svasdssvasds

ประหยัดพลังงาน อย่างชาญฉลาด 3 เมืองสวรรค์นักปั่น ปลอดภัย เป็นมิตร ยั่งยืน

ประหยัดพลังงาน อย่างชาญฉลาด 3 เมืองสวรรค์นักปั่น ปลอดภัย เป็นมิตร ยั่งยืน

ส่องนโยบาย ประหยัดพลังงาน ที่ใช้ได้จริง เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน จักรยานเป็นคำตอบเพื่อลดมลพิษ และ ลดค่าใช้จ่าย แถมได้สุขภาพที่ดี โดยการใช้ชีวิตประจำวันด้วยสองล้ออย่างปลอดภัยและเป็นมิตร เพราะว่าการพึ่งพารถยนต์ที่ใช้น้ำมันนอกจากเผาผลาญพลังงานและยังเพิ่มความเครียด

เทรนด์มาแล้วก็ไป แต่จักรยานเป็นยานพาหนะ ที่ยืนหยัดในการเป็นตัวเลือกสำหรับการสัญจรได้มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่มีการคิดค้นจักรยานต้นแบบขึ้นในปี 1817 โดยชาวเยอรมันที่ชื้อว่า Karl von Drais ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งจักรยาน
 

ดัชนีโคเปนเฮเกน เป็นการจัดอันดับ เมืองที่เป็นมิตรกับจักรยาน มากที่สุดในโลก 20 เมือง ทั่วโลก คลอบคลุมทุกภูมิภาค โดยเริ่มต้นสำรวจและจัดอันดับทุกๆ 2 ปีมาตั้งแต่ปี 2011 โดยผลการจัดอันดับล่าสุดในปี 2019 เป็นครั้งที่ 5 พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอันดับและมีประเทศหน้าใหม่ที่เข้ามายืนในรายการนี้เพิ่มขึ้น ได้แก่ โบโกตา เบรเมน ไทเป และแวนคูเวอร์ โดยมีโตเกียวที่เป็นตัวแทนหมู่บ้านมาตั้งแต่การจัดอันดับครั้งแรกให้กับชาวเอเชียด้วยเช่นกัน 

รายชื่อประเทศในการสำรวจเมืองที่เป็นมิตรสำหรับนักจักรยานในรอบ 5 ครั้งที่ผ่านมา ข้อมูลจาก copenhagenize index
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

โดยรวบรวมคะแนนจากทั้งหมด 115 เมือง ให้คะแนนตั้งแต่ 0-4 โดยแบ่งเกณฑ์เป็น 13 หมวด ซี่งมีแกนหลักที่พิจารณา เมืองที่เป็นมิตรกับจักรยาน ไว้ 3 ประเภท ได้แก่ 

Streetscape โครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมกับจักรยาน สิ่งอำนวยความสะดวก การจราจร 
Culture วัฒนธรรมในการปั่น เพศวัยที่ใช้งาน การเพิ่มจำนวนผู้ขี่ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ความปลอดภัย ภาพลักษณ์คนขี่ต่อส่วนรวม จำนวนจักรยานบรรทุกในท้องถนน
Ambition ความมุ่งมั่นและแรงสนับสนุนจากเมือง การแบ่งปั่นจักรยานเพื่อการขับขี่ การวางผังเมือง

โดย 20 เมืองที่ขับเคี่ยวไต่อันดับขึ้นมาอยู่ในรายการนี้ ได้แก่ 
20 อันดับเมืองที่เป็นมิตรกับนักปั่นจักรยานประจำปี 2019 ข้อมูลจาก copenhagenize index

3 เมืองที่ได้รับคะแนนสูงสุดและนโยบาย เมืองที่เป็นมิตรกับจักรยาน  มีดังนี้ 

1.Copenhagen

  • คนใช้จักรยานในการเดินทางไปทำงานหรือปั่นไปโรงเรียน 62%
  • จากค่าเฉลี่ย ชาวโคเปนเฮเกนปั่นจักรยาน 894,000 ไมล์ทุกวัน
  • มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสำหรับจักรยานมากกว่า 45 ดอลลาร์ต่อหัว
  • มีการก่อสร้างสะพานสำหรับขี่จักรงานเพิ่มขึ้น 4 แห่ง 
  • มีการก่อสร้างทางหลวงสำหรับจักรยานความยาว 104 ไมล์

2.Amsterdam

  • ปรับปรุงจุดจอดจักรยานเพื่อรองรับประชากรใหม่ที่เพิ่มขึ้นปีละ 11,000 คน
  • สร้างเส้นทางหลวงสำหรับจักรยานใหม่เพื่อลดความแออัดในชั่วโมงเร่งด่วน
  • ขยายเส้นทางจักรยานกว้างขึ้นมากกว่า 8 ฟุต 
  • สร้างเส้นทางจักรยานสำหรับการปั่นด้วยความเร็วต่ำ
  • ออกแบบทางแยกหลักใหม่เพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับนักปั่นและป้องกันอุบัติเหตุ

3.Utrecht

  • แม้โครงสร้างพื้นฐานไม่อำนวยและใช้การลงทุนด้านนวัตกรรมเพื่อความสะดวกสำหรับนักปั่น 
  • การใช้สัญญาณไฟจราจรอัจฉริยะ 'ช่องทางด่วน' โดยเฉพาะสำหรับนักปั่น
  • การขยายความจุสำหรับพื้นที่จอดรถจักรยานสาธารณะเพิ่มขึ้นเป็น 22,000 ถือว่ามากที่สุดในโลกขณะนี้ โดยมีของเอกชนอีก 11,000 แห่งที่พร้อมจะสนับสนุนโครงการนี้
  • กลยุทธ์การเชื่อมต่อเส้นทางจากรถไฟและทางจักรยาน เพื่อลดการใช้รถยนต์
  • ตั้งเป้าหมายเพิ่มจำนวนปริมาณการใช้จักรยานให้เพิ่มขึ้นภายในปี 2030 


ขึ้นชื่อว่าเป็นเขตเมือง ย่อมตามมาด้วยความหนาแน่นและจำนวนประชากรมากกว่าในชนบท จาก 3 ประเทศที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า นโยบายจากทางภาครัฐเอื้อประโยชน์และจูงใจในชาวเมืองแต่ละเมืองมีความสะดวกในการปั่นและคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ขี่มาเป็นอันดับแรก เพื่อเพิ่มนักปั่นหน้าใหม่และนักปั่นหน้าเดิมได้ใช้จักรยานในชีวิตประจำวันได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ยังลงทุนกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานและภูมิทัศน์เพื่อผู้ปั่นได้เพลิดเพลินและมีความสุขโดยผลพลอยได้ที่เมืองจะได้ก็คือพลเมืองสุขภาพดี ไม่เครียดกับปัญหารถติด ทั้งยังลดมลพิษทางอากาศและประหยัดค่าเดินทาง ถือเป็นความคุ้มค่าที่ยิงปืนนัดเดียวได้ประโยชน์ทั้งเมืองและผู้คนทีอาศัยอยู่

ข้อมูลจาก TDRI ในปี 2020 ระบุว่า ถนนประเทศไทยเป็นถนนที่อันตรายที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหนึ่งในถนนที่เลวร้ายที่สุดของโลกเช่นกัน แต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนประมาณ 20,000 คน หรือประมาณ 56 ต่อวัน

แม้มีการรณรงค์และสร้างเส้นทางปั่นจักรยานในกรุงเทพฯมาตั้งแต่ปี 2557 กรุงเทพมหานครมีทางจักรยานทั้งหมด 48 เส้นทาง รวมระยะทาง 230 กิโลเมตร แต่นักปั่นจักรยานที่ใช้งานจริง กลับไม่ได้ใช้งานจริงและไม่ได้เพิ่มจำนวนนักปั่นจักรยานให้มากขึ้นในจุดที่คุ้มค่ากับการลงทุน และไม่เกิดผลตามที่เป้าหมาย เนื่องจากการออบแบบเส้นทางไม่ต่อเนื่องและเชื่อมต่อกัน ปัญหารถหาย สภาพถนนและสิ่งกีดขวาง วินัยการจราจร การบังคับใช้กฏหมาย รวมถึงความปลอดภัยในการปั่นจักรยานที่ไม่จูงใจให้คนอยากปั่นบนถนนในชีวิตประจำวัน นอกจากยกจักรยานขึ้นรถไปปั่นกันในวันหยุดสุดสัปดาห์ตามสถานที่ปิดที่เปิดเลนเฉพาะให้สำหรับนักปั่น

จากข่าวข่าวนักปั่นจักรยานมืออาชีพที่เข้ามาจบชีวิตที่เมืองไทยที่มีให้เห็นทุกปี ทั้งเป็นข่าวในประเทศและต่างประเทศ เช่น 

  • ในปี 2556 ปีเตอร์ รูท และแมรี่ ทอมป์สัน นักปั่นจักรยานรอบโลกชาวอังกฤษ ถูกรถบรรทุกชนเสียชีวิตทั้งคู่ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • ในปี 2558 ฮวน ฟรานซิสโก นักปั่นชาวชิลิ ที่ปั่นมาแล้วกว่า 5 ทวีปรอบโลกก็มาเสียชีวิตที่จังหวัดนครราชสีมา 
  • ในปี 2561 รัสซาล เรเปรส นักปั่นชาวฟิลิปปินส์ เสียชีวิตขณะแข่งขันรายการ Audax Randonneurs ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา 
  • กรณีล่าสุด วันที่ 21 ก.พ. 2565 อุบัติเหตุรถกระบะชนรถจักรยานชาวต่างชาติเสียชีวิตคาที่ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา 

ไทยนอกจากไม่เป็น เมืองที่เป็นมิตรกับจักรยาน ยิ่งตอกย้ำถึงอันตรายและความเสี่ยงที่จะได้รับอุบัติเหตุแก่ผู้ปั่นจักรยาน แม้จะชื่นชอบและอยากลดการใช้พลังงาน ก็ไม่ตอบโจทย์และอยากเอาชีวิตไปทิ้งบนท้องถนนฟรีๆ แล้วการลดพลังงานอย่างที่รัฐต้องการควรไปในทิศทางไหน เพราะนอกจากรถเมล์ที่คาดเดาเวลาไม่ได้ ค่าตั๋วรถไฟฟ้าที่แสนแพงเมื่อเทียบกับรายได้ประชากร อยากให้ลดใช้พลังงานแต่ยังมีถนนและทางด่วนผุดขึ้นรอบเมือง เหมือนกำลังแต่ปัญหาอย่างหลงทิศหลงทางและย้อนแย้งในตัวเอง

ที่มา
1 2 3 

related