svasdssvasds

เป็นไปได้ไหมที่ราคารถยนต์ไฟฟ้าในไทยจะถูกลง? Story of Green Ep.3

เป็นไปได้ไหมที่ราคารถยนต์ไฟฟ้าในไทยจะถูกลง? Story of Green Ep.3

เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั่วโลกเห็นตรงกันว่าต้องสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น แต่ราคารถยนต์ไฟฟ้าในไทยก็แพงซะเหลือเกิน แล้วเป็นไปได้ไหมที่ราคารถยนต์จะถูกลง?

เมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2564 ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เข้าร่วมงานประชุมสุดยอดความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและภาคเอกชนในการเตรียมความพร้อมกับการประชุม COP26 และเผยนโยบายในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

ตอนหนึ่งของการประชุมคือ นโยบายสนับสนุนการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากต่างประเทศเพื่อให้คนไทยมีรถยนต์ไฟฟ้าใช้มากขึ้นและเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็น 0 หรือ Zero Emission ซึ่งแน่นอนว่ามีการตั้งคำถามจากภาคประชาสังคมมากมายถึงขั้นตอนต่างๆในการสนับสนุนการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าว่ามีประสิทธิภาพรองรับเพียงพอต่อความต้องการของคนไทยและจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่

โดยเฉพาะเรื่องราคาและภาษีที่ต้องเหมาะสมกับรายได้เฉลี่ยของคนไทยในปัจจุบัน ซึ่งหากรัฐจะสนับสนุนจริงๆราคาอาจจะต้องถูกลงเพื่อให้คนไทยจับต้องได้ง่ายขึ้น เพราะรถนำเข้าส่วนใหญ่มักจะเสียภาษีในปริมาณมาก จึงมีคำถามตามมาว่า แล้วต้องทำยังไงรถยนต์ไฟฟ้าถึงจะถูกลง?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หลายประเทศทั่วโลกเริ่มมีมาตรการและเป้าหมายออกมาชัดเจนในเรื่องของการสนับสนุนให้ประชาชนในประเทศหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น จะเห็นได้ชัดเจนในประเทศแถมยุโรป สหภาพยุโรปได้ออกมาเผยยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าไตรมาส 3 ของปี2564 พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากรัฐมีมาตรการสนับสนุนด้านค่าใช้จ่ายร่วมกับปราชน ซึ่งสามารถอ่านข่าวนี้ต่อได้ที่  สหภาพยุโรปออกเงินช่วยประชาชนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ทำยอดขายไตรมาสที่ 3 พุ่ง

ในกรุงเบอร์ลินถึงขั้นมีการแบนการใช้รถยนต์บนท้องถนนเลยด้วยซ้ำ เพื่อเพิ่มพื้นที่ปลอดภัยให้กับคนทุกที่ทุกวัยบนท้องถนนและสนับสนุนการใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะมากขึ้นและครอบคลุมขึ้น อ่านเพิ่มเติมได้ที่ อากาศสะอาดอยู่ไม่ไกล เบอร์ลินผุดไอเดียถนนปลอดรถยนต์ เพื่อสิ่งแวดล้อม

ส่วนจีน เป็นประเทศขนาดใหญ่ที่ประสบความสำเร็จด้านการส่งออกแบตเตอรี่ลิเทียมมากที่สุด รวมไปถึงมีนโยบายสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น จากความสะดวกที่รถยนต์ไฟฟ้าผลิตในประเทศ ทำให้ราคาอาจจะไม่สูงมากนักสำหรับประเทศที่ผลิตใช้เองด้วยส่วนหนึ่ง แล้วประเทศไทยเราล่ะ ถ้าเกิดคนไทยอยากได้รถยนต์ไฟฟ้า มันต้องทำยังไงบ้าง

จากวิกฤตการณ์ภาวะโลกร้อนที่กำลังรุนแรงขึ้น ทำให้นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมผุดขึ้นมา ผนวกกับแรงกดดันจากนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ทำให้ผู้นำหลายประเทศต้องออกนโยบายเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพราะเรื่องโลกร้อนจะไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป หนึ่งในนโยบายสุดฮิตคือการสนับสนุนให้ประชากรโลกหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นแทนการใช้รถยนต์พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลหรือรถเติมน้ำมัน

ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานกระทรวงพลังงาน มีแผนจัดทำนโยบาย 30@30 ที่ตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) ให้ได้ 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดภายในปี 2030 โดยมีเป้าหมาย

เพิ่มหัวชาร์จไฟแบบ Fast charge 12,000 หัวจ่าย และจะเพิ่มสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่สำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 1,450 สถานีทั่วประเทศ

นอกเหนือจากนี้มาตรการส่งเสริมการใช้ ZEV ในเรื่องของอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนเพื่อให้ไทยมีฐานการผลิตในประเทศรองรับไว้

ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าด้วยการลดหย่อนภาษี อันนี้เป็นส่วนสำคัญที่หลายคนน่าจะอยากทราบ เพราะการลดหย่อนภาษีจะนำไปสู่ราคารถยนต์ที่ถูกลง

แผนนโยบาย 30@30 cr.salika

ซึ่งในปัจจุบันโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรรถยนต์ อ้างอิงมาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของรถที่เราใช้ขับ ซึ่งถ้าหากรถของเราปล่อยคาร์บอนต่ำ อัตราการเก็บภาษีก็จะน้อย ปล่อยคาร์บอนเยอะอัตราภาษีก็เยอะ ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าปล่อยคาร์บอนต่ำที่สุดตามโครงสร้างภาษีรถยนต์

รถอีวีส่วนใหญ่ในประเทศเป็นรถนำเข้าจากต่างประเทศที่จะเสียภาษีในอัตรา 80% ของราคาประเมิน ยกเว้นรถที่นำเข้าจากจีน* ที่ไม่มีอัตราภาษี เนื่องจากมีข้อตกลงอาเซียน ฉะนั้นการลดภาษีนำเข้าก็ดูจะน่าสนใจด้วยเช่นกัน

หมายเหตุ* FTA อาเซียน-จีน คือความตกลงเขตการค้าเสรี อาเซียน-จีน (ASEAN-CHINA Free Trade Agreement) ที่มีการตกลงกันในเรื่องของภาษีสินค้าทั่วไปให้เป็น 0 (สินค้าเกษตร, รถยนต์ไฟฟ้า EV, อุปกรณ์ส่วนควบคุมและอุปกรณ์เสริมสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า, แบตเตอรี่, เครื่องอัดประจุไฟฟ้า จะมีอัตราภาษีเหลือ 0% ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 2562 สำหรับฉบับปรับปรุงเพิ่มเติมไม่นับรถเมล์ไฟฟ้าที่ยังคงเสียภาษีนำเข้าในอัตรา 30%)

related