svasdssvasds

รายชื่อหนังไทย 5 ปีหลัง ก่อนที่ ร่างทรง เป็นตัวแทนหนังไทยเข้าชิงออสการ์

รายชื่อหนังไทย 5 ปีหลัง ก่อนที่ ร่างทรง เป็นตัวแทนหนังไทยเข้าชิงออสการ์

ภาพยนตร์ "ร่างทรง" ถือว่าร้อนแรงและสร้างปรากฏการณ์อย่างมาก จากรายได้ 5 วัน กวาดไปแล้ว 46 ล้านบาท นอกจากนี้ หนัง "ร่างทรง" ยังทำให้ มีข้อถกเถียงมากมายในสังคมออนไลน์ ทั้ง 2 ขั้วความคิด และได้เป็นตัวแทนไทยไปเวทีออสการ์

ร่างทรง (ออสการ์ครั้งที่ 94)  
.
ภาพยนตร์ "ร่างทรง" เป็นภาพยนตร์เรื่องล่าสุด ที่เป็นตัวแทนจากประเทศไทย ซึ่งจะได้ไปลุยเวทีออสการ์ใน สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม  แถมยังคง ชนกับ ภาพยนตร์ Memoria ผลงานการกำกับของ "เจ้ย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล" ซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศโคลอมเบีย ด้วย 
.
ร่างทรง เป็นอีกหนึ่งภาพยนตร์ที่เป็ภาพสะท้อนของ เรื่องเล่า ภาพสะท้อน "ภาพความเชื่อ" ท้องถิ่นที่ถูกถ่ายทอดผ่านงานศิลปะที่มีชั้นเชิง มุมมองแปลกใหม่ รสชาติที่ไม่คุ้นเคยสำหรับแฟนหนังไทย ดังนั้น ใครที่ได้เข้าไปชมภาพยนตร์เรื่องนี้ในโรง ย่อมจะได้รับอรรถรสตามที่หนังเรื่องนี้ต้องการให้เป็นอย่างเต็มที่
.
ประเด็นที่ภาพยนตร์ "ร่างทรง" The Medium ฝากไว้ให้ขบคิดต่อยอด ที่สำคัญที่ประเด็น นั่นคือ ทุกคนจะรับมือกับความเชื่อ ความศรัทธา  ที่ตกทอดจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไร ? เราจะเลือกเดินทางไหน สืบสาน รักษา และต่อยอด หรือโยนมันทิ้งไว้ข้างทาง ขณะที่ ปีนี้คือปี 2021 แล้ว

ร่างทรง ไป ออสการ์ครั้งที่ 94 ในฐานะตัวแทนประเทศไทย

ภาพยนตร์ ร่างทรง

 Credit Youtube GDH 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ฮาวทูทิ้ง ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ (ออสการ์ครั้งที่ 93) 
.
ฮาวทูทิ้ง ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ ผลงานการกำกับของเต๋อ -นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ นำแสดงโดย ออกแบบ-ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง และ ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ ซึ่งเป็นหนังที่เล่าในสไตล์เนิบช้า มินิมอลในภาคส่วนของงานอาร์ท และในการสร้าง และมีประเด็นสำคัญของเล่าเรื่อง นั่นคือ การตั้งคำถามว่า "หรือว่า มนุษย์ถูกกำหนดเอาไว้ว่า ไม่สามารถลบทิ้งความทรงจำได้? 
.
และทุกชีวิต ทุกคน เมื่อใดที่ความทรงจำต่างๆ นั้นผุดขึ้นมาอีกครั้ง ทุกคนจะรับมือมันอย่างไร เราจะยิ้ม หรือ ร้องไห้ให้กับมัน  เพราะสุดท้าย ที่สุดแล้ว ชีวิตทุกคนต้องเดินหน้าต่อไป...

แสงกระสือ (ออสการ์ครั้งที่ 92) 
.
แสงกระสือ เป็นผลงานของผู้กำกับ สิทธิศิริ มงคลศิริ ซึ่งนำเอาเรื่องราว ผีแบบพื้นบ้านแบบไทยๆ เป็นเรื่องเล่าแบบไทยๆ มาตีความใหม่ ผ่านมุมมองที่สด  ทั้งประเด็นรักสามเส้าของตัวละครเอกในเรื่อง การเมืองในระดับหมู่บ้าน การมาของคนแปลกหน้าพร้อมกับการคลี่คลายปมบางอย่าง 

อย่างไรก็ตาม ประเด็นทั้งหมดไม่ได้ถูกขยี้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ ทำให้ความเข้มข้นในบางประเด็นที่ กำลังเหมือนว่าใน แสงกระสือ จะมีความพิเศษนั้นอ่อนแรงลง แต่อย่างน้อยๆ แสงกระสือ ก็คือตัวแทนของ "ผีไทย" ที่ถูกถ่ายทอดให้คนทั่วโลก เข้าใจความเป็น Horror ป่นดราม่าความรัก แบบไทยๆมากขึ้น  

แสงกระสือ ตัวแทนจากไทย ใน ออสการ์ครั้งที่ 92

มะลิลา (ออสการ์ครั้งที่ 91) 
.
ภาพยนตร์ มะลิลา เป็นผลงานการกำกับของ อนุชา บุญยวรรธนะ เป็นภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องที่เป็นเทรนด์ของโลก นั่นคือความเท่าเทียมของ LGBTQ 
.
ภาพยนตร์ มะลิลา เป็นผสมผสานเอา พุทธปรัชญา ศิลปะไทย และความรักของชายรักชายเข้าไว้ด้วยกัน โดยเอาทุกๆความขัดแย้งมาตั้งปมคำถาม ทั้งนี้มิใช่เพื่อการวิพากษ์วิจารณ์ หรือ โจมตี แต่เป็นไปในทางที่ขับเน้นความเป็นมนุษย์อย่างละเอียดลออ และนำเสนอโลกในอุดมคติที่ทุกสิ่งสามารถอยู่รวมกันได้อย่างสวยงาม 

ภาพยนตร์ มะลิลา

ดาวคะนอง (ออสการ์ครั้งที่ 90) 
.
ภาพยนตร์ ดาวคะนอง จะเป็นการเล่าเรื่องราวว่าด้วยภาวะที่ข้องเกี่ยวกันอย่างหลวมๆ ซึ่งเชื่อมโยง ด้วยสายใยที่แทบจะมองไม่เห็น ระหว่างตัวละครหลากหลายกลุ่ม ได้แก่ ผู้กำกับภาพยนตร์หญิงและผู้เป็นแรงบันดาลใจของเธอ ซึ่งเคยมีอดีตเป็นนักศึกษา-นักกิจกรรมในทศวรรษ 2510, บริกรสาวผู้เปลี่ยนงานอยู่เป็นประจำ และนักแสดงชาย-หญิงคู่หนึ่ง  ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ แฝงเร้น มุมมองการเมืองไทย บางอย่างเอาไว้ในภาษาของภาพยนตร์  โดยภาพยนตร์เรื่อง ดาวคะนอง ยังถูกทางการไทย สั่งแบน ถูกระงับการฉาย และถูกแบนในขั้นตอนการเสวนาภาพยนตร์เรื่องนี้ 

ภาพยนตร์ ดาวคะนอง

อาปัติ (ออสการ์ครั้งที่ 89) 
.
ย้อนเข็มนาฬิกากลับไป เมื่อปี 2016 ผลงานหนัง "อาปัติ" จากผู้กำกับหน้าใหม่ ผู้กำกับใหม่ ขนิษฐา ขวัญอยู่ ได้เป็นตัวแทน ซึ่งถือเป็นหนังผี หนังสยองขวัญ เป็นเรื่องเล่าแบบไทย เช่นเดียวกับ ร่างทรง ในปีล่าสุดนั่นเอง
.
หากยังพอจำกันได้ เรื่องนี้ ก็เคยเป็นข้อถกเถียงในสังคม เพราะเดิมที หนังใช้ชื่อว่า "อาบัติ" แต่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ของสำนักพิจารณาภาพยนตร์และวิดิทัศน์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ที่เห็นว่ามีฉาก สะเทือนใจชาวพุทธ” ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “อาปัติ” และตัดต่อใหม่อีกเล็กน้อยเพื่อให้ออกฉายได้โดยได้รับเรตอายุผู้ชม 18+ จนกระทั่งได้ออกฉาย 
.
ดังนั้น เรื่อง อาปัติ ก็เป็นอีกหนึ่งภาพสะท้อนถึง ปัญหากฏหมายการเซนเซอร์ในไทยอยู่ และมันทำให้ สาส์นที่แท้จริงจากผู้เล่าเรื่อง ต้องถูกตัดตอนและลิดรอนไป...

อาปัติ หนังไทย ที่เป็นตัวจุดกระแสทำให้สังคมไทยถกเถียงกันในวงกว้าง

related