จากความร้อนแรงของ ภาพยนตร์ "ร่างทรง" ของผู้กำกับ "โต้ง" บรรจง ปิสัญธนะกูล นับเป็นเรื่องน่ายินดีมาก เพราะกำลังจะเป็นภาพยนตร์ไทย เรื่องแรก ที่ได้ฉายในยุคโควิด-19 ที่แตะหลักไมล์ 100 ล้านเข้าไปเต็มที มาดูกันว่าที่ผ่านมา มีภาพยนตร์สยองขวัญไทย เรื่องไหนบ้างที่ เกิน 100 ล้าน
ร่างทรง (2564)
มุ่งสู่ 100 ล้าน (กำลังฉายอยู่ 80 ล้าน 11 วันแรก)
ภาพยนตร์ ร่างทรง กำลังจะกลายเป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 5 ในประวัติศาสตร์วงการหนังไทย ที่แตะ 100 ล้านบาทในการออกฉาย โดยข้อมูลอัพเดท (8 พ.ย. ภาพยนตร์ ร่างทรง ฉาย 11 วัน ทำรายได้ 81.58 ล้านบาท)
.
อย่างที่ทราบกันดี ว่าภาพยนตร์ร่างทรง ของ "โต้ง" บรรจง ปิสัญธนะกูล เป็นภาพสะท้อนของ เรื่องเล่า ภาพสะท้อน ภาพความเชื่อ ท้องถิ่นที่ถูกถ่ายทอดผ่านงานศิลปะที่มีชั้นเชิง มุมมองแปลกใหม่ รสชาติที่ไม่คุ้นเคย
สำหรับแฟนหนังไทย ดังนั้น ใครที่ได้เข้าไปชมภาพยนตร์เรื่องนี้ในโรง ย่อมจะได้รับอรรถรสตามที่หนังเรื่องนี้ต้องการให้เป็นอย่างเต็มที่ และหลังจากชมจบแล้ว ยังมีข้อถกเถียงแตกประเด็นกันได้อย่างมากมาย นอกจากนี้
หนัง ร่างทรง ยังใช้กลวิธีแบบเทรนด์ใหม่ นั่นคือ รูปแบบของ Slow Burn กล่าวคือ ค่อยๆสร้างบรรยากาศแห่งความสยองขวัญ และความกลัวที่ละนิด
.
ภาพยนตร์ "ร่างทรง" The Medium ฝากไว้ให้คิดต่อยอด ในประเด็นที่สำคัญ นั่นคือ ทุกคนจะรับมือกับความเชื่อ ความศรัทธา ที่ตกทอดจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไร ? เราจะเลือกเดินทางไหน สืบสาน รักษา และต่อยอด หรือโยน
มันทิ้งไว้ข้างทาง ขณะที่ ปีนี้คือปี 2021 แล้ว
.
ขณะที่ในแง่รายได้ การที่ ภาพยนตร์ร่างทรง มาไกลจนเกือบใกล้แตะ 100 ล้าน ในยุคที่เศรษฐกิจโลกกำลังซบเซา เพราะปัญหาโควิด-19 ดังนั้น หากไม่มีอะไรพลิกล็อก ผิดความคาดหมาย นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากที่ ร่างทรงกำลังจะกลายเป็นหนังไทย 100 ล้านเรื่องแรกในยุคโควิด-19
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ขยายความเชื่อจาก ”ร่างทรง" (The Medium) หลอนแค่ไหน? ผีย่าบาหยัน จริงหรือ?
รายชื่อหนังไทย 5 ปีหลัง ก่อนที่ ร่างทรง เป็นตัวแทนหนังไทยเข้าชิงออสการ์
ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ (2547)
รายได้ 107.1 ล้านบาท
ภาพยนตร์ ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ อีกหนึ่งผลงานของ "โต้ง" บรรจง ปิสัญธนะกูล ที่ทำงานร่วมกับ ภาคภูมิ วงศ์ภูมิ โดยภาพยนตร์ ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ ออกฉายเมื่อปี 2547 สามารถทำรายได้ในประเทศไทยไปถึง 107.1
ล้านบาท
.
นอกจากนี้ ภาพยนตร์ ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ ยังถือเป็นตัวจุดกระแสการเล่าเรื่องแบบสยองขวัญ ในยุค 2000s (ภาพยนตร์ฉายปี 2004) ที่โลกภาพยนตร์ ณ เวลานั้น ต่างหาความฉีก หาความแปลกใหม่ ในการปรากฏตัวของ
"ผี" เรียกได้ว่า ในยุคเวลานั้น ภาพยนตร์เทรนด์หนังสยองขวัญทั่วโลก ต่างพยายามฉีกมุม ฉีกวิธีสรรหาการปรากฏตัวของ ผี
.
ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ ขายลิขสิทธิ์ได้ใน 30 ประเทศทั่วโลก สร้างรายได้จากการฉายในสิงคโปร์ 33 ล้าน ที่เกาหลีก็ติดอันดับ 5 หนังทำเงิน และออกฉายที่บราซิล 4 สัปดาห์แรก ทำรายได้สูงถึง 100 ล้านบาท แถมยังได้รับ
รางวัล Best Asian Film จากเทศกาล Fantasia Film Festival 2005 ที่แวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา และรางวัลหนังแฟนตาซีที่ดีที่สุดในงาน Fantastic’s Arts Festival of Gerardmer ประเทศฝรั่งเศส อีกด้วย
.
แต่สุดท้ายแล้ว โครงเรื่องที่แข็งแรงของ ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ ก็ยังเป็นจุดที่ช่วยส่งเสริมให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ กลายเป็น หนังผี แห่งความเป็นสากล ที่คนดูทั่วโลกเข้าใจ และเข้าถึงได้
ห้าแพร่ง (2552)
รายได้ 113.5 ล้านบาท
.
ภาพยนตร์ ห้าแพร่ง เป็นภาพยนตร์ที่ ถ่ายทอดผ่านภาพยนตร์สั้น 5 เรื่อง ประกอบด้วย หลาวชะโอน (กำกับโดย ปวีณ ภูริจิตปัญญา) , Backpackers (กำกับโดย ทรงยศ สุขมากอนันต์), รถมือสอง (กำกับโดย ภาคภูมิ วงศ์ภูมิ ) , คนกอง (กำกับโดย บรรจง ปิสัญธนะกูล) และ ห้องเตียงรวม (กำกับโดยวิสูตร พูลวรลักษณ์)
.
โดยในหนังสั้น ในภาพยนตร์ ห้าแพร่งนั้น โจทย์ของทุกเรื่องก็คือ ต้องเป็นหนังผี จบในตัวเอง น่ากลัว ต้องมีความแปลกใหม่ แต่ทั้งหมดยังมีความเป็นน้ำเสียง และเรื่องเล่าในแบบที่ทรงพลังแบบ ผีไทย แม้อาจจะมีการ
ทดลอง เป็นหนังผีซอมบี้แบบตะวันตก อย่างในเรื่อง Backpackers
ลัดดาแลนด์ (2554)
รายได้ 117 ล้านบาท
.
ภาพยนตร์ ลัดดาแลนด์ เพิ่งครบรอบ 10 ปีไปหมาดๆ โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นผลงานการกำกับของ โสภณ ศักดาพิศิษฏ์ โดยหนัง มี ตำนานของดินแดนลี้ลับแห่งเมืองเชียงใหม่ ที่จะนำทุกท่านมาพบกับความหลอนเขย่าขวัญสั่นประสาท
.
เรื่องราวการฆาตกรรมยกครัวสุดโหดเหี้ยม นำมาสู่ต้นเหตุแห่งความเฮี้ยนภายใน “หมู่บ้านลัดดาแลนด์” นอกจากนี้ ภาพยนตร์เรื่อง ลัดดาแลนด์ ยังได้ฝาก Meme ที่อยู่ยงคงกระพันในโลกออนไลน์ กับ วลีเด็ดในเรื่องที่ว่า "กูไม่ออก ออกไปแล้วกูจะเอาไรแดก!" ที่ตัวละคร ธีร์ ซึ่งรับบทโดย สหรัถ สังคปรีชา พูดเอาไว้จนกลายเป็นวลีอมตะไปแล้ว
นางนาก (2542)
รายได้ 149.64 ล้านบาท
.
นางนาก หรือ แม่นาก พระโขนง คือหนึ่งในตำนานเรื่องผีไทย เรื่องเล่าที่ทรงพลังแบบไทยๆ ที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ยุคสมัยก็ยังคงมีมนต์ขลังที่ไม่เสื่อมคลาย ทั้งในฐานะตำนาน ความสยองขวัญอย่างครบสูตร นิยาย บทเพลง ละคร หรือแม้แต่การหยิบจับมาทำภาพยนตร์
.
ภาพยนตร์นางนากเมื่อปี 2542 ของผู้กำกับ นนทรีย์ นิมิตรบุตร ได้ กลายเป็นปรากฏการณ์ของประเทศไทย เวลานั้น โดยใน ปี 2542 ภาพยนตร์นางนาก ได้กลายเป็นภาพยนตร์ไทย เรื่องแรกที่ไปแตะหลักรายได้ 100 ล้านบาท และถูกยกย่องให้เป็น ภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องถึง แม่นาก พระโขนง ได้อย่าง Realistic ที่สุด การแคสติ้งที่โดดเด่น ด้วยการเลือก ทราย เจริญปุระกับ วินัย ไกรบุตร ที่ไม่ใช้นักแสดงระดับซูเปอร์สตาร์ ณ เวลานั้น แต่ทั้งคู่ก็เล่นได้อย่างสมบทบาท และทำให้ โลกของการดูภาพยนตร์ของคนไทย ได้ขยับสเต็ปพัฒนาไปไกล
.
ภาพยนตร์นางนาก เล่าเรื่อง เกี่ยวกับเรื่องผี ที่ไม่ได้เล่นกับความน่ากลัวเพียงเท่านั้น แต่หนังชีวิตที่สะท้อนการมีอยู่ของตัวตนปัจเจก ปัจจัยในสังคม และบทบาทของพุทธศาสนาแบบไทยๆ อีกความโดดเด่นของงานสร้างภาพยนตร์มีเกร็ดประวัติศาสตร์และบริบทแทรกอยู่ในทุกองค์ประกอบศิลป์