เขย่าวงการโทรคมนาคมเลยทีเดียว เมื่อ TRUE กับ dtac ประกาศว่าจะร่วมกันทำธุรกิจในลักษณะของ New Telecom-Tech Company สำหรับรายละเอียดความร่วมมือนั้น SPRiNG นำข้อมูลจากการแถลงข่าวโดยสองผู้นำองค์กรมาสรุปไว้ในนี้แล้ว
กรณี เครือซีพี (TRUE) และ กลุ่มเทเลนอร์ (dtac) เป็นพาร์ทเนอร์ชิพกันนั้น ในงานแถลงข่าวบอกว่า เป็นการพิจารณาสร้างความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน (Equal Partnership) เพื่อปรับโครงสร้างองค์กร (Transformation) สู่ New Telecom-Tech Company หรือ องค์กรที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยี
จากข่าวลือสู่ข่าวออนไลน์ TRUE x dtac
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 ซิกเว่ เบรกเก้ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทเลนอร์ กรุ๊ป กล่าวถึง เอไอเอส โดยยกให้เป็น Big Brother หรือ พี่ใหญ่ของธุรกิจโทรคมนาคม ที่สร้างการแข่งขันที่ดีร่วมกัน
สำหรับการประกาศความร่วมมือนี้ dtac กับกลุ่ม TRUE จะเป็นพาร์ทเนอร์ในการสร้างนวัตกรรมด้านดิจิทัลและพัฒนาระบบนิเวศเทคโนโลยีของประเทศไทยให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ทั้งด้าน AI, Cloud, IoT, Telco, SpaceTech ฯลฯ ซึ่งนอกจากประโยชน์ที่จะเกิดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมแล้ว ยังช่วยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยไปสู่การเป็นฮับในภูมิภาคและมุ่งสู่ระดับโลก หรือถ้าสารจากงานแถลงข่าว
ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการผนึกกำลังทางธุรกิจกับเทเลนอร์ว่า เนื่องจากเป็นผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจด้านโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม มานาน และขณะนี้ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจต่อได้
“เราเห็นความเปลี่ยนแปลงในด้านการแข่งขันของอุตสาหกรรม ซึ่งการเป็นผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมมาถึงจุดที่ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจและลูกค้าได้" ศุภชัยกล่าวถึงอุปสรรคใหญ่ และอธิบายเพิ่มว่า
"การเปลี่ยนแปลงขององค์กรมีลักษณะเป็นธุรกิจที่มีบทบาทน้อยลงเรื่อยๆ เรียกว่า Dumb Pipe คือเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ฉลาด หรือเป็นท่อดำ เป็นท่อที่ไม่ฉลาด ทำหน้าที่เป็นท่อส่งเพียงอย่างเดียว"
การปรับโครงสร้างทางธุรกิจจึงจำเป็นอย่างยิ่ง
ส่องข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจโทรคมนาคมย้อนหลัง
สรุปทางร่วม TRUE x dtac เพื่อเป็น Tech Company
จากการแถลงข่าวสั้นๆ ผ่าน Zoom
นอกจากกลุ่ม TRUE x dtac ออกมาสื่อสารถึงความร่วมมือที่หลายคนติดตามข่าวอยู่ ยังแสดงให้เห็นวิสัยทัศน์ด้วยว่า การทรานสฟอร์มธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ จะส่งผลต่อการทรานสฟอร์มสินค้าและบริการ การปฏิรูปเศรษฐกิจในทุกๆ อุตสาหกรรม นอกจากจะเพิ่มมูลค่าให้ทั้งสองบริษัท ยังสามารถสร้างประโยชน์และประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้แก่ผู้บริโภคต่อไป
“บริษัทใหม่ที่จะเกิดขึ้น เราจะเพิ่มมูลค่า สร้างประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม ตลอดจนฐานลูกค้าของทั้งสองบริษัท และจะช่วยกันระดมทุนให้ถึง 200 ล้านดอลลาร์ในเทคสตาร์ทอัพไทยและอื่นๆ ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย และเป็นส่วนหนึ่งของการทรานสฟอร์มประเทศไทยให้ไปสู่ระดับโลก
“โดยเป้าหมายที่เป็น Agenda คือ ให้ทุกคนเข้าถึงแหล่งข้อมูล โครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเราทำสำเร็จในระดับหนึ่งและยังต้องทำต่อไป นี่เป็นความท้าทายที่ต้องผนึกกำลังร่วมกัน และอีกเรื่องที่ต้องทำ Sustainability คือ ก้าวสู่ความยั่งยืน โดยใช้เทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเข้าถึงวิสัยทัศน์ที่วางไว้ร่วมกัน"
ศุภชัยกล่าวปิดท้ายว่า ในอนาคต องค์กรจะต้องร่วมมือกันพัฒนาธุรกิจและเทคโนโลยีในลักษณะของ PPP (Public Private Partnership) หรือ การเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านเทคในระดับโลก
หลังจากนี้ก็ต้องรอดูว่า กสทช. จะเคาะอะไร - ยังไง