svasdssvasds

ภูเขาไฟปะทุส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ แล้วเอาตัวรอดอย่างไร?

ภูเขาไฟปะทุส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ แล้วเอาตัวรอดอย่างไร?

การระเบิดของภูเขาไฟ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ปัจจุับนเหลือภูเขาไฟอยู่บนโลกอีกกี่แห่งที่มีโอกาสปะทุ และหากเกิดภัยพิบัติเราควรเอาตัวรอดอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ

"ภูเขาไฟ" หนึ่งในภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อยู่ไกลตัวคนไทยมากที่สุด แต่ก็เป็นภัยที่ไม่ควรมองข้าม เพราะมันเกิดขึ้นได้และเคยเกิดขึ้นแล้ว แต่เป็นในรูปแบบของแผ่นดินไหวและสึนามิ ที่เคยคร่าชีวิตคนไทยไปหลายพันคนในอดีต แม้ว่าภัยพิบัตินั้นจะอยู่เหนือการควบคุมของมนุษย์เรา แต่เราก็สามารถรับมือและป้องการความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้

ภูเขาไฟปะทุส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ แล้วเอาตัวรอดอย่างไร? อีกประเด็นนึงที่น่าสนใจคือ สงสัยหรือไม่ว่าภัยธรรมชาติที่รุนแรงแบบนี้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวหรือไม่ และส่งผลต่อปัญหาต่อระบบนิเวศน์ด้านใดบ้าง Springnews จะสรุปให้ในบทความนี้

ผลกระทบจากการระเบิดของภูเขาไฟ

ฝนกรด

นับตั้งแต่การปะทุครั้งแรกของภูเขาไฟแต่ละลูก มันจะเริ่มปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์และไนโตรเจนออกไซด์ โดยก๊าซทั้ง 2 ชนิดนี้สามารถก่อเกิดเป็นฝนกรดได้ เมื่อมันมีปฏิสัมพันธ์กับน้ำและออกซิเจนในชั้นบรรยากาศ ซึ่งส่งผลเสียต่อดินและป่าไม้ โดยมันจะไปเป็นตัวทำละลายและพัดพาสารอาหารที่จำเป็นของดินออกไป และทำให้น้ำมีสภาพเป็นกรดมากขึ้น ไม่เอื้อต่อการทำการเกษตร

 

ผลเสียต่อร่างกายมนุษย์

หากผิวหนังของมนุษย์สัมผัสกับฝนหรืออากาศที่ลอยฟุ้งหลังภูเขาไฟระเบิดก็จะเกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง เนื่องจากมีการปนเปื้อนสารพิษ มีผลต่อดวงตา ระบบทางเดินหายใจ และการดื่มน้ำฝนทำให้เสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารพิษได้ด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปะการัง

ขี้เถ้าที่ร่วงหล่นลงมาสามารถกลบแนวปะการังได้ แม้ว่าปัจจุบันปะการังในหลายพื้นที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยู่แล้ว จึงทำให้เกิดการฟอกสีอยู่บ่อยครั้ง นอกจากนี้ การปะทุของภูเขาไฟนั้นยังได้ปล่อยธาตุเหล็กลงไปในน้ำมากขึ้น กระตุ้นการเติบโตของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินและฟองน้ำที่เป็นตัวทำลายแนวปะการัง ทำให้ปะการังต้องเริ่มต้นใหม่และอาจใช้เวลานานหลายปี

ปะการังจะปนเปื้อนจากเถ้าถ่านภูเขาไฟ สัตว์น้ำ

สัตว์น้ำคือสิ่งมีชีวิตที่มักได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการระเบิดของภูเขาไฟใต้น้ำ เนื่องจากเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของมันและการระเบิดครั้งหนึ่งส่งผลต่อวงกว้างในรัศมีหลายร้อยไมล์ทะเล ยกตัวอย่างการระเบิดของภูเขาไฟล่าสุดอย่างตองกา เขตเศรษฐกิจจำเพาะของตองกาทางทะเลมีพื้นที่เกือบ 700,00 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ใหญ่กว่าบนบกถึง 1,000 เท่า และชาวตองกาส่วนใหญ่มีอาชีพชาวประมงและพวกเขาดำรงชีวิตคู่กับมหาสมุทร เถ้าถ่านจากภูเขาไฟที่ร่วงหล่นลงไปในมหาสมุทรนั้นเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล ทำให้ปลาขาดอาหาร ไม่กล้าวางไข่ หลายตัวอาจตายและอีกหลายตัวต้องอพยพหนี ถึงขั้นว่านักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยต้องคอยตักเตือนชาวประมงว่า “ปลาที่อยู่ในน่านน้ำตอนนี้ติดพิษอยู่ ห้ามจับขึ้นมาเด็ดขาด”

สภาพภูมิอากาศ

การระเบิดของภูเขาไฟกชหนึ่งลูกส่งผลต่อสภาพแวดล้อมใกล้เคียงเป็นวงกว้างกว่าที่คิด และไม่ใช่เพียงแค่แนวระนาบ มันกระจายออกไปยังทุกทิศ รวมไปถึงชั้นบรรยากาศด้านบนด้วย ซึ่งทาง Nasa สามารถจับภาพได้จากนอกโลกได้หลายลูกเลย การกระจายเหล่านี้ เมื่อก๊าซ ฝุ่น และขี้เถ้าพุ่งสู่ชั้นบรรยากาศ ภูเขาไฟยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก เช่น ไอน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ ปริมาณที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศจากการปะทุครั้งใหญ่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงปริมาณก๊าซเหล่านี้ทั่วโลกมากนัก อย่างไรก็ตาม มีหลายครั้งในประวัติศาสตร์โลกที่ภูเขาไฟที่รุนแรงได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศอย่างมีนัยสำคัญและทำให้เกิดภาวะโลกร้อน

ปัจจุบันเหลือภูเขาไฟกี่ลูก

จากการรายงานของเว็บไซต์ Volcano จากองค์กร Smithsonian Institution ที่ได้ทำการบันทึกและศึกษาเกี่ยวกับภูเขาไฟโดยเฉพาะ ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ปัจจุบันมีภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่หรืออยู่ในสถานะ ‘การปะทุ’ ประมาณ 46 แห่งบนโลก โดยอัพเดตเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 และมีรายงานล่าสุดเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2022 ที่เริ่มมีการปะทุ 19 แห่ง แต่อาจไม่รุนแรงมากนัก ที่จริงก็มีอีกหลายแห่งที่ไม่ได้บันทึกไว้อีกเป็นร้อยๆลูกที่ยังคงอยู่ในสถานะภูเขาไฟ แต่เนื่องจากเป็นภูเขาไฟที่คาดการณ์ว่าดับสนิทแล้ว หรือมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก ทางองค์กรจึงไม่ได้รายงานเอาไว้

ภาพแผนที่ระบุที่ตั้งภูเขาไฟที่ยังปะทุอยู่ โดย Smithsonian Institution

การเอาตัวรอดและสิ่งที่ต้องพึงระวังหลังเกิดภูเขาไฟ

สิ่งที่ตามมาคือเสียงอันดังก้องสะท้อนฟ้า ควันไฟขนาดมหึมา แผ่นดินไหว และคลื่นสึนามิ ภัยธรรมชาติไม่นั้นเราไม่อาจเลี่ยงหรือหยุดยั้งไม่ให้มันเกิดขึ้นได้ แต่หากเผชิญภัยดังกล่าว การป้องกันและการเอาตัวรอดจึงสำคัญ ประเภทแรกคือหากคุณได้มีโอกาสเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีภูเขาไฟตั้งอยู่ เพื่อการท่องเที่ยวหรือเหตุผลใดก็แล้วแต่ และบังเอิญเกิดภูเขาไฟปะทุแบบไม่มีปี่ไม่ขลุ่ยขึ้นมา สิ่งแรงที่ควรมีคือสติ

  • คอยรับฟังข่าวเตือนภัยจากหน่วยงานในพื้นที่ หากมีการสั่งอพยพควรรีบไปยังจุดนัดรวมทันที
  • พกโทรศัพท์ติดตัวไปด้วย หากสัญญาณยังใช้ได้ เผื่อรับฟังการแจ้งข้อมูลจากหน่วยงานในท้องถิ่น
  • อาจมีการนัดพบที่จุดนัดหมายกับคนรู้จัก คนในครอบครัว คนสนิท หากบังเอิญต้องแยกกัน หาจุดนัดพบเพื่อมาพบกันอีก หากติดต่อทางโทรศัพท์ไม่ได้
  • สิ่งของจำเป็นหากหาได้ทัน คือผ้าคลุม เสื้อคลุมแขนยาว กางเกงขายาว หน้ากากกรองอากาศ แว่นตาป้องกันฝุ่นและสารพิษที่อาจปนเปื้อนมา รวมไปถึงเสบียงอาหาร ยารักษาโรคประจำตัว บัตรประชาชน
  • ไม่ควรหลบอยู่ภายในอาคาร และห้ามใช้ลิฟต์ ให้วิ่งลงบันไดลงมาทันทีและไวที่สุด เพราะแรงสะเทือนจากแผ่นดินอาจทำให้ตึกถล่มได้

และที่สำคัญก่อนเดินทางไปที่ใด ให้ศึกษาข้อมูลภัยพิบัติทางธรรมชาติให้ถี่ถ้วนเสียก่อน เช่น สถานที่ที่จะไปมีภูเขาไฟ ไฟป่า หรือภัยพิบัติรูปแบบใดที่สามารเกิดขึ้นได้บ้าง ภูเขาไฟมีโอกาสปะทุแค่ไหนในช่วงที่คุณเดินทาง ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ที่ Current Eruptions

เอาตัวรอดจากสึนามิ

หากเป็นกรณีของการอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ริมทะเล และได้รับแจ้งเตือนกระระเบิดของภูเขาไฟในบริเวณประเทศใกล้ ให้เดินห่างจากชายฝั่งไปให้ไกลที่สุดทันที เพราะหากเกิดแรงระเบิดแล้ว คลื่นสึนามิกำลังก่อตัวและกระจายมายังตัวคุณได้ ให้สังหรณ์ใจไว้ก่อนทันที

  • อย่าลืมสังเกตน้ำทะเลด้วยว่าอยู่ๆน้ำทะเลลดระดับลงอย่างรวดเร็วจนผิดปกติหรือไม่ เพราะนั่นคือสัญญาณของคลื่นสึนามิ ให้รีบวิ่งห่างจากทะเลทันทีและขึ้นที่สูงที่มั่นคงที่สุด หรือภูเขาสูง
  • หากหนีไม่ทัน หาที่เกาะที่มั่นคงเท่าที่จะหยิบจับได้และเกาะไว้ให้แน่นที่สุด
  • หากหาที่หลบภัยได้แล้ว ให้อยู่ตรงนั้นจนกว่าคลื่นจะสงบหรือไม่ได้ยินเสียงดังด้านนอก คอยสังเกตให้ดี เพราะคลื่นอาจมีหลายลูกและจะตามมาเรื่อยๆ

นี่คือหลักการเบื้องต้น และอย่าได้ใจไป หากได้รับแจ้งว่ามีคลื่นสึนามิสูง 1 เมตรกำลังตรงมา เพราะความสูงกับแรงนั้นเทียบกันไม่ได้เลย ไม่ว่าจะกี่เมตร หรือสูงเพียงไปกี่เซนติเมตร คุณก็ต้องออกห่างจากตรงนั้นทันที ความแรงของคลื่นอาจทำให้คุณล้มและจมหายไปกับคลื่นได้

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่การป้องกันเบื้องต้นและเป็นเกร็ดความรู้เกี่ยวกับภูเขาไฟและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากคุณได้มีโอกาสเดินทางไปยังที่ต่างๆที่เป็นพื้นที่ของภูเขาไฟ เราไม่สามารถหยุดยั้งการเกิดขึ้นของภัยพิบัติได้ เราสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมของเราที่เป็นพิษต่อโลกได้ มาร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันนะ

ที่มาข้อมูล

https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18063533/

https://volcano.si.edu/gvp_currenteruptions.cfm

https://scied.ucar.edu/learning-zone/how-climate-works/how-volcanoes-influence-climate

https://www.usgs.gov/faqs/how-many-active-volcanoes-are-there-earth

https://www.reuters.com/business/environment/tongas-volcanic-eruption-may-harm-environment-years-scientists-say-2022-01-18/

https://nanavolcano.wordpress.com/

https://today.line.me/th/v2/article/YZRJOW

related