ความวุ่นวาย จากการอยู่ร่วมกันกับคนในครอบครัวคนละวัย ซึ่งแต่เดิมไม่ค่อยได้เจอกัน หรือเจอกันแค่วันหยุด ก็ดูจะไม่ค่อยมีปัญหากันเท่าไหร่ แต่พอต้อง Work From Home ประกอบกับสถานการณ์โควิด-19 ระบาด ทำให้แต่ละคนในบ้านต้องอยู่ร่วมกัน อาจเกิดการกระทบกระทั่งกันได้
คำแนะนำจากนักจิตวิทยา หรือผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยา ในการเสริมสร้างความเข้าใจให้คนต่างวัยอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข อาจไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
ลดอคติที่มีต่อช่วงวัยอื่น
ลดอคติที่เรามีต่อคนต่างช่วงวัย โดยพูดคุย และรับฟังเหตุผลของกันและกันมากขึ้น ก่อนที่จะตัดสินคนในครอบครัวของเราว่าน่าเบื่อ น่ารำคาญ ถ้าเราพูดคุยกันมากขึ้น อคติที่เป็นกำแพงกั้นในใจเราจะสามารถลดลง และทำให้ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวดีขึ้นแน่นอน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
วัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ ป้องกันไว้ ลดความเสี่ยงติดเชื้อ
กทม.เปิดบริการ รถฉีดวัคซีน BMV ถึงบ้าน ผู้สูงอายุ-ผู้ป่วย 7 กลุ่ม-ผู้พิการ
แบบฟอร์ม ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด ผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ ที่บ้าน
พูดให้น้อย ฟังให้มาก
ต้นเหตุของปัญหาความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวสาเหตุหนึ่งที่งานศึกษาทางจิตวิทยาค้นพบ ก็คือ การพูดเรื่องของตัวเองมากกว่ารับฟังเรื่องของคนอื่น การรับฟังคนในครอบครัวให้มากขึ้น และพูดบ่น หรือใช้คำพูดทางลบต่อกันให้น้อยลง จะส่งผลดีกว่า
เปิดใจให้กว้าง ลองมองจากมุมของอีกฝ่าย
วิธีรักษาความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวอีกอย่าง คือ การลองสมมุติว่าตัวเองเป็นอีกฝ่าย แล้วเราจะมีความรู้สึกอย่างไร จะตัดสินใจแตกต่างจากเขาหรือไม่
อดทนต่อความคิดเห็นที่แตกต่าง
เมื่อคนเราหลาย ๆ คนมาอยู่ด้วยกัน เป็นเรื่องปกติค่ะที่เราจะมีความเห็นที่แตกต่างในบางเรื่อง ดังนั้นเพื่อรักษาความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวเอาไว้ ขอให้สงบจิตสงบใจไม่ตอบโต้อีกฝ่ายด้วยคำพูดหรือการกระทำใด ๆ ก็ตามในความคิดเห็นที่เราไม่ถูกใจ และหากเป็นไปได้ การเลือกที่จะไม่สนทนาหรือเปิดประเด็นที่เปราะบางและง่ายต่อการขัดแย้งกันจะดีกว่า เช่น การเมือง ศาสนา สถาบัน เรื่องเหล่านี้อย่าได้นำมาเป็นหัวข้อชวนทะเลาะในบ้านเลย
ห่างกันสักพัก
หากการลดอคติ การรับฟังให้มากขึ้น การเอาใจเขามาใส่ใจเรา และความอดทนไม่ทำให้ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวดีขึ้น ตัวช่วยต่อไปที่นักจิตวิทยาแนะนำ ก็คือ การห่างกันสักพัก ถึงแม้ว่าเราจะออกจากบ้านไม่ได้เพราะสถานการณ์โควิด-19 ลองหาพื้นที่ที่เป็น Safe Zone ของเรา