฟริกาใต้กล่าวว่า การล่านี้ถูกพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ทั้งในแง่ของการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ความหลากหลายทางชีวภาพ และในแง่ของการสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจ ซึ่งเหตุผลหลักจะมีอยู่ 2 ประการด้วยกัน ดังนี้
ประการแรก - อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า การล่าจะถูกจำกัดไว้ในพื้นที่ที่ถูกจัดไว้ให้ตามเกณฑ์ที่เข้มงวดเพื่อให้แน่ใจว่าอยู่ในแผนการอนุรักษ์ ไม่ว่าจะทางประชากร และ/หรือ ทางพันธุกรรม ที่จะได้รับการปรับปรุง (ตามที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของแรดดำ) ดังนั้นการล่านั้นมีขึ้นเพื่อการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์และควบคุมประชากรสัตว์
โควตาสำหรับแรดดำขึ้นอยู่กับการประมาณการประชากรแรดดำต่อสายพันธุ์ย่อย ซึ่งทั้งสามชนิดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน มีเพียงส่วนน้อยของประชากรช้างทั้งหมดที่ถูกล่าในหนึ่งปี (น้อยกว่า 80 ตัว ซึ่งน้อยกว่า 0.3% ของประชากรทั้งหมด) ฝูงช้างมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและมีโควตา 150 ตัวในอาณาเขตที่ยั่งยืนที่รัฐจัดสรรไว้
โควตาจะได้รับการตีพิมพ์ในประกาศตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ของสัตว์ป่าและพันธุ์พืช (CITES) และในแง่ของการจัดการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (พระราชบัญญัติความหลากหลายทางชีวภาพ(NEMBA))
แอฟริกาใต้เป็นหนึ่งในประเทศที่ดำเนินการกำจัดช้าง แรดดำ และเสือดาวอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดที่มีอยู่เกี่ยวกับสถานะการอนุรักษ์ของพวกมัน และทำให้แน่ใจว่า การล่าสัตว์เหล่านี้จะไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อประชากรในป่าของสายพันธุ์เหล่านี้
การล่าสัตว์ที่มีการควบคุมและยั่งยืนเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์ที่สำคัญในแอฟริกาใต้ เนื่องจากเป็นการจูงใจให้ภาคเอกชนและชุมชนอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าที่มีคุณค่า และมีส่วนร่วมในการใช้ที่ดินจากสัตว์ป่า ซึ่งท้ายที่สุดแล้วกิจกรรมทั้งหมดจะกลายเป็นการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ
ประการที่สอง - รายได้ที่เกิดจาการล่ามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับชุมชนในชนบทชายขอบและยากจน
การจะทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สัตว์ป่าและพรรณพืชได้นั้น รวมไปถึงการกระตุ้นความหลากหลายทางชีวภาพ และผนวกรวมกับยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ
กิจกรรมเหล่านี้จะสร้างการเติบโตขนาดใหญ่ทางเศรษฐกิจในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและการจ้างงานในวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงโอกาสในการลดอัตราความยากจนของประชากร
ด้านการล่าสัตว์มีส่วนในการกระตุ้นเศรษฐกิจหมุนเวียนถึง 1.4 พันล้านแรนด์ หรือประมาณ 3 พันล้านบาทไทยในปี 2019 ที่ยังไม่รวมการสนับสนุนทางเศรษฐกิจเพื่อการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการล่า และซาฟารีทั้งหมด
มีการจ้างงานคนงานมากกว่า 418,000 คนในปี 2019 ซึ่งเทียบได้กับการขุดเหมือง เป็นอีกด้านที่คาดว่าจะแสดงการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานต่อไปในอนาคตอันใกล้
สายพันธุ์เหล่านี้เป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรม การล่าสัตว์ของนานาชาติเป็นการสร้างชีวิตชีวาให้แก่ผู้ล่า และการล่าสัตว์ที่เป็นมรดกและวัฒนธรรมของแอฟริกาใต้ คือภาคส่วนที่สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจในชนบทของแอฟริกาใต้
อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) กำหนดให้แอฟริกาใต้ต้องกำหนดโควตาการส่งออกการล่าสัตว์ สำหรับช้างแอฟริกา แรดดำ และเสือดาว โควตาซึ่งอยู่ภายใต้การตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์โดยหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ อีกทั้งยังได้รับการสื่อสารไปยังระดับจังหวัดเพื่อนำไปปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม
สรุปจากผู้เขียน
การล่าสัตว์นี้ถูกจัดขึ้นอย่างถูกกฎหมายและการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการพิจารณาจากนักวิทยาศาสตร์และกระทรวงสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะสามารถสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าใหล้สูญพันธุ์ ควบคุมประชากรสัตว์และสร้างเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนและประเทศได้ โควตาการล่านั้นมีจำกัด ผู้ล่าจะต้องทำตามกฎระเบียบของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด และดำเนินการล่าในเขตที่รัฐจัดไว้ให้ว่ามีจำนวนสัตว์ให้ล่าได้อย่างเหมาะสม
การล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะจำนวนประชากร แรดดำ เสือดาวและช้างนั้นมีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หากเทียบกับปีก่อนๆ อีกทั้งการล่าจะช่วยให้ชุมชนและประเทศสามารถขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจและเม็ดเงินได้ จากกิจกรรมล่า การท่องเที่ยวและซาฟารี อันเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของแอฟริกาใต้ อีกทั้งการล่าเป็นอีกหนึ่งวิธีการอนุรักษ์ตามแบบฉบับของแอฟริกา
โดยปกติ แอฟริกาใต้เป็นพื้นที่ที่มีประชากรสัตว์ที่หลากหลาย มีอาณาเขตกว้างใหญ่ เศรษฐกิจหลักของประเทศคือการท่องเที่ยวเชิงซาฟารี ชมวิถีชีวิตสัตว์ป่าเป็นหลัก อีกทั้งรายได้ทั้งหมดจากกิจกรรมการล่าจะถูกนำไปให้ชุมชนชายขอบที่ยากจนและเพื่อส่งเสริมในด้านการหางานและสร้างอาชีพให้กับชุมชนด้วย
ที่มาข้อมูล