ปรับกลยุทธ์ธุรกิจให้ขายสินค้าได้โดนใจแต่ละ Generation ตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปหลังการระบาดโควิด-19
ปีที่ 2 เข้าปีที่ 3 หลังจากโควิด-19 เริ่มต้นและระบาดอยู่ในปัจจุบัน มีผลต่อการปรับเปลี่ยนและวิถีการใช้ชีวิตของคนในสังคม โดยเฉพาะการคาดหวัง เป้าหมายและพฤติกรรมที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากนโยบายต่างๆ เช่น การทำงานที่บ้าน หรือ การเว้นระยะห่างทางสังคม
จึงมีการทำนายแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคแต่ละเจนเนอเรชั่น ที่อยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญและเป้าหมายการใช้ที่ชีวิตที่แตกต่างกันตามช่วงวัย ซึ่งจะมีผลกับการทำการตลาดและธุรกิจที่ต้องการเอาใจและสื่อสารให้ตรงเจนเนอร์ชั่นของกลุ่มเป้าหมาย
- BABY BOOMER (2489 – 2507)
อายุ 57 – 75 ปี
ไลฟ์สไตล์ของ BABY BOOMER
75% ยังคงเน้นให้ความสำคัญการสุขภาพดีและความแข็งแรง
95% ให้ความสำคัญกับการอยู่บ้านและใช้เวลากับครอบครัว
จากการสำรวจของ NRF พบว่า 47% ใช้เวลาบนโลกอินเตอร์เน็ตมากขึ้น เพราะช่วยลดความโดดเดี่ยวและเชื่อมต่อกับคนในครอบครัว โดยที่ 75% มีเฟซบุ๊กเป็นของตัวเอง
ที่น่าสนใจคือตัวเลขการ ซื้อของออนไลน์ ของคนในวัยนี้เพิ่มสูงขึ้นถึง 67% เนื่องจากสถานการณ์โควิด ทั้งนี้จึงมีการเกิดใหม่ของการบริการต่างๆ ที่ช่วยลดข้อจำกัดของผู้สูงวัยในการใช้บริการผ่านออนไลน์
- Gen X (2508 - 2523)
อายุ 41 - 56 ปี
เป็นช่วงวัยที่พึ่งพาตัวเองและมีตารางชีวิต ตารางค่าใช้จ่าย ที่เป็นรูปธรรม เพราะเป็นกำลังหลักของครอบครัว
ทำให้มีความกังวลมากกว่าเจนอื่นๆ
รายงานจาก KPMG พบว่า 75% มีความวิตกกังวลตลอดเวลา สะสมความเครียดจากงานและความสัมพันธ์
42% และเหนื่อยล้ากับความผลักดันให้มีชีวิตที่ดีขึ้น 40%
เป็นวัยที่ใช้เฟซบุ๊กเป็นหลักถึง 81% รองลงมาคือ youtube 71% ซื้อของผ่านแคมเปญและโฆษณาออนไลน์
- Gen Y (1981 - 1996) หรือ Millennials
อายุ 25 - 40 ปี
เป็นวัยที่ใช้จ่ายกับการออกแบบตกแต่งที่อยู่อาศัยเพื่อสะท้อนตัวตน โดยดีไซน์ที่นิยมจะเป็นแบบนอร์ดิกหรือ มินิมอล เน้นความเรียบง่ายมากกว่าหรูหรา
75% ของคนในเจนนี้ติดการใช้สื่อโซเซียล จึงหาวิธีหลีกหนีและหลบจากหน้าจอโดยการออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง ตั้งแค้มป์ ท่องเที่ยว ดำน้ำ เป็นกลุ่มเป้าหมายของร้านคาเฟ่ชิคๆ
- Gen Z (1997- 2012)
อายุระหว่าง 9 - 24 ปี
ถูกยกให้เป็น “เจนแห่งความหวัง” เพราะเป็นวัยที่มีความกล้าวิพากษ์วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น และสร้างความเปลี่ยนแปลง เป็นผู้สร้างมีม และ เทรนด์ต่างๆ ให้เผยแพร่ในโลกออนไลน์ได้รวดเร็ว เพราะเปิดรับช่องทางใหม่ๆ ในการสื่อสาร
การสตรีมมิ่งและทำคอนเทนต์บนออนไลน์เป็นความบันเทิงและโอกาสที่ใช้หารายได้ ให้กำเนิดเทรนด์ Fin-Fluencer เช่น การไลฟ์ขายสินค้า ในกับผู้ติดตามของตัวเอง จนมีสปอนเซอร์มาจ้างทำคอนเทนต์ ผันตัวเป็นนักธุรกิจตั้งแต่อายุยังน้อย
ให้ความสำคัญกับสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น การบริโภคขนมแบบ Plant-Based ก็ สนับสนุนการซื้อสินค้าภายในท้องถิ่น และ สินค้ามือสองคุณภาพดี ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมทางทุกด้าน ทั้ง เพศ อายุ และนิยามความสวยงามที่เปิดกว้าง
- Gen Alpha (2010 - 2024)
เด็กรุ่นใหม่ที่มีอายุตั้งแต่ 11 ปีลงไป
จากสถานการณ์ความไม่แน่นอนเพราะการะบาดของโควิดทำให้ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้และการเข้าสังคม จึงมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการ และการจัดสรรพื้นที่รับดูแลสำหรับเด็กระหว่างที่ผู้ปกครองทำธุระจะทำให้ได้รับความสนใจและเป็นจุดขาย เช่น ห้องสมุด แคมป์ หรือ โรงหนัง เพื่อพักสายตาจากหน้าจอ คอนเทนต์ที่เจาะตลาดสำหรับเจนนี้จะช่วยแก้ปัญหาในการคัดกรองเนื้อหาสำหรับผู้ปกครอง
ถูกเรียกว่าเป็น Alphluence = Alpha และ Influencer เพราะใช้เวลาและครองสัดส่วนคอนเทนต์บนสื่อโซเซียลได้อย่างบรวดเร็ว รวมถึงการเป็นนักรีวิวได้เองที่บ้าน
ที่มาข้อมูล Creative Thailand