ปัญหาอัตรา เด็กเกิดใหม่ น้อยลงถือเป็นปัญหาระดับนานาชาติที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญ เช่น เดียวกันกับประเทศไทย จำนวนประชากรเกิดในประเทศไทยปี 2564 ที่ผ่านมาจำนวนการเกิดต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ประเทศ ที่จำนวน 544,570 คน จากจำนวน 818,901 คนในปี 2555 ลดลงอเนื่อง
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คาดการณ์ว่า ประชากรไทย จะลดลงเหลือ 69 ล้านคนในปี 2593 และเหลือ 47 ล้านคนในปี 2643 มาดูแนวทางการเพิ่มจำนวนประชากรของแต่ละประเทศกันดูว่ามีข้อไหนที่ประเทศของเราสามารถนำปรับใช้และกระตุ้นในคนหนุ่มสาวอยาก ผลิตทรัพยากรมนุษย์ หน้าใหม่เพิ่มขึ้นใหักับประเทศบ้าง
สิงคโปร์
กระทรวงพัฒนาสังคมและครอบครัว
กระตุ้นการสร้างครอบครัว ด้วยการนำการเสนอแพ็คเก็จเงินช่วยครอบครัว เช่น
ตั้งแต่ช่วง 1 ต.ค.2020 – 30 ก.ย.2022
เอกชนผู้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับทารกและแม่
ญี่ปุ่น
ไต้หวัน
อิตาลี
สหราชอาณาจักร
ส่วนในไทย นโยบายและยุทธศาสตร์ การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ (พ.ศ. 2560-2569) อัตราการเจริญพันธุ์ของไทยลดลงเหลือต่ำกว่า 1.5/1,000 ประชากร ในปัจจุบันแม้ว่าอัตราการเกิดจะลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่กลับพบว่าในการเกิดดังกล่าวถึงกว่าร้อยละ 25 เป็นการเกิดที่ไม่ได้ตั้งใจหรือไม่มีความพร้อมเกิดภาวะ “เด็กเกิดน้อย ด้อยคุณภาพ”
โครงการที่เกี่ยวข้องกับการเกิดและการเจริญเติบโตซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินงานโดยกระทรวงสาธารณสุข รวมแล้วมีจำนวน 144 โครงการ แต่ผลการดำเนินงานสำเร็จเพียงร้อยละ 21.2 เพราะหน่วยงานยังพึ่งพาการจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางเพื่อจัดกิจกรรม ทำให้ขาดความต่อเนื่องเมื่อไม่ได้รับการจัดสรร และอัตรากำลังบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุข ไม่เพียงพอและขาดความต่อเนื่อง ทั้งบุคลากรขาดความรู้และประสบการณ์การทำงาน ซึ่งโครงการบางส่วนที่ไทยพยายามผลักดันส่งเสริมการเจริญพันธุ์มีดังนี้
ไทย
โดยการมีบุตรนั้นจะต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ มีการวางแผน และมีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ รวมถึงมีการช่วยเหลือคู่ที่ประสบภาวะมีบุตรยากให้เข้าถึงบริการได้เร็วขึ้น
ผลกระทบในระยะยาว คือ
คาดการณ์จากวอชิงตันโพสต์ที่น่าสนใจระบุว่า
ทรัพยากรมนุษย์ จะเป็นกำลังสำคัญสำหรับการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจในอนาคต หลายประเทศจึงรณรงค์และให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับความต้องการ กระตุ้นให้คนต้องการสร้างครอบครัวและให้กำเนิดเด็กขึ้นมา ซึ่งปัจจัยที่จะดึงดูดให้คนเพิ่มจำนวนประชากร นอกจากปัจจัยแวดล้อมภายนอก เช่น คุณภาพชีวิต ความปลอดภัย ยังรวมถึงปัจจัยภายในเชิงนามธรรมที่ภาวะการเป็นผู้ปกครองในสังคมปัจจุบันนั้นไม่ง่ายเลย การจะเลี้ยงดูเด็กหนึ่งคนในเติบโตขึ้นมา แม้ว่าจะอยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้วก็ตาม ต้องเผชิญภาวะความเครียดจากโรคระบาดและเศรษฐกิจตกต่ำ ส่งผลต่อสำนึกทำให้หลายคู่รักเลือกที่จะครองคู่กันโดยไม่มีบุตร โดยเฉพาะผู้หญิงมีค่าเสียโอกาสมากมายที่ต้องหลุดลอยไปเมื่อตั้งครรภ์ สูญเสียการเติบโตในหน้าที่การงาน ความวิตกกังวลก่อนและหลังคลอด เงินและเวลามหาศาลที่ลงทุนไปกับเด็กคนนึงให้มีคุณภาพ ก็มีส่วนในการตัดสินท้องไม่ท้องของพวกเธอเช่นกัน การเตรียมความพร้อมองค์รวมเพื่อรองรับ สังคมผู้สูงอายุ ของไทยเอง ก็ยังช้ากว่าอัตราเพิ่มขึ้นของประชากรสูงวัยที่มีอยู่ อาชีพ สวัสดิการ การออกแบบเมือง เพื่อช่วยให้มีคุณภาพชีวิตเหมาะสมก็ยังต้องถกถามกันอีกต่อไป
ที่มา
Washingtonpost กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข