น้ำท่วมโลก หรือน้ำท่วมกรุงเทพฯ เป็นเรื่องที่เคยทำนายกันไว้เมื่อปี 2012 แต่ก็ไม่ได้เกิดอะไรขึ้น แต่มาวันนี้น้ำอาจจะท่วมจริงก็ได้ เพราะคนทำนายคือวิทยาศาสตร์
เรื่องเล่าของการคาดการณ์ว่าน้ำจะท่วมโลก โดยเฉพาะกรุงเทพฯจะจมอยู่ใต้น้ำ ที่หลายคนอาจมองว่า บ้าเหรอ! มันจะเกิดขึ้นได้ไง? กรุงเทพฯเนี่ยนะจะจมน้ำ นี่มันชีวิตจริงไม่ใช่หนังเรื่อง 2012 นะ แต่คุณอย่าชะล่าใจไป เพราะเราเคยหวาดเสียวกับคำทำนายไปแล้ว แต่ก็อาจเสียวสันหลังได้อีกหากคำทำนายนั้นกลับกลายมาเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือได้
งานวิจัยชิ้นใหม่โดย Climate Central แสดงให้เห็นว่าเส้นทางการปล่อยมลพิษในปัจจุบันเป็นหนทางนำไปสู่ภาวะโลกร้อนที่ร้อนขึ้น 3 องศาเซียลเซียสในเมืองใหญ่ทั่วโลกประมาณ 50 เมือง ซึ่งต้องหารทางป้องกันและแก้ไขอย่างเร่งด่วนก่อนที่จะสูญเสียพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นไป จากการหนุนของระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายร้อยปี จากการสะสมของมลภาวะในตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา
ตอนนี้เรายังพอมีโอกาสเปลี่ยนแปลงอนาคตเหล่านี้ จากการร่วมมือเพื่อบรรลุเป้าหมายข้อตกลงด้านสภาพอากาศ หรือข้อตกลงปารีส ที่มีเหล่าผู้นำจากทั่วโลกเข้าร่วมเป็นสมาชิกภาคี 190 รัฐ และผู้ลงนาม195 รัฐและร่วมลงนามเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2559 เพื่อลดแนวโน้มความเสี่ยงของสภาพอากาศลงกว่าครึ่งหนึ่ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สรุปวันที่ 1 ของการประชุม COP26 ด้วยถ้อยแถลงของพล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา
บราซิลสูญเสียพื้นที่ป่าอเมซอนเทียบเท่ารัฐเท็กซัสและนิวเม็กซิโกรวมกัน
นักวิทยาศาสตร์ของ Climate Central ได้ตรวจสอบบริเวณเมืองที่ประชากรมีความเสี่ยงมากที่สุดใน 200-2000ปีข้างหน้า และได้พบกับผลลัพธ์ที่น่าตกใจ
รายงานนี้เป็นการร่วมมือระหว่างนักวิจัยมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันและสถาบันโพสต์แดมเพื่อการวิจัยผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศในเยอรมนี บทความวิจัยนี้ผ่านการตรวจสอบ โดย Climate Central โดยมุ่งไปที่ความแตกต่างระหว่างสถานการณ์ที่ร้อนขึ้น 4 องศาเซียลเซียสและ 2 องศาเซียลเซียส และได้ไปปรากฎในวารสารวิทยาศาสตร์ Environmental Research Letters. รายงานสรุปไว้เรื่องความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิ 1.5 องศาเซียลเซียสและ 3 องศาเซียลเซียส หากโลกไม่มีการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงให้มลภาวะลดลงไปกว่าครึ่งหนึ่งภายในปี 2030
เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น ทาง Climate Central ได้จำลองภาพในอนาคตของเมืองที่เสี่ยงต่อการเพิ่มระดับน้ำหากอุณหภูมิสูงขึ้น โดยใช้รูปภาพ Google Earth Climate Central และพัฒนาให้เป็นภาพเสมือนจริงของสถานที่ใกล้ชายฝั่งทะเล และสร้างภาพการเปรียบเทียบระหว่างภาพปัจจุบันกับอนาคต และร่วมมือกับศิลปินทัศนศิลป์ Nickolay Lamm เพื่อสร้างภาพประกอบที่เสมือนจริง 3 มิติ ซึ่งผู้คนสามารถดูได้ผ่านอินเตอร์เฟซ Picturing Our Future ซึ่งจะรวมถึงศูนย์กลางทางการเงิน สนามกีฬา พิพิธภัณฑ์ วัดและโบสถ์ และอาคารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์หรือวัฒนธรรมอื่นๆ แต่ละภาพผู้ชมสามารถเลื่อนรูปภาพเพื่อดูความแตกต่างของ before after เหตุการณ์ปกติและเหตุการณ์หลังอุณหภูมิสูงขึ้นทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย
ผู้ใช้งานสามารถป้อนที่อยู่หรือสถานที่ชายฝั่งทะเลได้เกือบทุกแห่งทั่วโลก เพื่อดูการคาดการณ์ว่าที่ดินจะต่ำกว่าระดับน้ำทะเลหรือไม่หากอุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งมีให้เปรียบเทียบตั้งแต่ 1-4 องศาเซียลเซียส
บวกกับเมื่อต้นปีที่ผ่านมา IPCC คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Intergovernmental Panel on Climate Change ได้ทำการศึกษาและประเมินภาวะโลกร้อนของโลกและการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิพื้นผิวโลกมาตั้งแต่ปี 2013 จนถึงปัจจุบัน และข้อมูลนั้นก็แสดงผลลัพธ์ที่น่าทึ่ง
ดังนั้นการประชุม COP26 จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะให้ผู้นำจากทั่วโลกได้เล็งเห็นปัญหาของภาวะโลกร้อนอย่างชัดเจนขึ้น ไม่ใช่เพียงคำพูดที่สวยหรูอยู่หน้าโพเดี้ยม แต่ไม่ลงมือทำสักที อย่างที่นักเคลื่อนไหว เกรตา ธันเบิร์กเคยกล่าวไว้ ซึ่งเราต้องติดตามการประชุมนี้ว่าผลการประชุมจะออกมาเช่นไร และโลกจะเดินหน้าไปในทางที่ดีขึ้นได้หรือไม่
ที่มาข้อมูล Climate Central