ภูเขาเอเวอเรสต์คือเขาที่สูงที่สุด ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์และสภาพอากาศที่รุนแรง ซึ่งได้กระตุ้นผู้กล้าหลายรายให้ไปท้าทาย แต่เอเวอเรสต์คือภูเขาที่สูงที่สุดจริงเหรอ
ภูเขาหิมะ Everest อัญมณีบนมงกุฎแห่งเนปาล เป็นภูเขาอันดับแรกๆที่ผู้พิชิตมักนึกถึงอยู่เสมอ เช่นเดียวกับการที่เรารู้ว่า นีล อาร์มสตรองเป็นคนแรกที่เดินบนดวงจันทร์ หรือวาฬสีน้ำเงินคือสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
คุณอาจจะแปลกใจในบทความนี้ว่ามียอดเขาอื่นที่สูงกว่าเอเวอเรสต์อยู่อีกเหรอ นั่นมันก็ขึ้นกับว่าคุณวัดมันอย่างไร
บทความจากเว็บไซต์ Livescience ได้อธิบายไว้ว่า หากพิจารณาจากตัวแปรต่างๆ ทั้งความสูงจากฐานถึงยอด และความสูงที่สุดจากการเป็นจุดที่ไกลที่สุดจากศูนย์กลางโลก แล้วภูเขาที่สูงที่สุดในโลกคืออะไร?
เขาเอเวอเรสต์อยู่ลึกเข้าไปในพื้นที่ของ the Mahālangūr Himāl ของเทือกเขาหิมาลัย ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเป็นภูเขาที่มีชื่อเสียงและมีเสน่ห์มากที่สุดในบรรดาภูเขาทั้งหมดในโลกของเรา อีกทั้งยังรู้จักกันในนาม Chomolungma ซึ่งแปลว่า “มารดาแห่งโลก” ในภาษาทิเบต เอเวอรเสต์ ได้รับการวัดปรับขนาดครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 1953 โดย Tenzing Norgay ชาวเชอร์ปาแห่งเนปาล และชาวนิวซีแลนด์ Edmund Hillary และนับตั้งแต่นั้นมามีผู้ปีนสำเร็จประมาณ 4,000 คน นอกจากนี้ภูเขาดังกล่าวยังคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 300 คน นับตั้งแต่มีการบันทึกในปี 1922 ตามรายงานของ The Guardian
นักวิจัยได้ตรวจวัดยอดเขาเอเวอเรสต์หลายครั้งในช่วง2-3ทศวรรษที่ผ่านมา แต่การประเมินล่าสุดที่ประกาศเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2021 นั้น วัดได้อยู่ที่ระดับน้ำทะเล 29,031.69 ฟุต (8,848.86 เมตร) ซึ่งสูงเกือบ 5.5 ไมล์ (8.8 กิโลเมตร) เป็นความสูงที่ค่อนข้างน่าประทับใจ แต่ก็ทำให้เกิดคำถามว่า ทำไมเราจึงใช้ “เหนือระดับน้ำทะเล” ในการพิจารณายอดเขาที่สูงที่สุดในโลก
มาร์ติน ไพรซ์ (Martin Price) ศาสตราจารย์และผู้ก่อตั้งศูนย์การศึกษาภูเขาแห่งมหาวิทยาลัยไฮแลนด์และหมู่เกาะสก็อตแลนด์ เขากล่าวว่า “เพื่อให้มีความสามารถในการเปรียบทียบได้ จำเป็นต้องมีเส้นฐานที่สอดคล้องกัน”
“ในอดีตหรือแม้กระทั่งตอนนี้ระดับความสูงมักจะวัดจากความสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้จะต้องอ้างอิงถึงระดับน้ำทะเลปานกลางที่จำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรฐานเอาไว้ เพราะระดับน้ำทะเลจะแตกต่างกันในแต่ละส่วนของโลก และกำลังเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”
ด้วยเหตุนี้ระดับความสูงจึงถูกวัดโดยสัมพันธ์กับจีออยด์ (Geoid)ของโลก (Geoid คือ พื้นผิวที่ทับกันแบนสนิทกับผิวเฉลี่ยของมหาสมุทร เป็นรูปทรงสัณฐานของพื้นโลกที่สมจริงมากที่สุด) ที่กำหนดไว้ทางคณิตศาสตร์และตามที่ National Oceanic and Atmospheric Administration กำหนดไว้ แบบจำลองระดับน้ำทะเลทั่วโลกที่ใช้วัดระดับความสูงของพื้นผิวที่แม่นยำ ค่าเฉลี่ยนี้ใช้เพื่อตรวจสอบความสูงของภูเขา ซึ่งเป็นกระบวนการที่บางครั้งต้องใช้เครื่องบินบินไปมาเหนือภูเขาในชุดเส้นคู่ขนานเพื่อวัดว่าแรงโน้มถ่วงดึงลงมาที่จุดสูงสุดมากน้อยเพียงใด หากว่าตาม GIM International หากวัดค่าเหล่านี้ร่วมไปกับการอ่านค่า GPS จะช่วยให้อ่านค่าระดับความสูงได้อย่างแม่นยำอย่างเหลือเชื่อ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พายุทอร์นาโดในสหรัฐฯคร่าชีวิตไป 100 คนแล้ว ทำไมพายุถึงเกิดบ่อยในสหรัฐฯ?
Digital Silk Road เส้นทางสายไหมเดิม เพิ่มเติมคือเทคโนโลยี & ประชากรดิจิทัล
Earth’s Black Box เทคโนโลยีบันทึกงานวิจัยและข่าวสารด้านสภาพอากาศทั่วโลก
เดนมาร์กผุดไอเดีย ผลิตเครื่องร่อนพลังงานกระแสน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เอง
ดังนั้นภูเขาทั้งหมดจะถูกวัดจากระดับน้ำทะเล เพื่อความสะดวกและความสม่ำเสมอเป็นหลัก นั่นหมายความว่าระดับความสูงของเทือกเขาต่างๆอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา หากวัดจากระดับน้ำทะเล เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศหรือโลกร้อนทำให้ระดับน้ำทะเลเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่ถ้าวัดจากฐานถึงจุดสูงสุดล่ะ เอเวอเรสต์จะยังคงอันดับต้นๆของชาร์ตหรือเปล่า?
คำตอบคือ “ไม่” ภูเขาเกียรติยศนั้นจะตกเป็นของ Mauna Kea (เมานาเคอา) ภูเขาไฟที่ไม่มีการใช้งานในฮาวาย แม้ว่าจุดสูงสุดจะอยู่ที่ 13,802 ฟุต (4,205 เมตร) เหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของความสูงของเอเวอเรสต์ ตามข้อมูลของ National Geographic เมานาเคอา ฐานส่วนใหญ่นั้นซ่อนอยู่ใต้ระดับน้ำทะเล เมื่อวัดจากฐานถึงยอด ภูเขาเมานาเคอาแห่งนี้จะมีความสูง 33,497 ฟุต (10,211 ม.) ตามการสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้หัวและไหล่อยู่เหนือยอดเขาเอเวอเรสต์
ดังนั้นเราควรถือว่า Mauna Kea เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในโลกหรือไม่?
“ทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับมุมมองของคุณ ถ้าโลกของเราไม่มีมหาสมุทร ก็คงไม่มีการอภิปราย คุณอาจสามารถเทียบภูเขาสูงสุดกับวัตถุอื่นๆในระบบสุริยะของเราที่ซึ่งไม่มีมหาสมุทรก็ได้” ไพรซ์กล่าว
ในขณะเดียวกัน ผู้เข้าแข่งขันอีกคนหนึ่งคือ Mount Chimborazo (เขาชิมโบราโซ) ในเอกวาดอร์ มียอดเขาที่เป็นจุดที่ไกลที่สุดจากใจกลางโลก
ชิมโบราโซไม่ใช่ภูเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาแอนดีส แม้จะไม่ได้อยู่ใน 30 อันดับแรกแต่ความใกล้ชิดกับเส้นศูนย์สูตรคือสิ่งที่สร้างความแตกต่าง โลกไม่ใช่ทรงกลมที่สมบูรณ์แบบ ในทางเทคนิคแล้ว มันเป็นทรงกลมแบบมีหลุมและนูน ตามแนวเส้นศูนย์สูตร นี่เป็นผลที่มาจากแรงที่เกิดจากการหมุนของโลก ด้วยเหตุนี้จึงหมายความว่า มีความแตกต่าง 13.29 ไมล์ (21.39 กม.) ระหว่างรัศมีขั้วโลกของดาวเคราะห์ (3,949.90 ไมล์/6,356.75 กม.) กับรัศมีเส้นศูนย์สูตร (3,963.19 ไมล์/6,378.14 กม.) ตามข้อมูลจาก NASA Goddard Space Flight Center
ชิมโบราโซอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรเพียง 1 องศา ซึ่งส่วนนูนของโลกมีความโดดเด่นที่สุด ความแปลกประหลาดทางภูมิศาสตร์นี้หมายความว่ายอดของชิมโบราโซอยู่ห่างจากแกนโลก 3,967 ไมล์ ทำให้ห่างจากใจกลางดาวเคราะห์ 6,798 ฟุต (2,072 เมตร) มากกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์
ดังนั้นผู้เข้าแข่งขันทั้งสาม สำหรับภูเขาที่สูงที่สุดใครควรได้รับรางวัลที่หนึ่งกลับบ้านกันนะ
ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองว่าวัดแบบไหนดีถึงจะเรียกว่าสูงที่สุดในใจคุณ แต่ไม่ว่าคุณจะเลือกภูเขาใดก็ตาม ทั้งหมดไม่สามารถสู้ได้เมื่อเทียบกับ Olympus Mons ของดาวอังคาร ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะที่เราเคยรู้จัก มันมีความสูงประมาณ 16 ไมล์ (25 กม.) ตามข้อมูลของนาซา ซึ่งสูงกว่าเอเวอเรสต์ 3 เท่าและมีเส้นผ่าศูนย์กลางฐาน 374 ไมล์ (601.9กม.) ซึ่งเป็นระยะทางใกล้เคียงกันระหว่างซานฟรานซิสโกไปลอสแองเจเลส (383.1 ไมล์ /616.5 กม.)
นอกจากนี้ยังมีหลุมอุกกาบาตที่เรียกว่า Rheasilvia บนดาวเคราะห์น้อยเวสตา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแถบดาวเคราะห์น้อยห่างจากโลก 100 ล้านไมล์ที่ศูนย์กลางของปล่องภูเขาไฟนี้เป็นยอดเขาที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอาจมีความสูงราวๆ 12-15.5 ไมล์ (20-25 กม.) ซึ่งหมายความว่าอาจเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในระบบสุริยะตามข้อมูลจาก NASA Jet Propulsion Laboratory
ที่มาข้อมูล
http://narisorngeo29.blogspot.com/2012/06/blog-post_6021.html